ตลาดโคเนื้อของประเทศมาเลเซีย

Main Article Content

เถลิงศักดิ์ อังกุรเศรณี
ธำรงค์ เมฆโหรา
ธานี ภาคอุทัย

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ตลาดโคเนื้อของประเทศมาเลเซีย โดยวิธีการสำรวจภาคสนาม (field survey) ณ ประเทศมาเลเซีย ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling) ร่วมกับการสุ่มตัวอย่างแบบ
สโนว์บอลหรือแบบลูกโซ่ (snowball or chain sampling) จำนวนกลุ่มตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการนำเข้าและส่งออกโคเนื้อมีชีวิตระหว่างประเทศไทยและมาเลเซียจำนวน 30 ราย ใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ (informal interview)
การสัมภาษณ์แบบทางการ (formal interview) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) ร่วมกับการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (non-participant observation) และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม (participant observation) พบว่า ประเทศมาเลเซียนำเข้าโค
มีชีวิตเพื่อการบริโภคภายในประเทศ 2 วัตถุประสงค์ คือ 1) พิธีกรรมทางศาสนา (อีดิ้ลอัฎฮา; โคกุรบาน) และ 2) การบริโภคภายในประเทศ เส้นทางหลักสำหรับการนำเข้าโคมีชีวิตจากประเทศออสเตรเลีย อินโดนีเซีย สหภาพเมียนมา และประเทศไทย ในปัจจุบันมีอยู่ 3 เส้นทางหลัก ได้แก่ 1) นำเข้าและส่งออกทางชายแดนระหว่างประเทศไทยกับรัฐเคดา (Kedah) 2) นำเข้าจากสหภาพเมียนมาโดยการขนส่งทางเรือไปยังรัฐปีนัง (Penang) และ 3) นำเข้าจากประเทศออสเตรเลียจากเมือง Darwin และเมือง Broom และประเทศอินโดนีเซียโดยการขนส่งทางเรือไปยังรัฐยะโฮร์บาห์รู (Johor Bahru) แต่ในช่วงทำการสำรวจ (พ.ศ. 2557-2558) เป็นช่วงที่สาธารณรัฐประชาชนจีนมีความต้องการโคเนื้อจำนวนมาก ประเทศมาเลเซียจึงมีการส่งออกโคเนื้อที่นำเข้ามาจากประเทศออสเตรเลียไปสาธารณรัฐประชาชนจีนและประเทศเวียดนามโดยผ่านประเทศไทย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมปศุสัตว์. 2559. ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของเกษตรกร โคเนื้อ ปริมาณนำเข้า และราคา ปี พ.ศ. 2549-2558. ใน รายงานการพิจารณาศึกษายุทธศาสตร์การส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมโคเนื้อทั้งระบบ. คณะกรรมาธิการเกษตรและสหกรณ์ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ.
คณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาผลผลิตทางการเกษตร. 2560. ใน รายงานการพิจารณาศึกษายุทธศาสตร์การส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรม
โคเนื้อทั้งระบบ. คณะกรรมาธิการเกษตรและสหกรณ์ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ.
ไชยวรรณ วัฒนจันทร์, เถลิงศักดิ์ อังกุรเศรณี, บัญชา สัจจาพันธ์ และสุชาติ สุขสถิตย์. 2556. แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการโคเนื้อ
ภาคใต้ตอนล่าง. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
เถลิงศักดิ์ อังกุรเศรณี, ธำรงค์ เมฆโหรา และธานี ภาคอุทัย. 2559. สถานการณ์การผลิตโคพื้นเมืองและตลาดในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง.
วารสารแก่นเกษตร 44 (2) (ฉบับพิเศษ): 919-925.
เถลิงศักดิ์ อังกุรเศรณี, บัญชา สมบูรณ์สุข, ศศิวิมล สุขบท และสุเทพ นิ่มสาย. 2560. ห่วงโซ่อุปทานและระบบโลจิสติกส์ของการค้าโคเนื้อระหว่างสหภาพเมียนมากับประเทศไทยเพื่อส่งออกไปสาธารณรัฐประชาชนจีน มณฑลยูนนาน. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 48 (2)
(ฉบับพิเศษ): 850-858.
Ariff, O. M., Sharifa, N. Y., and Hafidz, A. W. 2015. Status of beef industry of Malaysia. Journal of Animal Science 18 (2): 1-21.
Department of International Trade Promotion. 2016. Thai exported beef cattle in ASEAN during 2011-2015. http//www.thaifranchisecenter.com/links/show.php?id335. (3 March 2016).
Food and Agriculture Organization of the United Nations (FAO). 2015. Global livestock production and health atlas. http://kids.fao.org/glipha/. (10 September 2016).
Biernackai, P., and Walnorf, D. 1981. Snowball sampling problem and techniques of chain referral sampling.
Sociological Method and Research 10(2): 141-163.
Boyce, C., and Naele, P. 2006. Conducting in depth interviews: a guide for designing and conducting in-depth interviews for evaluation input. Pathfinder international tool series, monitoring and evaluation. Watertown, MA: Pathfinder.
Halal Industry Development Corporation (HDC). 2016. Halal Industry Development Corporation logo vector.
https://seeklogo.com/ vectorlogo /194341/halal-industry-development-corporation-hdc (10 September 2016).
Tey, Y. S., Mad Nasir, S., Alias, R., Zainalabidin, M., and Amin, M. A. 2008. Demand for beef in Malaysia: preference quantity. International Food Research Journal 15(3): 347-353.
Trading economics. 2016. Forecasts. https://tradingeconomics.com. (10 September 2016).
World map. 2016. Malaysia peninsula map. http://www.endemicguides.com/ images/Map/Malaysia_ map/Malaysia/ Peninsula_map.jpg. (10 September 2016).