ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเป็นองค์กรอัจฉริยะของวิสาหกิจชุมชนเกษตรรุ่นใหม่

Main Article Content

พัชราวดี ศรีบุญเรือง
สูติเทพ ศิริพิพัฒนกุล
ภัทราพร ช่วยเมือง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลของผู้ดำเนินการวิสาหกิจชุมชนเกษตรรุ่นใหม่ 2) ความคิดเห็นเกี่ยวกับองค์กรอัจฉริยะ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลของผู้ดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนเกษตรรุ่นใหม่กับความคิดเห็นเกี่ยวกับองค์กรอัจฉริยะ และ 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการเป็นองค์กรอัจฉริยะของวิสาหกิจชุมชนเกษตรรุ่นใหม่ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดำเนินการวิสาหกิจชุมชนเกษตรรุ่นใหม่ จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าทดสอบไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า ผู้ดำเนินการวิสาหกิจชุมชนเกษตรรุ่นใหม่ส่วนมากเป็นเพศหญิง อายุ 51 ปีขึ้นไป สถานภาพสมรส สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ผลการประเมินศักยภาพวิสาหกิจชุมชนอยู่ในระดับดี มีรายได้มากกว่า 300,000 บาท/ปี รายจ่ายน้อยกว่าหรือ
เท่ากับ 100,000 บาท/ปี มีประสบการณ์ในการดำเนินการวิสาหกิจชุมชน 1 ปี ภาพรวมความคิดเห็นของวิสาหกิจชุมชน
เกษตรรุ่นใหม่เกี่ยวกับองค์กรอัจฉริยะจัดอยู่ในระดับความคิดเห็นด้วยมากที่สุด (ค่าเฉลี่ยรวม 4.36) ผลการทดสอบสมมติฐาน
พบว่า รายได้เฉลี่ยมีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นเกี่ยวกับองค์กรอัจฉริยะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 (p-value=0.046) นอกจากนี้ ปัญหาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรอัจฉริยะของวิสาหกิจชุมชนเกษตรรุ่นใหม่ คือ ปัญหาเรื่องความรู้ รองลงมาคือเรื่องเทคโนโลยี ข้อเสนอแนะจากการวิจัย ควรมีหน่วยงานภาครัฐและ/หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดสิ่งสนับสนุนความรู้และเทคโนโลยีให้แก่วิสาหกิจชุมชนเกษตรรุ่นใหม่ เพื่อให้มีการสร้างองค์ความรู้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และเกิดการรวมกลุ่มที่มีความสามารถ
ในการแข่งขันได้ในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2548. พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. 2548. กรุงเทพฯ: กองส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน กรมส่งเสริมการเกษตร.
กษมาพร พวงประยงค์. 2554. แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มการแปรรูปและผลิตภัณฑ์ จังหวัดสมุทรสงคราม. http://www.thapra.lib.su.ac.th/thesis/showthesis_th.asp?id=0000006943 (1 มิถุนายน 2561).
จันทนา พงศ์สิทธิกาญจนา. 2556. ตัวแบบการจัดการเพื่อการบรรลุยุทธศาสตร์วิสาหกิจชุมชน จังหวัดนครปฐม. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคม
3 (2): 8-21.
จิรพร มหาอินทร์, อรุณี พึงวัฒนานุกูล, ฐิตินันท์ พงษ์คะเชนทร์ และขวัญฤทัย วงศ์คำแหงหาญ. 2554. การดำเนินงานและการส่งเสริมศักยภาพของวิสาหกิจชุมชน: กรณีศึกษา กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์ผ้าและเครื่องแต่งงาน จังหวัดปทุมธานี. https://repository.rmutp.ac.th/
bitstream/handle/123456789/1201/Bus_55_12.pdf?sequence=1&isAllowed=y (30 พฤษภาคม 2561).
บุญอนันต์ พินัยทรัพย์. 2552. องค์การกับการจัดการความรู้: ศึกษาองค์การที่ประสบความสำเร็จในภาคธุรกิจ. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์
49 (1) (พิเศษ): 127-156.
วิจารณ์ พานิช. 2550. วิถีแห่งองค์กรอัจฉริยะ. http://kmi.or.th/kmi-articles/prof-vicharn-panich/27-2010-04-05-0313-45.html
(30 พฤษภาคม 2561).
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2560. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 http://www.nesdb.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422 (30 พฤษภาคม 2561).
สุรินทร์ นิยมางกูร. 2553. การวิเคราะห์ข้อมูลตัวอย่างความพึงพอใจในสภาพความเป็นอยู่ปัจจุบันของเกษตรกรในชนบทแห่งหนึ่ง. น.177.
กรุงเทพฯ: ฐานบัณฑิต.
สุวิทย์ เมษินทรีย์. 2559. นโยบายพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย (ไทยแลนด์ 4.0). http://www.sudpatapee.com/index.php/2014-08-15-15-18-27/item/176-4-0 (20 พฤษภาคม 2561).
Schroeder, R. G., Anderson, J. C., and Clevenland, G. 1986. The content of manufacturing strategy: An empirical study.
Journal of Operations Management 6 (4): 405-415.
Wriston, W. 1992. The Twilight of Sovereignty: How the Information Revolution in Transforming the World. New York: Scribner.