การตัดสินใจปลูกยางพาราของเกษตรกรในตำบลคลองไทร อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

จุฑามาศ คมประมูล
พัชราวดี ศรีบุญเรือง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคลและเศรษฐกิจ 2) การเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับยางพารา 3) การตัดสินใจปลูกยางพาราของเกษตรกร และ 4) ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจปลูกยางพาราของเกษตรกร
ใน ต. คลองไทร อ. ท่าฉาง จ. สุราษฎร์ธานี กลุ่มตัวอย่างคือ เกษตรกรผู้ปลูกยางพารา จำนวน 322 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 53.89 ปี ระดับการศึกษาชั้นประถมศึกษา จำนวนสมาชิกในครัวเรือน 4-6 คน ประสบการณ์ปลูกยางพาราเฉลี่ย 20.66 ปี ส่วนมากไม่เป็นสมาชิกกลุ่ม รายได้จากการปลูกยางพาราเฉลี่ย 167,437.89 บาท/ปี รายจ่ายจากการปลูกยางพาราเฉลี่ย 12,326.09 บาท/ปี โดยส่วนมากใช้แหล่งเงินทุนจากทุนส่วนตัว อาชีพหลักคือ ทำสวนยางพารา จำนวนแรงงานทำสวนยางพารา 2 คน ส่วนมากกรีดยางพาราด้วยตนเอง พื้นที่ปลูกยางพาราเฉลี่ย 19.00 ไร่ พื้นที่กรีดยางพาราเฉลี่ย 18.02 ไร่ ได้รับข่าวสารเกี่ยวกับยางพาราผ่านทางสื่อบุคคลจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ (ร้อยละ 33.5) สื่อมวลชนจากโทรทัศน์ (ร้อยละ 89.1) สื่อกิจกรรมจากการจัดประชุม (ร้อยละ 57.5) และสื่อออนไลน์จาก website (ร้อยละ 40.1) การตัดสินใจปลูกยางพาราโดยรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า รายได้
การเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับยางพาราจากสื่อมวลชน สื่อกิจกรรม และสื่อออนไลน์ มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจปลูกยางพาราของเกษตรกรที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และ 0.01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการเกษตร. 2561. ข้อมูลยางพารา. http://agkb.lib.ku.ac.th/ (5 กุมภาพันธ์ 2561).
เกรียงศักดิ์ รองเดช. 2551. สิ่งจูงใจต่อการตัดสินใจปลูกยางพาราของเกษตรกร อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย. การค้นคว้าแบบอิสระ,
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
บุหลัน กุลวิจิตร. 2560. สื่อบุคคลกับการส่งเสริมการเกษตร 4.0. วารสารอิเล็กทรอนิกส์เวอร์ริเดียน มหาวิทยาลัยศิลปากร 10(3): 2440-2454.
ปรารถนา พรมพิทักษ์. 2559. ข้อมูลยางพารา. https://www.pptvhd36.com/news/ (5 กุมภาพันธ์ 2561).
พัฒน์พงศ์ ดีปานา. 2557. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจปลูกยางพาราของเกษตรกร อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เพ็ญประภา ราหุล. 2556. ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจปลูกยางพาราของเกษตรกรในอำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ภานุมาศ พุฒแก้ว. 2554. การวิเคราะห์การบริหารการผลิตแปรรูปน้ำยาง. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล 1(1): 3-6.
วันทนีย์ เกษมพิณ, พัชราวดี ศรีบุญเรือง และสาวิตรี รังสิภัทร์. 2559. ความคิดเห็นของเกษตรกรที่มีต่ออนาคตการปลูกยางพาราในตำบลหนองบัว อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สถาบันวิจัยยาง. 2561. ข้อมูลทั่วไป. https://www.thairath.co.th/ (5 มกราคม 2561).
สมาคมยางพาราไทย. 2561. ราคายางพารา. http://www.thainr.com/th/?detail=pr-local (20 มกราคม 2561).
สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2561. ข้อมูลยางพารา. http: //newweb.oae.go.th/view/1/ (5 มกราคม 2561).
สำนักงานเกษตรอำเภอท่าฉาง. 2560. ข้อมูลพื้นฐานการเกษตร. กรมส่งเสริมการเกษตร. http://thachang.suratthani.doae.go.th/
(10 มกราคม 2561).
สุธีรา อาคม, พัชราวดี ศรีบุญเรือง และพิชัย ทองดีเลิศ. 2558. ความคิดเห็นของเกษตรกรที่มีต่ออนาคตการปลูกลางสาดในอำเภอลับแล
จังหวัดอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุรินทร์ นิยมางกูร. 2556ก. สถิติวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุรินทร์ นิยมางกูร. 2556ข. การสุ่มตัวอย่าง (สถิติ). พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.