ศักยภาพของนักส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ภาคตะวันออก ในการปฏิบัติงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพพื้นฐานทางสังคม เศรษฐกิจ และคุณลักษณะของนักส่งเสริมการเกษตร 2) เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพของนักส่งเสริมการเกษตรในการปฏิบัติงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรตามสมรรถนะ
3) เพื่อสังเคราะห์แนวทางการพัฒนาศักยภาพนักส่งเสริมการเกษตร 4) เพื่อพัฒนาโมเดลศักยภาพของนักส่งเสริมการเกษตร สุ่มตัวอย่างนักส่งเสริมการเกษตร จำนวน 194 ราย เกษตรกรต้นแบบ 9 ราย ผู้เชี่ยวชาญด้านการส่งเสริมการเกษตร 8 ราย
เก็บข้อมูลจากการสอบถาม การสัมภาษณ์ วิเคราะห์ด้วยสถิติพรรณนา สนทนากลุ่ม สถิติเปรียบเทียบ factor analysis และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) นักส่งเสริมการเกษตร ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีสถานภาพโสด สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี มีภูมิลำเนาอยู่ในภาคตะวันออก สังกัดสำนักงานเกษตรอำเภอ ปฏิบัติงานในตำแหน่งระดับปฏิบัติการ มีเงินเดือนเฉลี่ย 22,268 บาท รายได้อื่น ๆ เฉลี่ยต่อคนเดือนละ 2,168 บาท ภาวะหนี้สินเฉลี่ยต่อคนเดือนละ 8,188.13 บาท
และมีประสบการณ์ในการทำงานส่งเสริมการเกษตรเฉลี่ย 7.86 ปี 2) จากการเปรียบเทียบสมรรถนะของนักส่งเสริมการเกษตร
ที่ระดับการปฏิบัติงานและระดับความจำเป็น พบว่า การถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร และการพัฒนาองค์กรเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และเครือข่ายมีความแตกต่างกันมากที่สุด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) แนวทางการพัฒนาศักยภาพของนักส่งเสริมการเกษตร ควรมีการพัฒนาความรู้ด้านเทคโนโลยีการผลิตพืช การเพิ่มการดูแลด้านกฎหมาย การฝึกอบรม และการกำหนดคุณสมบัติที่ครอบคลุมกับงาน 4) โมเดลศักยภาพของนักส่งเสริมการเกษตรต่อการปฏิบัติงานส่งเสริมและพัฒนา-
การเกษตรโดยพัฒนาตามหลักแนวคิดของ David C. McClelland และทฤษฎีสองปัจจัยของเฮิร์ซเบิร์ก (two-factor theory) ประกอบด้วย 4.1) มโนทัศน์ส่วนบุคคล (self-concept) 4.2) ทัศนคติต่องาน (attitude) 4.3) บุคลิกลักษณะประจำตัวของบุคคล (traits) และ 4.4) ทักษะ (skills)
Article Details
วารสารเกษตรพระจอมเกล้า
References
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2560. ยุทธศาสตร์เกษตรและสหกรณ์ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579). กรุงเทพฯ: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร.
ชัญญาภัก หล้าแหล่ง. 2559. การวิเคราะห์ต้นทุน ผลตอบแทน และประสิทธิภาพการผลิตพืชเศรษฐกิจของภาคใต้. วารสารวิชาการ 36 (4) :1-17.
ดวงเดือน จันทร์เจริญ .2549. การใช้ Competency พัฒนาบุคลากร. วารสารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 2 (1): 304-314.
พชร สันทัด. 2557. ศาสตร์และศิลป์ การบริหารกรพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. สมาคมส่งเสริมคุณธรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ยุพเรศ เชาว์วิทยา. 2556. การปฏิบัติงานตามระบบส่งเสริมการเกษตรของเกษตรตำบลในจังหวัดสุราษฏร์ธานี. ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต, แขนงวิชา ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์, สมชาย หิรัญกิตติ และธนวรรธ ตั้งสินทรัพย์ศิริ. 2550. การจัดการและพฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2559. แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ สิบสอง (พ.ศ. 2560-2564).
สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. 2561. ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. 2559. ข้อมูลสำมะโนประชากร. สำนักส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน. http://www. qlf .or.th/ Home /Contents/594. (1 มิถุนายน 2559).