ขั้นตอนการฟอกฆ่าเชื้อที่เหมาะสมต่อการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพรรณไม้น้ำไวท์อนูเบียส

Main Article Content

อัจฉรา ศรีสว่าง
นงนุช เลาหะวิสุทธิ์
อัจฉรี เรืองเดช

บทคัดย่อ

พรรณไม้น้ำไวท์อนูเบียส (Anubias sp. ‘White’) เป็นสายพันธุ์ใหม่ที่เกิดจากการกลายพันธุ์ ลักษณะเด่นคือแผ่นใบสีขาว เส้นกลางใบและลำต้นสีเขียว แต่ขยายพันธุ์ช้า เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเป็นวิธีการเพิ่มจำนวนต้นพันธุ์ในระยะเวลาสั้น ขั้นตอนการฟอกฆ่าเชื้อเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญที่สุดในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช จากการทดลองนำชิ้นส่วนตายอดของต้นไวท์อนูเบียสฟอกฆ่าเชื้อด้วยชนิด ความเข้มข้น และระยะเวลาของสารฟอกฆ่าเชื้อที่ต่างกัน 7 ชุดการทดลอง หลังจากนั้นนำไปเลี้ยงบนอาหาร MS เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ พบว่า ต้นไวท์อนูเบียสที่ฟอกฆ่าเชื้อด้วยชนิด ความเข้มข้น และระยะเวลาของสารฟอกฆ่าเชื้อที่ต่างกัน มีเปอร์เซ็นต์การปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ อัตราการตาย อัตราการรอด และการเจริญเติบโตที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) กระบวนการฟอกฆ่าเชื้อที่เหมาะสมสำหรับต้นไวท์อนูเบียส คือ 0.1% HgCl2 นาน 20 นาที มีอัตราการรอดสูง 90 เปอร์เซ็นต์ ด้านการเติบโต มีความสูง 2.20±0.95 มิลลิเมตรต่อชิ้นเนื้อเยื่อ จำนวนต้น 1.26±1.19 ต้นต่อชิ้นเนื้อเยื่อ จำนวนใบ 0.63±0.68 ใบต่อชิ้นเนื้อเยื่อ และ ราก 1.26±1.04 รากต่อชิ้นเนื้อเยื่อ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤติยา ธรุนนท์, จันทนา ไพรบูรณ์, ศุพร เปรมปรีด์ และชัชรี แก้วสุรลิขิต. 2557. การฟอกฆ่าเชื้อที่ผิวของผลหญ้าชะเงาเต่า Thalassia hemprichii (Ehrenberg) Aschron. ใน การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 52. น. 114-121.
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ
กาญจนรี พงษ์ฉวี, รัฐภัทร์ ประดิษฐ์สรรพ์, วรรณดา พิพัฒน์เจริญชัย และวารุณีย์ คันทรง. 2554. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพรรณไม้น้ำ Cryptocoryne affinis Hook.f, 1893. กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดกรมประมง.
ทิพวรรณ มหาวรรณ, ชัชรี แก้วสุรลิขิต และกาญจนรี พงษฉวี. 2555. ผลของโซเดียมไฮโปรคลอไรด์ (NaOCL) ที่มีผลต่อการฟอกดาวน้อย Pogoostemon helferi Hook f. ใน การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 50. น. 375-383. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
นงนุช เลาหะวิสุทธิ์, อัจฉรี เรืองเดช, สมเกียรติ สีสนอง และสมชาย หวังวิบูลย์กิจ. 2560. ผลของสารฟอกฆ่าเชื้อและสารควบคุมการเจริญเติบโตในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพรรณไม้น้ำบูเซป Bucephandra sp. ว.เกษตรพระจอมเกล้า 35 (2): 95-103.
ภพเก้า พุทธรักษ์, วารุต อยู่คง และมณฑล สงวนเสริมศรี. 2554. การขยายพันธุ์ว่านสี่ทิศโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในสภาพปลอดเชื้อ.
ว. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 19(1): 18-23.
ปณิธาน ทองแกมแก้ว และจักรกฤษณ์ พจนศิลป์. 2559. การวิเคราะห์ธุรกิจการผลิตพรรณไม้น้ำเพื่อการส่งออก. ว. เศรษฐศาสตร์รามคำแหง 2 (2): 2408-2643.
ประศาสตร์ เกื้อมณี. 2538. เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช. น. 158. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ปริญา สุคนธรัตย์, ทัศนี ขาวเนียม และสมปอง เตชะโต. 2558. การทำให้ชิ้นส่วนปลอดเชื้อและการชักนำแคลลัสจากชิ้นส่วนกาบใบของขมิ้นชันในหลอดทดลอง. ว. พืชศาสตร์สงขานครินทร์ 2(2): 36-40.
ปวีณา ภูมิสุธาพล, สุนิสา สายสืบ และสุภาภรณ์ รอดประดิษฐ์. 2561. การศึกษาการฟอกฆ่าเชื้อและการชักนำให้เกิดแคลลัสในกนกนารี.
ว. วิทย.กษ. 49(1) (พิเศษ): 270-272.
บุญยืน กิจวิจารณ์. 2547. เทคโนโลยีเบื้องต้นการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเพื่อพัฒนาพืช. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อรอุมา สองศรี, เยาวพา จิระเกียรติกุล, ภานุภาศ ฤทธิไชย และอรุณพร อิฐรัตน์. 2555. การฟอกกำจัดเชื้อชิ้นส่วน Dioscorea birmanic
เพื่อการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ. ว. วิทย์. กษ. 43(2) (พิเศษ): 637-640.
Badoni, A. and J.S. Chauhan. 2010. In Vitro sterilization protocol for microprppagation of Solanum tuberosum cv. ‘Kufri Himalini’. Academia Arena 2(4): 57-63.
Budavari, S. 1989. The Merck Index: An Encyclopedia of Chemicals, Drugs, and Biological. New Jersey: Merck & Co..
Murashige, T. and F. Skoog. 1962. A resived medium for rapid growth and bioassays with tobacco tissue culture.
Physiology Plant 15: 473-497.
Worthing, C.R., and S.B. Walker (eds.). 1983. The Pesticide Manual: A World Compendium. 7thed.
Croydon: British Crop Protection Council.