การวิเคราะห์พื้นที่เหมาะสมในการปลูกข้าวสังข์หยด อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา โดยใช้ปัจจัยทางกายภาพของพื้นที่ปลูกข้าวสังข์หยด จังหวัดพัทลุง

Main Article Content

โชติกา รติชลิยกุล
สุพรรณ กาญจนสุธรรม
ณรงค์ พลีรักษ์
แก้ว นวลฉวี
อรรถวุฒิ นารถกุลพัฒน์

บทคัดย่อ

การวิเคราะห์พื้นที่เหมาะสมในการปลูกข้าวสังข์หยด อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ทำได้โดยการใช้ปัจจัยทางกายภาพของพื้นที่ปลูกข้าวสังข์หยด จังหวัดพัทลุง มาเป็นต้นแบบในการวิเคราะห์ ซึ่งการได้มาของปัจจัยมาจากการค้นคว้า ทบทวนเอกสาร สอบถามผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงการสอบถามความคิดเห็นของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวสังข์หยดทั่วทั้งจังหวัดพัทลุง จากนั้น
นำข้อมูลที่ได้ทั้งหมดมาทำการอภิปรายกลุ่ม (focus group) เพื่อจัดลำดับความสำคัญและกำหนดช่วงชั้นของแต่ละปัจจัย
โดยผู้ร่วมอภิปรายประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตร ผู้เชี่ยวชาญเรื่องข้าวสังข์หยด ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิสารสนเทศ และผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาที่ดิน ซึ่งสามารถสรุปปัจจัยและค่าถ่วงน้ำหนักที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของข้าวสังข์หยดได้ทั้งหมด 9 ปัจจัย ดังนี้ 1) การระบายน้ำ มีค่าถ่วงน้ำหนักเท่ากับ 5, 2) ความลาดชัน มีค่าถ่วงน้ำหนักเท่ากับ 5, 3) ธาตุอาหารในดิน มีค่าถ่วงน้ำหนักเท่ากับ 4, 4) ค่าปฏิกิริยาดิน มีค่าถ่วงน้ำหนักเท่ากับ 3, 5) ปริมาณน้ำฝน มีค่าถ่วงน้ำหนักเท่ากับ 3, 6) อุณหภูมิ
มีค่าถ่วงน้ำหนักเท่ากับ 2, 7) เนื้อดิน มีค่าถ่วงน้ำหนักเท่ากับ 2, 8) ความลึกของดิน มีค่าถ่วงน้ำหนักเท่ากับ 2 และ 9) การใช้ประโยชน์ที่ดิน มีค่าถ่วงน้ำหนักเท่ากับ 1 จากนั้นใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ทำการวิเคราะห์พื้นที่เหมาะสมของการปลูกข้าว สังข์หยด อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา พบว่า พื้นที่เหมาะสมในการปลูกข้าวสังข์หยดส่วนใหญ่อยู่ในระดับเหมาะสมมาก 180,776.54 ไร่ (ร้อยละ 66.02) รองลงมา คือ เหมาะสมปานกลาง 64,826.15 ไร่ (ร้อยละ 23.67) ไม่มีความเหมาะสม 28,100.13 ไร่ (ร้อยละ 10.26) และเหมาะสมน้อย 123.98 ไร่ (ร้อยละ 0.05)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จุฑามาศ มณีรัตน์. 2560. คุณค่าทางอาหารและประวัติของข้าวสังข์หยด. ชุมชนออนไลน์เพื่อการจัดการความรู้ของคนทำงานภาครัฐ
และภาคสังคมของไทย. https://www.gotoknow.org/posts/ (7 สิงหาคม 2560).
บรรณาธิการ. 2558. รายงานวิเคราะห์สถานการณ์จังหวัดพัทลุง. สำนักงานสถิติ จังหวัดพัทลุง. http://osthailand.nic.go.th/ masterplan_area/userfiles/file (10 กันยายน 2559).
บรรณาธิการ. 2559. ตลาดข้าวสังข์หยด. ไทยรัฐออนไลน์. https://www.thairath.co.th/content/595208 (7 สิงหาคม 2560).
พนิตพิมพ์ สิทธิศักดิ์, พัชรี ชุมทอง และนคเรศ รังควัต. 2557. การผลิตและการตลาดข้าวสังข์หยดของเกษตรกรในจังหวัดพัทลุง.
วารสารแก่นเกษตร 42 (พิเศษ 1): 493-498.
วัลภา อินทรงค์. 2555. การวิเคราะห์พื้นที่เหมาะสมเพื่อการอนุรักษ์พันธุ์ข้าวสังข์หยด จังหวัดพัทลุง. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วิษณุ ทองหล่อ และดวงเดือน อัศวสุธีรกุล. 2560. การวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงภัยแล้งด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ กรณีศึกษาจังหวัด
กำแพงเพชร. วารสารสมาคมสำรวจระยะไกลและสารสนเทศภูมิศาสตร์แห่งประเทศไทย (18): 65-70.
สรรค์ใจ กลิ่นดาว. (2550). การสำรวจจากระยะไกล. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
สำนักงานเกษตรจังหวัดสงขลา. 2559. ข้อมูลทางการเกษตรจังหวัดสงขลา ปี พ.ศ. 2556-2558. สำนักงานเกษตรจังหวัดสงขลา
http://songkhla.doae.go.th/ (10 มกราคม 2559).
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2557. สถิติการเกษตรของประเทศไทย ปี 2557. กรุงเทพ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2558. แนวทางบริหารจัดการเขตเกษตรเศรษฐกิจสินค้าเกษตรที่สำคัญ: Zoning ข้าว อำเภอระโนด
จังหวัดสงขลา. สงขลา: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 9 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
Anbumozhi, V., Yamaji, E. and Tabuchi, T. 1998. Rice crop growth and yield as influenced by changes in ponding water depth,
water regime and fertigation level. Agricultural Water Management Journal (37): 241-253.