สารให้กลิ่นในเปลือกส้มซ่าจากการสกัดด้วยวิธีต่างกัน

Main Article Content

วรรณวรางค์ วัชรานานันท์
ธงชัย พุฒทองศิริ
กิตติพงษ์ ห่วงรักษ์

บทคัดย่อ

จากการศึกษาผลของการใช้ตัวทำละลายต่างชนิดในการสกัดสารให้กลิ่นจากเปลือกส้มซ่า พบว่าการใช้ตัวทำละลายผสมระหว่างปิโตรเลียมอีเทอร์กับไดเอทิลอีเทอร์ในอัตราส่วน 1:1 ได้ปริมาณสารที่สกัดได้มากกว่าการใช้ไดเอทิลอีเทอร์เพียงอย่างเดียว สำหรับผลของวิธีสกัดต่อปริมาณสารให้กลิ่นที่สกัดได้ พบว่าวิธีสกัดด้วยตัวทำละลายผสมระหว่างปิโตรเลียมอีเทอร์กับไดเอทิลอีเทอร์อัตราส่วน 1:1 ได้ชนิดของสารไม่ต่างจากการกลั่นด้วยไอน้ำ แต่ได้ปริมาณสารสกัดมากกว่า อีกทั้งยังได้ชนิดและปริมาณสารมากกว่าการสกัดด้วยคาร์บอนไดออกไซด์เหนือจุดวิกฤติและการบีบ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกศินี ศรีสุระ และมานพ เจริญไชยตระกูล. 2549. การสกัดวิตามินอีจากเมล็ดดอกทานตะวันด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ที่สภาวะเหนือจุดวิกฤต. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มศว. 1 (1): 51-57.
จักรพันธ์ จุลศรีไกวัล, สรินยา ขัดชุ่มแสง, เอื้อพร ไชยวรรณ และสุวรรณา เวชอภิกุล. 2551. ผลิตภัณฑ์น้ำมันหอมระเหยเพื่อสุขภาพจากมะกรูดและส้มโอและการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้. วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ 3 (2): 203-209.
เจะนูรวาตี กาเร็ง และนัฎรุจี เจ๊ะซอ. 2547. การสกัดน้ำมันหอมระเหยจากเปลือกส้มโอ. ปริญญานิพนธ์ครุศาสตรบัณฑิต. คณะครุศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.
ชนัญชิดา แซ่ม้า และวรรณี จิรภาคย์กุล. 2554. ผลของชนิดตัวทำละลายต่อสารระเหยที่สกัดจากน้ำมะพร้าวน้ำหอมเผา. น. 564-572.
ใน รายงานการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 49. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
อุดมลักษณ์ สุขอัตตะ, อุไรวรรณ ดิลกคุณานันท์, สรัญญา วัชโรทัย, วิชัย หฤทัยธนาสันติ์, พจมาน พิศเพียงจันทร์, พุฒิตา พันจี
และประภัสสร รักถาวร. 2554. การสกัดแยกน้ำมันหอมระเหยและสารหอมจากดอกพุด. น. 414-422.
ใน รายงานการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 49. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
Ferhat, M. A., Meklati, B. Y., Smadja, J., and Chemat, F. 2006. An improved microwave Clevenger apparatus for distillation of essential oils from orange peel. Journal of Chromatography A. 1112 (2): 121-126.
Hosni, K., Zahed, N., Chrif, R., Abid, I., Medfei, W., Kallel, M., Brahim, N. B., and Sebei, H. 2010. Composition of peel essential oils from four selected Tunisian citrus species: evidence for the genotypic influence. Food chemistry 123 (4): 1098-1104.
Mira, B., Blasco, M., and Subirats, S. 1996. Supercritical CO2 extraction of essential oils from orange peel. The Journal of Supercritical Fluids 9 (4): 238-243.
Qiao, Y., Xie, B. J., Zhang, Y., Zhou, H. Y., and Pan, S. Y. 2007. Study on aroma components in fruit from three different satsuma mandarin varieties. Agricultural sciences in China 6 (12): 1487-1493.
Rezzoug, S. A., and Louka, N. 2009. Thermomechanical process intensification for oil extraction from orange peels. Innovative Food Science and Emerging Technologies 10 (4): 530-536.
Sahraoui, N., Vian, M. A., Maataoui, M. E., Boutekedjiret, C., and Chemat, F. 2011. Valorization of citrus by-products using Microwave Steam Distillation (MSD). Innovative Food Science and Emerging Technologies 12 (2): 163-170.
Tinjan, P., and Jirapakkul, W. 2007. Comparative study on extraction methods of free and glycosidically bound volatile compounds from kaffir lime leaves by solvent extraction and solid phase extraction. Kasetsart Journal (Natural Science) 41: 300-306.