ความยั่งยืนในการดำเนินงานของสหกรณ์การเลี้ยงปศุสัตว์ กรป.กลาง โพนยางคำ จำกัด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ค้นหาความหมายของความยั่งยืนในการดำเนินงานของสหกรณ์ 2) ศึกษาปัจจัย
ที่ส่งผลให้การดำเนินงานของสหกรณ์เกิดความยั่งยืน 3) เพื่อคาดการณ์แนวโน้มในการดำเนินงานของสหกรณ์ในอนาคต
เป็นการศึกษาที่มุ่งเน้นการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อหาข้อสรุปเชิงทฤษฎีที่จะนำไปสู่การสร้างทฤษฎีฐานราก (grounded theory) จากมุมมองของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องหลักในการดำเนินงานของสหกรณ์ จำนวน 15 คน การเลือกพื้นที่ในการศึกษาใช้วิธีการเลือกเชิงทฤษฎี (theoretical sampling) คือ สหกรณ์การเลี้ยงปศุสัตว์ กรป.กลาง โพนยางคำ จำกัด ซึ่งมีความสอดคล้อง
ตามวัตถุประสงค์และคำถามของการวิจัยมากที่สุด การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตและจดบันทึก
และการศึกษาจากเอกสาร ผลการวิจัยพบว่า 1) ความยั่งยืนในการดำเนินงานของสหกรณ์ หมายถึง ระยะเวลาในการดำรงอยู่ของสหกรณ์อย่างยาวนานที่เป็นผลมาจากการมีวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร ความรู้ความชำนาญเฉพาะด้าน วัฒนธรรมองค์กร
การใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงาน มีผลการดำเนินงานที่ดี คุณภาพผลิตผลที่ผ่านกระบวนการที่มีมาตรฐาน เป็นทั้งผู้ผลิตและจำหน่ายเนื้อโคที่มีคุณภาพในระดับแนวหน้าของประเทศ สมาชิกมีความเชื่อมั่นและความจงรักภักดีต่อสหกรณ์ และเป็นต้นแบบของการรวมกลุ่มผู้ผลิตที่มีการบริหารจัดการตลอดจนห่วงโซ่การผลิต สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจ-พอเพียง 2) ปัจจัยที่ส่งผลให้การดำเนินงานของสหกรณ์เกิดความยั่งยืน ประกอบด้วย คุณภาพผลิตผล ประสิทธิผลของ
การบริหารจัดการ และคุณภาพชีวิตของสมาชิกสหกรณ์ 3) แนวโน้มการดำเนินงานในอนาคตของสหกรณ์นั้นขึ้นอยู่กับปริมาณโคที่มีอยู่ หากมีการป้อนโคเข้าสู่สหกรณ์อย่างสม่ำเสมอก็จะทำให้เกิดการหมุนเวียนทางธุรกิจเป็นไปอย่างต่อเนื่องและสหกรณ์ต้องรักษาคุณภาพเนื้อและมาตรฐานของกระบวนการผลิตให้คงที่ต่อไป
Article Details
วารสารเกษตรพระจอมเกล้า
References
กรมส่งเสริมสหกรณ์. 2552. รายงานผลการวิจัยเรื่องปัจจัยความสำเร็จของสหกรณ์ดีเด่นในปี 2517 ศึกษาเฉพาะกรณีสหกรณ์การเกษตรสูงเนิน จำกัด. กรุงเทพฯ: กองวิชาการ กรมส่งเสริมสหกรณ์.
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2561. ข่าวประชาสัมพันธ์: สศก. มั่นใจพร้อมรับมือผลกระทบหลังสิ้นสุด SSG ไทย-ออสเตรเลีย ชูกองทุน FTA
พร้อมช่วยเกษตรกร. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. https://www.moac.go.th/news-preview-401891791647 (17 มกราคม 2561).
ชาย โพธิสิตา. 2556. ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง.
สหกรณ์การเลี้ยงปศุสัตว์ กรป.กลาง โพนยางคำ จำกัด. 2561. ประวัติสหกรณ์และเนื้อโคขุนโพนยางคำ. สหกรณ์การเลี้ยงปศุสัตว์ กรป.กลาง
โพนยางคำ จำกัด. http://www.thaifrenchbeef.com/WhatPYK.html (5 สิงหาคม 2561).
สำนักกรรมาธิการ 1 สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. 2561. รายงานการพิจารณาศึกษาของคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ เรื่อง "ยุทธศาสตร์การส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมโคเนื้อไทยทั้งระบบ. สำนักพิมพ์: สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาปฏิบัติหน้าที่สำนักงานเลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ.
สุพจน์ วัฒนวิเชียร, รังสรรค์ สิงหเลิศ, สุวกิจ ศรีปัดถา และเกรียงศักดิ์ ไพรวรรณ. 2552. การพัฒนาการดำเนินงานของสหกรณ์การเกษตร
ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 3: 35-44.
Charmaz, K. 2006 .Constructing Grounded Theory: A Practical Guide through Qualitative Analysis. California: Sage Publication.
Charmaz, K. 2014 .Constructing Grounded Theory, 2nd ed. Thousand Oaks, CA: Sage Publication.
Creswell, J. W. 1998. Qualitative Inquiry and Research Design Choosing Among Five Tradition. London: Sage Publication.
Strauss, A. L., and Corbin, J. M. 1990. Basic of Qualitative Research: Techniques and Procedures for Developing Grounded Theory. 2nd ed. California: Sage Publication