ผลของวัสดุปลูกและปุ๋ยคอกต่อการเจริญเติบโตของพรมญี่ปุ่น

Main Article Content

ชมัยพร อนุวงศ์
สุริยา ก่อสินวัฒนา
สมลักษณ์ มะโรงชัย

บทคัดย่อ

ต้นพรมญี่ปุ่น เป็นไม้กระถางที่นิยมใช้เพื่อประดับตกแต่งสถานที่ทั้งในอาคารและการจัดสวนขนาดเล็ก วัตถุประสงค์ของการทดลองนี้เพื่อศึกษาชนิดของวัสดุปลูกและปุ๋ยคอกที่เหมาะสมในการปลูกต้นพรมญี่ปุ่น เพื่อช่วยลดต้นทุนในการผลิต โดยแบ่งเป็น 2 การทดลองดังนี้ การทดลองที่ 1 ศึกษาอิทธิพลของวัสดุปลูกต่อการเจริญเติบโตของต้นพรมญี่ปุ่น วางแผน
การทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (CRD) จำนวน 5 กรรมวิธี โดยปลูกพืชในวัสดุปลูกที่แตกต่างกัน 5 ชนิด ดังนี้ 1) ขุยมะพร้าว
2) ขี้เถ้าแกลบ 3) ขุยมะพร้าว : ขี้เถ้าแกลบ อัตราส่วน 1 : 1 4) ขุยมะพร้าว : กาบมะพร้าวสับ อัตราส่วน 1 : 1 5) ขุยมะพร้าว :
ขี้เถ้าแกลบ : กาบมะพร้าวสับ อัตราส่วน 1 : 1 : 1 ผลการทดลอง พบว่า การใช้ขุยมะพร้าวผสมกาบมะพร้าว อัตราส่วน 1 : 1
เป็นวัสดุปลูกที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของพรมญี่ปุ่นมากที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยทำให้ความสูงทรงพุ่ม จำนวนไหลต่อต้น ความยาวราก เส้นผ่านศูนย์กลางดอก และจำนวนข้อที่เกิดไหลสูงที่สุด การทดลองที่ 2 ศึกษาผลของปุ๋ยคอก
ต่อการเจริญเติบโตของพรมญี่ปุ่น โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (CRD) จำนวน 5 กรรมวิธี 5 ซ้ำ ดังนี้ 1) ไม่ใส่ปุ๋ย
2) ปุ๋ยออสโมโคต ปริมาณ 11 กรัม 3) ปุ๋ยมูลวัว ปริมาณ 77 กรัม 4) ปุ๋ยมูลไก่ ปริมาณ 66 กรัม 5) ปุ๋ยมูลไส้เดือน ปริมาณ
83 กรัม โดยทำการผสมปุ๋ยคอกเหล่านี้กับวัสดุปลูกและหมักเป็นเวลา 16 สัปดาห์ ผลการทดลอง พบว่า ปุ๋ยมูลไก่ ส่งผลให้
ต้นพรมญี่ปุ่นมีการเจริญเติบโตได้ดีในด้านจำนวนข้อ จำนวนใบ จำนวนไหล และความยาวราก ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่การใส่ปุ๋ยออสโมโคตหรือปุ๋ยเคมีส่งผลต่อความเข้มของสีใบมากที่สุด และเมื่อพิจารณาต้นทุนที่ใช้พบว่าการใช้ปุ๋ยมูลไก่เป็นวัสดุปลูกช่วยลดต้นทุนได้ 3 บาทต่อกระถาง และยังช่วยให้มีการผลิตไหลที่เพิ่มขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นฤมล ประสานไมตรี. 2535. ไม้กระถาง. เชียงใหม่, หน้า 45-52.
บัญชา รัตนทู. 2552. ปุ๋ยอินทรีย์ฟื้นฟูสภาพดิน. ว. มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 1: 1-14.
บ้านและสวน. 2558. พรมกำมะหยี่. แหล่งที่มา: https://book.baanlaesuan.com/plant-library/carpet_plant, 25พฤษภาคม พ.ศ. 2561.
ประภาพรรณ กระจ่างลิขิต. 2557. การศึกษาอิทธิพลของวัสดุปลูกและระดับความเข้มข้นของธาตุไนโตรเจน และ โพแทสเซียมต่อการเจริญเติบโตของแพงพวยเลื้อย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ประยงค์ ธรรมสุภา. 2555. การศึกษาวัสดุปลูกที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของดาวเรือง. ว.มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. 7: 30.
มุกดา สุขสวัสดิ์. 2547. วัสดุปลูกไม้ดอกไม้ประดับ. บ้านและสวน. กรุงเทพฯ.
สมเพียร เกษมทรัพย์. 2524. ไม้ดอกกระถาง. โรงพิมพ์อักษรพิทยา , กรุงเทพฯ. 241 น.
สมเพียร เกษมทรัพย์. 2526. ไม้ดอกกระถาง. พิมพ์ครั้งที่2. คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สมยศ เดชภิรัตนมงคล และโสมนันทน์ ลิพันธ์. 2558. ผลของปุ๋ยมูลไก่ที่มีต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตของหญ้าปักกิ่ง. ว.แก่นเกษตร. 1: 650-655.
สวัสดิ์ พิมพ์สุวรรณ. 2555. ผลของวัสดุปลูกชนิดต่าง ๆ ที่มีต่อการเจริญเติบโตของกาบหอยแครง. โครงการงานวิจัยคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. น.19-21.
สุมิตรา สุปินราช และ อิศร์ สุปินราช. 2557. การศึกษาวัสดุปักชำสับปะรดสีพันธุ์ 'สคาร์เล็ต สตาร์'. การประชุมทางวิชาการของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 52: สาขาพืช, กรุงเทพฯ.
สุมิตรา สุปินราช, รัชณีพร ศรีวันชัย, และอิศร์ สุปินราช. 2559. ผลวัสดุปลูกต่อการเจริญเติบโตและการออกดอกของผีเสื้อ. ว.พืชศาสตร์สงขลานครินทร์. 3:81.
สุเมธ รอดหิรัญ และธรรมศักดิ์ ทองเกต. 2557. การพัฒนาขุยมะพร้าวหมักเป็นวัสดุเพาะต้นกล้าแตงกวา. ว.แก่นเกษตร. 3: 835-839.
หัตถ์ชัย กสิโอฬาร. 2551. วิชาการจัดการสถานเพาะชำ. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, กรุงเทพมหานคร. 134น.
อรดี สหวัชรินทร์ .2534. เทคโนโลยีการผลิตบีโกเนียประเภทมีเหง้า.เทคโนโลยีการผลิตไม้ดอกไม้ประดับ. สมาคมไม้ประดับแห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ.193 น.
อาณัฐ ตันโช. 2552. คู่มือการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน (ไฮโดรโพนิกส์). พิมพ์ครั้งที่ 3 .เชียงใหม่.Trio Advertising & Media Co.,Ltd.
อิทธิสุนทร นันทกิจ. 2538. การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน (Hydroponics). ภาควิชาปฐพีวิทยา, คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กรุงเทพฯ. 146 หน้า.
Hongpakdee, P., and Ruamrungsri, S. 2015. Water use efficiency, nutrient leaching, and growth in potted marigolds affected by coconut coir dust amended in substrate media. Horticulture, Environment and Biotechnology. 56: 27-35.
Spomer, L.A. 1979. Three simple demonstrations of the physical effects of soil amendment. HortScience.14:75-77.
Yahya, A., Shaharom, A. S., Mohamad, R. B., and Selamat, A. 2009. Chemical and physical characteristics of cocopeat-based media mixtures and their effects on the growth and development of Celosia cristata. American Journal of Agricultural and Biological Sciences. 4(1): 63-71.