ผลของการทดแทนแป้งข้าวเหนียวด้วยเปลือกทุเรียนผงต่อคุณภาพของแป้งปั้น

Main Article Content

อภิรัติ โสฬศ
นิอร ดาวเจริญพร
รุ่งฤทัย รำพึงจิต

บทคัดย่อ

ทุเรียนเป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมในการบริโภคที่เพิ่มขึ้น ทำให้มีส่วนของเปลือกที่ไม่สามารถรับประทานได้ในปริมาณมาก โดยทุเรียนหนึ่งผลจะมีปริมาณเปลือกมากกว่าปริมาณเนื้อ จึงมีแนวคิดในการผลิตเปลือกทุเรียนผงเพื่อทำแป้งปั้นสำหรับการส่งเสริมงานหัตถกรรมไทยเพื่อสร้างรายได้และอาชีพเสริมให้กับเกษตรกรในกลุ่มชุมชนหรือวิสาหกิจชุมชน โดยทำการทดลองอบแห้งเปลือกทุเรียนพันธุ์หมอนทองเฉพาะส่วนที่เป็นสีขาวด้วยเครื่องอบลมร้อน
ที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 6 ชั่วโมง แล้วนำไปบดละเอียดด้วยเครื่องปั่นอาหารที่ความเร็วระดับ 3
เป็นเวลา 1 นาที 3 ครั้ง จากนั้นร่อนผ่านตะแกรงที่มีความละเอียดขนาด 80 เมช ความชื้นโดยรวมไม่เกินร้อยละ 14 นำเปลือกทุเรียนผงมาทดแทนแป้งข้าวเหนียวในอัตราส่วนที่ต่างกัน 3 ระดับ ได้แก่ ปริมาณร้อยละ 25, 50 และ 75 โดยน้ำหนักของปริมาณแป้งข้าวเหนียว จากนั้นนำไปทดสอบคุณภาพของแป้งปั้นโดยผู้เชี่ยวชาญด้านงานหัตถกรรมที่มีองค์ความรู้ด้านวิชาการและด้านธุรกิจ จำนวน 5 ท่าน ผลการทดสอบพบว่าการทดแทนแป้งข้าวเหนียวด้วย
แป้งเปลือกทุเรียนผงที่ระดับร้อยละ 50 ได้รับการยอมรับในคุณภาพด้านความเหนียว ความนิ่ม ความเนียน และ
การทรงตัวที่ความชอบในระดับมากถึงมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นิธิยา รัตนาปนนท์. 2557. เคมีอาหาร. น. 487. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
วรวรรณ สังแก้ว. 2554. การแปรรูปเปลือกทุเรียนเป็นวัสดุเชื้อเพลิง : การศึกษาเปรียบเทียบลักษณะคุณภาพ ต้นทุนการผลิตและ
ความคิดเห็นของผู้ใช้ถ่านที่ผลิตจากเปลือกทุเรียน และเปลือกทุเรียนผสมผงถ่านและขี้เลื่อย. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัย
ราชภัฏพิบูลสงคราม (พิเศษ): 51-58.
โศรดา วัลภา, กุลรภัส วชิรศิริ, ดำรงชัย สิทธิสำอางค์ และฐิติชญา สุวรรณทัพ. 2553. ผลของการเสริมใยอาหารจากเปลือกทุเรียนต่อคุณภาพของขนมปังขาว. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 40 (3/1) (พิเศษ): 205-208.
สุธิดา เงินหมื่น. 2558. ภาวะการส่งออกสินค้าผักผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง. สำนักพัฒนาการค้าและธุรกิจการเกษตรและอุตสาหกรรม. กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ. http://www.ditp.go.th/contents_attach /92378/92378.pdf
(7 ธันวาคม 2558).
อนุชิต จิ๋วหยี, สโรชา เจริญวัย, สมศักดิ์ วงษ์ประดับไชย และผดุงศักดิ์ รัตนเดโช. 2555. การศึกษาเชิงทดลองในกระบวนการอบแห้ง
แผ่นชิ้นไม้อัด (แปรรูปมาจากเปลือกทุเรียน) โดยใช้ระบบไมโครเวฟ ชนิดป้อนคลื่นหลายตำแหน่งที่ไม่สมมาตรร่วมกับระบบลมร้อนและสายพานลำเลียงอย่างต่อเนื่อง. ใน การประชุมวิชาการเครือข่ายวิศวกรรมเครื่องกลแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 26. โรงแรมดุสิต ไอส์แลนด์ รีสอร์ท, เชียงราย.
Ai-Nong, Y., Ya, L., Yan, Y., and Ke, Y. 2018. The browning kinetics of the non-enzymatic browning Reaction in L-ascorbic acid/basic amino acid systems. Food Sci. Technol. (Campinas) 38 (3): 537-542.
AOAC. 2000. Official Method of Analysis of AOAC International. 17th ed. Washington DC: The Association of Official Analytical Chemistry.
Benjakul, S., Seymour, T. A., Morrissey, M. T., and An, H. 1997. Physicochemical changes in Pacific whiting muscle proteins during iced storage. Food Sci. (62): 729-733.
Penjumras, P., Rahman, R. B. A., Taliba, R. A., and Abdan, A. 2014. Extraction and characterization of cellulose from durian rind. Agric. Agric. Sci. Procedia 2: 237-243.
Pongnoree, J., and Kongbangkerd, T. 2006. Preparation of cellulose from corncobs I : Study on cellulose extraction. Songklanakarin J. Sci. Technol. 28 (1): 191-199.
Unhasirikul, M., Narkrugsa, W., and Naranong, N. 1997. Sugar production from durian (Durio zibethinus Murray) peel by acid hydrolysis. Afr. J. Biotechnol. 12 (33): 5244-5251.