ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการการมีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ของเกษตรกรจังหวัดสมุทรปราการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคลของเกษตรกร การเปิดรับข้อมูลข่าวสาร ความน่าเชื่อถือของข่าวสาร และความต้องการการมีส่วนร่วม 2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการการมีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของเกษตรกรจังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 370 คน ได้จากการสุ่มลำดับชั้นอย่างเป็นสัดส่วน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวมรวบข้อมูล โดยใช้มาตรวัดแบบลิเคิร์ท (Linkert scale) 5 ระดับ (1-5) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมานโดยการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (61.60%) มีอายุเฉลี่ย 46.61 ปี การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (37.80%) อาศัยอยู่อย่างต่อเนื่องในจังหวัดสมุทรปราการเฉลี่ย 44.89 ปี เกษตรกรเปิดรับข่าวสาร
จากสื่อเผยแพร่ทุกประเภท โดยให้ความน่าเชื่อถือในระดับมากกับสื่อกิจกรรมและสื่อมวลชน ในระดับปานกลางกับสื่อบุคคล สื่อสังคมและสื่อสิ่งพิมพ์ ตามลำดับ เกษตรกรต้องการมีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยรวมในระดับปานกลาง ( = 3.02±0.28) และในรายด้านในระดับปานกลางเช่นเดียวกัน ได้แก่ ด้านการดำเนินงาน ( = 3.07±0.73) ด้านการรับผลประโยชน์ ( = 3.07±0.73) ด้านการติดตามประเมินผลร่วมกัน ( = 3.02±0.58) และด้านการตัดสินใจ ( = 2.94±0.37) 2) ปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคลของเกษตรกรที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการการมีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในเชิงบวก ได้แก่ อายุ ระยะเวลาที่พักอาศัย รายได้โดยรวมเฉลี่ย และจำนวนแรงงานในการเกษตร ในทิศทางตรงข้าม ได้แก่ ขนาดพื้นที่ถือครองและจำนวนสมาชิกในครัวเรือน โดยปัจจัยด้านการเปิดรับข่าวสารที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการการมีส่วนร่วม ได้แก่ ด้านสื่อสิ่งพิมพ์ จากแผ่นพับ รองลงมา ได้แก่ ด้านสื่อกิจกรรมจากแปลงเรียนรู้ของเกษตรกร และจากการประกวด ส่วนในทิศทางตรงข้าม ได้แก่ สื่อบุคคลจากเกษตรกรต้นแบบ
Article Details
วารสารเกษตรพระจอมเกล้า
References
https://www.mots.go.th/ewt_dl_link.php?nid=7114 (5 มีนาคม 2561).
จันทร์พร ช่วงโชติ. 2558. นวัตกรรมการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศบนฐานชุมชนในเขตอุทยานแห่งชาติภาคตะวันตกของประเทศไทย.
ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ดิเรก ฤกษ์หร่าย. 2527. ส่งเสริมการเกษตร : หลักการและวิธีการ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
ถนอมจิตต์ รื่นเริง. 2550. พัฒนาการการท่องเที่ยวในจังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. 2489-2549. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต,
สาขาวิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ป้องศักดิ์ ทองเนื้อแข็ง. 2552. การจัดทำรายการนำเที่ยวโดยชุมชนมีส่วนร่วมในรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เขตพื้นที่เทศบาลตำบลพะวง.
สงขลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.
ภัทรวดี จินดารักษ์. 2559. การท่องเที่ยวชุมชนกับการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมพื้นที่สีเขียว ตำบลบางกะเจ้า และตำบลบางน้ำผึ้ง
อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการบริหารทรัพยากรป่าไม้และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ภาสกร นันทพานิช. 2555. ผลของการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อการปฏิบัติการทำเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรในจังหวัดศรีสะเกษ.
แก่นเกษตร, 40: 207-216.
วิทยา เจียรพันธุ์, ปัญญา ธีระวิทยเลิศ, สรวิชญ์ เปรมชื่น, สุดา ยิ่งวิเศษ, บุญลือ ตรีพจนีย์, สุพรรณี อัศวศิริเลิศ และรำพึง สว่างเดือน. 2551. รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการวิจัยหนี้สินภาคครัวเรือนของเกษตรกรในชนบทไทย. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. https://elibrary.trf.or.th/project_content.asp?PJID=RDG4940002 (5 มีนาคม 2561).
วิภาดา มุกดา. 2547. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก. SDU Res. J. 10(3): 55-73.
ศรัญญา หงษ์แพง. 2553. แนวทางการบริการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่มีต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว : กรณีศึกษาอุทยานแห่งชาติภูเรือ
อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการจัดการและการประเมินโครงการ
มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
อานิสงค์ โอทาตะวงศ์. 2557. การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทะเลบัวแดง ในเขตเทศบาลตำบลเชียงแหว
อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิทยบริการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 25(1): 47-53.
อรัญญา ปฐมสกุล, วิศาล ศรีมหาวโร และสมคิด รัตนพันธุ์. 2560. การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของชุมชน : กรณีศึกษา
ตำบลท่าชนะ อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี 4(1): 177-194.
Hansasiriphot, B., Wanphicchit, L., and S., Ninsamrit, (1998). Kwamkithen Kan Mi Suanruam Nai Kan Ting Khaya Lae
Raka Kwam sa-at Khong Khon Nai Krungthepmahanakon (In Thai). In Final research report. Bangkok: Nation
Institute of Development Administration Research Center.
Intayon, J. (2002). Participation in Tourism Management : A case study of pongroan Village, Mai Phattana Sub-district,
Ko Kha District, Lampang. Chaing Mai University.
Krejcie, R. V., and D.W., Morgan, (1970). Determination sample size for research activities. Education and Psychology Measurement 30(3): 607-610.