ค่าพารามิเตอร์ทางพันธุกรรมของลักษณะการเจริญเติบโตโคพื้นเมืองไทยภาคใต้ ภายใต้การจัดการของศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์เทพา จังหวัดสงขลา

Main Article Content

เถลิงศักดิ์ อังกุรเศรณี
วินิจ คำสังข์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาค่าพารามิเตอร์ทางพันธุกรรมของลักษณะการเจริญเติบโตของโคพื้นเมืองไทยภาคใต้ ภายใต้การจัดการของศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์เทพา จังหวัดสงขลา จำนวนข้อมูลของลักษณะการเจริญเติบโตทั้งหมด 1,780 บันทึก (พ.ศ. 2545-2556) ได้แก่ น้ำหนักแรกเกิด น้ำหนักหย่านม (อายุเฉลี่ย 200 วัน) อัตราการเจริญเติบโต
แรกเกิดจนถึงเมื่อหย่านม น้ำหนักเมื่ออายุ 1 ปี (อายุเฉลี่ย 400 วัน) อัตราการเจริญเติบโตหลังหย่านมจนถึงอายุ 1 ปี โดยน้ำหนักแรกเกิดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 14.45 กิโลกรัม น้ำหนักหย่านมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 74.65 กิโลกรัม อัตราการเจริญเติบโตแรกเกิดจนถึงหย่านมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 243.67 กรัมต่อวัน น้ำหนักเมื่ออายุ 1 ปี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 95.67 กิโลกรัม อัตราการเจริญเติบโตหลังหย่านมจนถึงอายุ 1 ปีมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 203.80 กรัมต่อวัน ค่าพารามิเตอร์ทางพันธุกรรม พบว่า มีค่าอัตราพันธุกรรมที่เป็นผล
มาจากยีนโดยตรงของลักษณะการเจริญเติบโตอยู่ในช่วง 0.17-0.21 ค่าอัตราส่วนอิทธิพลของยีนที่ผ่านทางแม่อยู่ในช่วง 0.15-0.16 และมีค่าอัตราส่วนอิทธิพลของสภาพแวดล้อมถาวรที่ผ่านทางแม่อยู่ในช่วง 0.01-0.04

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติ อรรคฮาต. 2546. การจำแนกกลุ่มสายพันธุ์และการประมาณค่าพารามิเตอร์ทางพันธุกรรมของลักษณะการเจริญเติบโตและสัดส่วนร่างกายในโคพื้นเมืองไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เกรียงเดช สำแดง. 2531. ผลการเสริมอาหารข้นต่อการเจริญเติบโตและซากโครุ่นพื้นเมืองไทยและพันธุ์อเมริกันบราห์มัน. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ดนัย คำขวัญ, เยาวลักษณ์ เลไพจิตร, เอก วิทูรพงศ์ และวุฒิพงษ์ อินทรธรรม. 2555. ค่าการผสมพันธุ์และแนวโน้มพันธุกรรมลักษณะการเจริญเติบโตของโคพื้นเมืองสายภาคใต้โดยการวิเคราะห์แบบหลายลักษณะ. วารสารวิชาการสำนักพัฒนาพันธุ์สัตว์: 1-14.
ปิยศักดิ์ สุวรรณี, มังกร วงศรี, ชิต ศรีนาคา และประมร เมืองพรหม. 2538. การทดสอบสมรรถภาพการเจริญเติบโตของโคพื้นเมืองไทย.
ใน รายงานวิจัยการผลิตสัตว์ประจำปี พ.ศ. 2538. น. 38-47. กรุงเทพฯ: กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
มนต์ชัย ดวงจินดา, ไชยวรรณ วัฒนจันทร์ และเวชสิทธิ์ โทบุราณ. 2537. การศึกษาสมรรถภาพของโคพื้นเมืองในสภาพการเลี้ยงแบบปล่อยทุ่งหญ้า. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
มังกร วงศ์ศรี, เทอดศักดิ์ ชมชื่นจิตร และสวัสดิ์ คงหนู. 2541. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตก่อนหย่านมและค่าอัตราพันธุกรรมของโคพันธุ์
พื้นเมืองไทย. ใน รายงานวิจัยการผลิตสัตว์ประจำปี พ.ศ. 2541. น. 67-78. กรุงเทพฯ: กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
สมมาตร สุวรรณมาโจ, วิทวัช เวชชบุษกร และปิยศักดิ์ สุวรรณี. 2537. อิทธิพลของปัจจัยอื่นที่ไม่ใช่พันธุกรรมที่มีผลต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโตระยะก่อนหย่านมของโคพื้นเมือง. ใน รายงานวิจัยการผลิตสัตว์ประจำปี พ.ศ. 2537. น. 85-91. กรุงเทพฯ: กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
สวัสดิ์ ธรรมบุตร และวนิดา กำเนิดเพชร. 2542. การอนุรักษ์และพัฒนาสัตว์พื้นเมืองของกรมปศุสัตว์. โครงการวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพด้านการปศุสัตว์. กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
สุจินต์ สิมารักษ์, วิโรจน์ ภัทรจินดา และสมจิตต์ ยอดเศรณี. 2532. ลักษณะทางการสืบพันธุ์ของโคพันธุ์พื้นเมืองไทย. ใน วารสารวิทยาศาสตร์การเกษตร 22(6): 357-374.
สุวัฒน์ รัตนรณชาติ. 2537. ความสำคัญของน้ำหนักแม่ที่มีต่อสมรรถนะก่อนหย่านมของโคขาวลำพูน. ใน วารสารเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 10(2): 129-135.
ศิริชัย ศรีพงศ์พันธุ์, สมพงษ์ เทศประสิทธิ์ และธนจิตร์ ฮุ่นตระกูล. 2547. สี น้ำหนักตัว สัดส่วนร่างกายและสมการทำนายน้ำหนักตัวของพ่อโคชน
ในจังหวัดตรัง. ใน รายงานการประชุมวิชการสัตวศาสตร์ภาคใต้ครั้งที่ 3. น. 289-301. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
อนันต์ สุขลิ้ม ชำนาญ ดงปาลี และเทอดศักดิ์ ชมชื่นจิต. 2544. ปัจจัยที่มีผลต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตก่อนหย่านมของโคขาวลำพูน.
ใน รายงานวิจัยการผลิตสัตว์ประจำปี พ.ศ. 2544. น. 62-71. กรุงเทพฯ: กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
Duangjinda, M., Misztal, I. and S. Tsurata. 2002. BLUP90 PC-PAK 2.02: User’s Manual. The University of Georgia and Khon Kaen University.
SAS Institute. 2013. SAS/SAT 9.1 User’s guide. Cary: SAS Institute.