การประเมินและคัดเลือกสายพันธุ์ฟักทองเพื่อพัฒนาฟักทองสายพันธุ์แท้ ที่มีสารเบต้าแคโรทีนสูง

Main Article Content

รัชชานนท์ ทองแผ่น
วรลักษณ์ ประยูรมหิศร
อัญมณี อาวุชานนท์

บทคัดย่อ

ฟักทอง เป็นพืชผักที่มีสารเบต้าแคโรทีนสูงเมื่อเปรียบเทียบกับพืชผัดชนิดอื่น จึงทำการปรับปรุงพันธุ์เพื่อคัดเลือกฟักทองที่มีคุณภาพเนื้อที่ดีและปริมาณสารเบต้าแคโรทีนสูง โดยประเมินฟักทอง 30 สายพันธุ์ ประกอบด้วยสายพันธุ์ที่
ผ่านการปรับปรุงพันธุ์ (breeding lines) จำนวน 26 สายพันธุ์ สายพันธุ์แท้ 4 สายพันธุ์ มีการวางแผนการทดลองแบบ CRD
ผลการทดลองพบว่า มีปริมาณสารเบต้าแคโรทีนในเนื้อฟักทองอยู่ในช่วง 0.18-1.98 mg/100 g FW ในจำนวนนี้มีฟักทอง
14 สายพันธุ์ ที่มีปริมาณสารเบต้าแคโรทีนในเนื้อสดสูง อยู่ระหว่าง 1.01-1.98 mg/100 g FW โดย สายพันธุ์ RT1-K/PI 100S-5S-2S-4 และ สายพันธุ์ 007-14 มีปริมาณสารเบต้าแคโรทีนในเนื้อสดสูงที่สุด โดยมีค่าเท่ากับ 1.98 และ 1.76 mg/100 g FW ตามลำดับ และฟักทองที่มีสารเบต้าแคโรทีนสูง มีของแข็งที่ละลายน้ำได้และเปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งสูงคือ RT14-F6T/S 61S-7S-4S 5/1 จากการวิเคราะห์ Principal Component Analysis ใช้ลักษณะของ L* a* b* ปริมาณเบต้าแคโรทีน เปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้ง ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำทั้งหมด และความแน่นเนื้อ ในการวิเคราะห์ความหลากหลาย แสดงให้เห็นว่าฟักทองที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์มีความหลากหลายของลักษณะคุณภาพการบริโภคและมีศักยภาพสูงที่จะนำมาพัฒนาเป็นสายพันธุ์แท้ในการปรับปรุงพันธุ์ฟักทองลูกผสมต่อไปได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2559. สถานการณ์การปลูกฟักทอง รายจังหวัด ปี 2559. กรมส่งเสริมการเกษตร. http://production. doae.go.th
(6 สิงหาคม 2561).
วิภาวรรณ ท้ายเมือง, อรพินท์ สุรกิจ, ธรรมธวัช แสงงาม และอัญมณี อาวุชานนท์. 2561. ปริมาณธาตุอาหารและคุณภาพผลผลิตฟักทอง
14 สายพันธุ์. แก่นเกษตร 46 (1) (พิเศษ): 1350-1352.
ปณาลี ภู่วรกุลชัย. 2558. การศึกษาปริมาณสารเบต้าแคโรทีนของฟักทอง 15 สายพันธุ์ ใน 3 ฤดูกาล. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ปิ่น โลหะวิทยากุล, วชิรญา อิ่มสบาย, ปวีณา ชื่นวาริน, ปิยณัฐ์ ผกามาศ และอัญมณี อาวุชานนท์. 2557. การศึกษาวิธีการวัดปริมาณเบต้าแคโรทีนที่เหมาะสมเพื่อการคัดเลือกพันธุ์ฟักทอง. วารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์ 4 (1): 8-13.
หทัยรัตน์ โชคทวีพาณิชย์, ชลเทพ วาโย และอัญมณี อาวุชานนท์. 2561. การประเมินคุณภาพผลผลิตและเบต้า-แคโรทีนของฟักทองพันธุ์ลูกผสมในชุดดินโพนพิสัย. แก่นเกษตร 46 (1) (พิเศษ): 1381-1386.
อุทิศ สุภาพ. 2555. การใช้เทคนิคเนียร์อินฟราเรดสเปกโทรสโกปีในการหาปริมาณสารเบต้าแคโรทีนเพื่อใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ฟักทอง.
วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Murkovic, M., Muellederand, U., and H. Neuteufl. 2002. Carotenoid content in different varieties of pumpkins. J. Food Comp. Anal. 15: 633-638.
Challen, J.J. 1997. Beta-carotene and other carotenoids: promises, failures and a new vision. Ortho Molec Med. 12: 11-19.
Nagata, M., and I. Yamashita. 1992. Simple method for simultaneous determination of chlorophyll and carotenoids in tomato fruit.
J. Japan Soc. Food Sci. Technol 39: 925-928.