ความพึงพอใจต่อการบริโภคอาหารคลีนของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ศิริจรรยา เครือวิริยะพันธ์
กุลกัญญา ณ ป้อมเพ็ชร์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลส่วนบุคคล ความพึงพอใจต่อการบริโภคอาหารคลีน และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างข้อมูลส่วนบุคคลกับความพึงพอใจต่อการบริโภคอาหารคลีนของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม จากผู้บริโภคที่เคยมีประสบการณ์บริโภคอาหารคลีน และพำนักอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 385 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว สรุปได้ว่าผู้บริโภคอาหารคลีนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 23-29 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี สถานภาพโสด อาชีพพนักงานบริษัท
เอกชน มีประสบการณ์บริโภคอาหารคลีนมากกว่าหรือเท่ากับ 3 เดือน ในภาพรวมพบว่าผู้บริโภคมีความพึงพอใจทางด้านผลิตภัณฑ์ และไม่พึงพอใจทางด้านราคา ด้านการจัดจำหน่าย ด้านสื่อสารการตลาด และด้านสุขภาพ สำหรับผลการเปรียบ-
เทียบความแตกต่างระหว่างข้อมูลส่วนบุคคลกับความพึงพอใจต่อการบริโภคอาหารคลีน พบว่า เพศและระดับการศึกษามีผลต่อด้านสุขภาพ อายุมีผลต่อด้านผลิตภัณฑ์และด้านการจัดจำหน่าย ส่วนอาชีพมีผลต่อด้านผลิตภัณฑ์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติทัศน์ เบญจเจริญพัฒน์. 2559. ส่วนประสมทางการตลาดและทัศนคติต่อการบริโภคอาหารคลีนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. การค้นคว้าอิสระ, หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะการบริหารและจัดการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
ธิติมา พัดลม และกุลเชษฐ์ มงคล. 2558. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้ออาหารคลีนฟู้ดส์ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในกรุงเทพมหานคร.
ว. การจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา 4(2): 6-21.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. 2552. การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
พรรณราย พงษ์พิธี, ลลิตา บันลือศรีสกุล และสุณิชา พิทักษ์เลิศกุล. 2559. พฤติกรรมและปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารคลีนผ่านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. โครงงานพิเศษหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต, คณะการบริหารและจัดการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
ภาวิณี เทพคำราม. 2557. “คลีนฟู้ด” อีกมิติของการกินเพื่อสุขภาพ. ปิดเทอมสร้างสรรค์ อัศจรรย์วันว่าง. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. http://www.thaihealth.or.th (12 เมษายน 2560).
วิชญนาถ เรืองนาค. 2558. พฤติกรรมการบริโภคอาหารคลีนของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขนที่เรียนวิชาศิลปะดำเนินชีวิต. ปัญหาพิเศษคณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วัฒนา สุนทรธัย. 2552. วัดความพึงพอใจอย่างไร. จึงจะตอบคำถามของ สกอ. ได้. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. http://tulip.bu.ac.th/~wathna.s/kpi5.4.pdf (18 ตุลาคม 2561).
สิริไพศาล ยิ้มประเสริฐ. 2560. พฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
ราชมงคลอีสาน นครราชสีมา. ว.ราชพฤกษ์ 5(1): 33-41.
Cochran, W.G. 1977. Sampling techniques. 3rd ed. New York: John Wiley & Sons.
Kotler, Philip. 2000. Marketing Management: Analyzing Consumer Marketing and Buyer Behavior (The Millennium). New Jersey: Prentice Hall.