ความพึงพอใจของเกษตรกรรุ่นใหม่ต่อการฝึกอบรมหลักสูตรเตรียมความพร้อมสู่ การเป็นผู้ประกอบการเกษตรรุ่นใหม่ ในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ประวุฒิ ทัศมาลี
ดวงกมล ปานรศทิพ ธรรมาธิวัฒน์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและเปรียบเทียบความพึงพอใจของเกษตรกรรุ่นใหม่ต่อการฝึกอบรมหลักสูตรเตรียมความพร้อมสู่การเป็นผู้ประกอบการเกษตรรุ่นใหม่ ในกรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกร
รุ่นใหม่ต่อการฝึกอบรมหลักสูตรเตรียมความพร้อมสู่การเป็นผู้ประกอบการเกษตรรุ่นใหม่ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเกษตรกรรุ่นใหม่ที่เข้ารับการอบรม จำนวน 38 ราย ร่วมกับการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนา และสถิติ t-test และ F-test ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรรุ่นใหม่ที่เข้ารับการอบรมเป็นเพศหญิง ร้อยละ 55.3 มีอายุระหว่าง 30-39 ปี ร้อยละ 26.3 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 31.6 ประกอบอาชีพหลักเป็นเกษตรกร ร้อยละ 71.1 รายได้ต่อเดือน 5,000-10,000 บาท ร้อยละ 55.3 จำนวนปีที่ผ่านการประเมิน Young Smart Farmer 1 ปี ร้อยละ 36.8
ช่องทางการรับรู้ข่าวสารการอบรมจากเจ้าหน้าที่รัฐ ร้อยละ 68.9 ระยะทางจากที่พักมาสถานที่อบรม 20-29 กิโลเมตร ร้อยละ 47.4 เกษตรกรรุ่นใหม่มีความพึงพอใจต่อการอบรม โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.13) เมื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจ
ของเกษตรกรรุ่นใหม่จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคบุล พบว่าเพศไม่มีผลต่อความพึงพอใจในภาพรวม แต่เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าเพศมีผลต่อความพึงพอใจด้านเนื้อหาอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 ส่วนปัญหาและข้อเสนอแนะ พบว่าเนื้อหาที่อบรมนำมาใช้ประกอบอาชีพได้น้อย ควรเน้นเนื้อหาที่สามารถนำมาใช้ประกอบอาชีพได้มากขึ้น ด้านกระบวนการและการให้บริการ คือ จำนวนวันอบรมมากเกินไป ควรลดระยะเวลาการอบรม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2559. Young Smart Farmer อนาคตและทิศทางภาคเกษตรกรไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
กรมส่งเสริมการเกษตร. 2561. คู่มือการดำเนินงานโครงการพัฒนาผู้ประกอบการเกษตรรุ่นใหม่. กรมส่งเสริมการเกษตร. http://www.bangkok.doae.go.th/ag/thainiyom/manal1.pdf (2 สิงหาคม 2561).
บุญชม ศรีสะอาด. 2545. ประเมินโครงการ. https://www.gotoknow.orgposts/253663 (31 ตุลาคม 2561).
ผ่องพรรณ จรัสจินดารัตน์. 2560. การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมรูปแบบของระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. https://tci-thaijo.org (25 พฤศจิกายน 2561).
พวงชมพู ประเสริฐ. 2560. ผู้สูงอายุไทย อันดับ 2 ในอาเซียน. คมชัดลึก. http://www.komchadluek.net/news/edu-health/270595
(26 กันยายน 2561).
พันธ์ศักดิ์ อาภาขจร. 2561. ผู้หญิงไม่เก่งเทคโนโลยี: ความจริงคนละมุม. สำนักข่าวอิศรา. https://www.isranews.org/isranews /69742-woman69742.html (2 สิงหาคม 2561).
รุ่งโรจน์ ดีลี้. 2561. นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ. สัมภาษณ์. 10 กันยายน 2561.
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดหนองบัวลำภู. 2555. การประเมินความพึงพอใจต่อการให้บริการของสำนักงานวัฒนธรรม จังหวัดหนองบัวลำภู ปีงบประมาณ 2555. สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดหนองบัวลำภู. https://www.mculture.go.th/nongbualamphu/images/vichakan.doc. (25 พฤศจิกายน 2561).
สิฏฐากร ชูทรัพย์. 2556. ความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรมโครงการพัฒนาอาชีพสู่ชุมชน. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 16: 215-224.
สุวิทย์ ภูมิประเสริฐโชค. 2556. เกษตรกรรุ่นใหม่กับการเกษตรในยุคหน้า. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. https://www.trf.or.th/research-digest/1063-2013-12-07-03-28-52 (4 กันยายน 2561).
โสมรัศมิ์ จันทรัตน์ วิษณุ อรรถวานิช และบุญธิดา เสงี่ยมเนตร. 2561. จุลทรรศน์ภาคเกษตรไทยผ่านข้อมูลทะเบียนเกษตรกรและสำมะโนเกษตร. สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์. https://www.pier.or.th. (10 พฤศจิกายน 2561).