การบริหารจัดการทรัพยากรแหล่งน้ำขนาดเล็กเพื่อทำการเกษตรตลอดปี ของชุมชนโคกล่ามแสงอร่าม อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

นิตยา พากุล
กัญลยา มิขะมา
ยศ บริสุทธิ์

บทคัดย่อ

ทรัพยากรน้ำ เป็นปัจจัยสำคัญในการเกษตรหากมีน้ำเพียงพอก็ทำการเกษตรได้ตลอดปี เช่นเดียวกับเกษตรกรชุมชนโคกล่ามแสงอร่ามร่วมกันพัฒนาอ่างเก็บน้ำห้วยคล้ายจนมีน้ำใช้ในการเกษตรได้ตลอดปี จากความสำเร็จดังกล่าวจึงมีความคิดริเริ่มศึกษาการบริหารจัดการทรัพยากรแหล่งน้ำของชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์ของการศึกษา คือ 1) เพื่อศึกษาผลที่เกษตรกรได้รับหลังการส่งเสริมและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของแหล่งน้ำ 2) เพื่อศึกษาผลที่เกษตรกรได้รับหลังจากการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเกษตร 3) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการน้ำและการจัดสรรน้ำของกลุ่มผู้ใช้น้ำ และ 4) เพื่อศึกษาการบำรุงรักษาระบบการส่งน้ำ รวบรวมข้อมูลปฐมภูมิจากการสัมภาษณ์กลุ่มและครัวเรือนเกษตรกร และรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสาร โดยการศึกษาในเดือนเมษายน-มิถุนายน 2560 พบว่า 1) ชุมชนมีเทคนิคในการบริหารจัดการ โดยการ (1) จัดเขตย่อยของพื้นที่รับน้ำให้กับสมาชิกกลุ่ม และส่งมอบน้ำทีละเขตย่อย (2) ส่งเสริมการผลิตทางการเกษตรแก่สมาชิกให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำของแต่ละปี (3) จัดปฏิทินการส่งน้ำให้ชัดเจนเพื่อให้สมาชิกทราบและใช้วางแผนการใช้น้ำเพื่อการเกษตรในระดับฟาร์มของตนเอง และ (4) จัดการส่งมอบน้ำแต่ละครั้งที่ทำการส่งให้กับสมาชิกกลุ่มแต่ละราย 2) การจัดการบำรุงรักษาระบบการส่งน้ำ พบว่า ชุมชนมีเทคนิคในการบริหารจัดการ โดยการ (1) จัดเก็บค่าบริการน้ำตามขนาดพื้นที่รับน้ำของสมาชิกกลุ่ม
(2) จัดการระบบการจ่ายค่าตอบแทนสำหรับผู้ดูแลการส่งน้ำ และ (3) จัดการบำรุงรักษาระบบการส่งน้ำให้สมบูรณ์ตลอดเวลา ดังนั้นชุมชนอื่นที่มีแหล่งน้ำและที่ต้องการนำน้ำมาใช้ประโยชน์ สามารถนำผลจากการวิจัยนี้ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของแหล่งน้ำและการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในชุมชนของตนเอง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ทิพพาพร แก้ววิริยาวงศ์, กิตติชัย รัตนะ และวิชา นิยม. 2555. บทบาทของกลุ่มผู้ใช้น้ำในการจัดการน้ำชลประทาน กรณีศึกษาโครงการชลจอมทอง นครหลวงเวียงจันท์ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วารสารวนศาสตร์ 31(3): 85-91.
นิรมล สุธรรมกุล. 2556. เศรษฐศาสตร์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
นิรมล กุลศรีสมบัติ และพรสวรรค์ วิเชียรประดิษฐ์. 2556. กลไกการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการชุมชน ประเทศญี่ปุ่น.
ใน เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติ หัวข้อ การพัฒนาคนชุมชน องค์การและสังคม พัฒนบริหารศาสตร์กับทางเลือกใหม่ ด้านการพัฒนาในอนาคต. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ยศ บริสุทธิ์. 2558. การศึกษาชุมชน: แนวคิดฐานการวิจัยและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระสืบสานแนวพระราชดำริ. 2556. ที่นี่บ้านโคกล่าม-แสงอร่าม. พิมพ์ครั้งที่ 2.
สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระสืบสานแนวพระราชดำริ.
สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระสืบสานแนวพระราชดำริ. 2559. รายงานประจำปี สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรม
ปิดทองหลังพระสืบสานแนวพระราชดำริ. สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระสืบสานแนวพระราชดำริ.
สำนักงานพัฒนาชุมชน. 2560. รายงานการสำรวจข้อมูลพื้นฐานครัวเรือนของอำเภอหนองวัวซอ. กรมพัฒนาชุมชน.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2558. สารสนเทศเศรษฐกิจการเกษตรรายสินค้า. กรุงเทพฯ: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร.
Jules, N. P. 1995. Participatory learning for sustainable agriculture. World Development 23: 1247-1263.
Shortt, R., Caldwell, W. J., Ball, J., and Agnew, P. 2006. A Participatory approach to water management: Irrigation advisory committees in southern Ontario. Canadian Water Resources Journal 31(1): 13-24.