ความตั้งใจซื้อบัวหลวงเพื่อใช้ประดับตกแต่งของผู้บริโภคในจังหวัดขอนแก่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ถึงความตั้งใจซื้อบัวหลวงเพื่อใช้ประดับตกแต่งของผู้บริโภคในจังหวัดขอนแก่น ข้อมูลถูกเก็บรวบรวมโดยการสุ่มแบบเจาะจงและใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการสัมภาษณ์ผู้บริโภคที่เคยซื้อดอกไม้เพื่อใช้สำหรับประดับตกแต่ง ในอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น จำนวนทั้งสิ้น 381 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่
ร้อยละ และสถิติไค-สแควร์ ผลการศึกษาพบว่า ผู้บริโภคที่เคยซื้อดอกไม้ในจังหวัดขอนแก่นส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย
33 ปี ระดับการศึกษาน้อยกว่าปริญญาตรี สถานภาพโสด มีรายได้ส่วนบุคคลเฉลี่ย 15,359.68 บาท/เดือน และรายได้ครัวเรือนเฉลี่ย 43,270.37 บาท/เดือน สำหรับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เคยซื้อดอกไม้ในจังหวัดขอนแก่น พบว่า ชนิดดอกไม้ที่เคยซื้อ
มากที่สุด คือ ดอกบัวหลวง วัตถุประสงค์ในการซื้อคือเพื่อการทำบุญไหว้พระ สำหรับทัศนคติต่อการใช้ดอกบัวหลวงสำหรับ
การประดับตกแต่งของผู้บริโภคโดยภาพรวมอยู่ในเชิงบวก ส่วนการยอมรับการใช้ดอกบัวในการประดับตกแต่งของผู้บริโภค
โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง นอกจากนี้ยังพบว่าทัศนคติที่มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจซื้อบัวหลวงเพื่อประดับตกแต่งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ดอกบัวหลวงมีสีสันที่เหมาะสมสำหรับนำมาใช้ประดับตกแต่งสถานที่ได้หลายโอกาส การนำดอกบัวหลวงมาใช้ในงานมงคลสมรสแสดงความเป็นไทยให้ความรู้สึกแปลกใหม่ การใช้ดอกบัวหลวงประดับตกแต่งช่วยเสริมรูปแบบงานที่เน้นความเป็นไทยให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ส่วนการยอมรับที่มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจซื้อบัวหลวงเพื่อประดับตกแต่งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การใช้ดอกบัวหลวงประดับตกแต่งหน้าหีบศพ ใช้ประดับตกแต่งพวงหรีด ใช้ประดับตกแต่งพานรับน้ำสังข์ ใช้ประดับตกแต่งฉากหลัง และใช้ตกแต่งภายในบ้าน/ที่ทำงาน
Article Details
วารสารเกษตรพระจอมเกล้า
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. 2549. สถิติสำหรับงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กุณฑลี รื่นรมย์. 2558. การวิจัยการตลาด. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จินตน์กานต์ งามสุทธา. 2555. ลู่ทางการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับบัวหลวง. หนังสือพิมพ์กสิกร 5: 25-30.
เติมศักดิ์ สุขวิบูลย์. 2552. ข้อคำนึงในการสร้างเครื่องมือประเภทมาตรประมาณค่า (rating scale) เพื่องานวิจัย. http://www.ms.src.ku.ac.th
(10 ตุลาคม 2562).
นราศรี ไววนิชกุล และชูศักดิ์ อุดมศรี. 2538. ระเบียบวิธีวิจัยธุรกิจ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ศุภร เสรีรัตน์, ปณิศา มีจินดา, อรทัย เลิศวรรณวิทย์, ปริญ ลักษิตานนท์, องอาจ ปทะวานิช และจิระวัฒน์ อนุชชานนท์. 2552.
การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. 2559. บัวหลวง. กรมส่งเสริมการเกษตร. http://www.agriinfo.doae.go.th/year60/plant/rortor/
flower/tropics_zone/lotus (10 ตุลาคม 2562).
สุปราณี วนิชชานนท์. 2541. คู่มือการปลูกไม้ประดับ. นนทบุรี: สำนักพิมพ์เพื่อนเกษตร.
อรวรรณ วิชัยลักษณ์ และภูริพันธุ์ สุวรรณเมฆ. ม.ป.ป. การผลิตบัวหลวงตัดดอก. กรุงเทพฯ: สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร
กรมส่งเสริมการเกษตร.
Assael, H. 1995. Consumer behavior and marketing action. 5th ed. The United of America: International Thomson.
Cochran, W. G. 2007. Sampling techniques. New York: John Wiley & Sons.
Phonpho, S. 2014. The relationship of lotus to Thai lifestyle in terms of religion, arts, and tradition. Journal of Agricultural Technology 10(6): 1353-1367.
Rogers, E. M. 2003. Diffusion of innovations. 5th ed. New York: NY Free Press.
Tzavaras, M., Tzimitra-Kalogianni, I., and Bourlakis, M. 2010. Consumer behaviour in the Greek floral market.
British Food Journal 112(4): 403-415.