ผลของระดับโปรตีนในอาหารต่อสมรรถภาพการผลิต คุณภาพซาก และคุณภาพเนื้อ ของสุกรพื้นเมืองไทย

Main Article Content

เนตรอนงค์ ผลเกตุ
จันทร์พร เจ้าทรัพย์
พรรณิภา ศิวะพิรุฬห์เทพ
กมล ฉวีวรรณ
วิไลวรรณ แทนธานี
รณชัย สิทธิไกรพงษ์

บทคัดย่อ

    การทำวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของระดับโปรตีนที่แตกต่างกันในอาหารที่มีผลต่อสมรรถภาพการผลิต คุณภาพซาก และคุณภาพเนื้อสุกรพื้นเมืองไทย การทดลองนี้ใช้สุกรพื้นเมืองไทยจากจังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 24 ตัว เพศผู้ตอนและเพศเมียอย่างละเท่า ๆ กัน น้ำหนักเริ่มทดลองเฉลี่ย 21.60±5.21 กิโลกรัม แบ่งสุกรออกเป็น 4 กลุ่ม สุกรแต่ละกลุ่มได้รับอาหารที่มีระดับโปรตีนแตกต่างกัน คือ 12, 14, 16 และ 18 เปอร์เซ็นต์ สุกรแต่ละตัวถูกเลี้ยงในกรงขังเดี่ยว ระหว่างการเลี้ยงให้อาหารแบบเต็มที่ มีน้ำให้กินตลอดเวลา บันทึกสมรรถภาพการผลิตทุก ๆ 3 สัปดาห์จนสุกรมีน้ำหนักได้ประมาณ 60 กิโลกรัม หลังจากนั้นนำสุกรทุกตัวเข้าฆ่าและชำแหละซาก ทำการเก็บข้อมูลคุณภาพซาก เก็บตัวอย่างกล้ามเนื้อสันนอก (Longissimus dorsi) เพื่อนำมาศึกษาคุณภาพเนื้อ ผลการศึกษาพบว่าสุกรที่ได้รับอาหารที่มีระดับโปรตีนแตกต่างกันมีสมรรถภาพการผลิตแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) และพบว่าสุกรที่ได้รับอาหารที่มีระดับโปรตีนแตกต่างกันมีคุณภาพซากและคุณภาพเนื้อไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) ยกเว้นเปอร์เซ็นต์กระดูก โดยสุกรที่ได้รับอาหารที่มีโปรตีน 12 เปอร์เซ็นต์ มีเปอร์เซ็นต์กระดูกต่ำที่สุด (P<0.05) นอกจากนี้ยังพบว่าสุกรพื้นเมืองที่ได้รับอาหารที่มีระดับโปรตีนสูงขึ้นมีแนวโน้มความหนาไขมันสันหลังลดลง (P=0.07) ดังนั้นสามารถใช้อาหารที่มีระดับโปรตีนในอาหาร 12 เปอร์เซ็นต์ เลี้ยงสุกรพื้นเมืองได้ ทำให้มีต้นทุนค่าอาหารในการเพิ่มน้ำหนักตัวถูกกว่าอาหารที่มีระดับโปรตีนในอาหารสูง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรวรรณ ศรีงาม, ศุภมิตร เมฆฉาย, ประภาส มหินชัย และวรรณพร ทะพิงค์แก. 2560. โครงการย่อยที่ 2: การคัดเลือก ปรับปรุงสุกรสายพันธุ์แท้ (สายพันธุ์พื้นเมือง) เพื่อให้เหมาะสมกับการเลี้ยงบนพื้นที่สูง. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ไชยา อุ้ยสูงเนิน. 2544. คู่มือสุกร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เทพพิทักษ์การพิมพ์.

ทศพล มูลมณี, สุชน ตั้งทวีวิพัฒน์, กัญญารัตน์ พวกเจริญ และปุณณะวุทฒ์ ยะมา. 2560. โครงการย่อยที่ 1: การคัดเลือก ปรับปรุงพันธุ์สุกรลูกผสมและการทดสอบสูตรอาหารที่เหมาะสม. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ประภาส มหินชัย, สุรศักดิ์ โสภณจิตร และสายพิณ เจริญสนองกุล. 2548. มูลนิธิโครงการหลวง: การคัดเลือกและการปรับปรุงพันธุ์สุกรพื้นเมือง

ในภาคเหนือของประเทศไทย. เชียงใหม่: ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์เชียงใหม่.

อนันต์ ศรีปราโมช. 2545. การเลี้ยงสุกร. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โครงการหนังสือเกษตรชุมชน.

Alonso, V., Campo, M. M., Provincial, L., Roncalés, P., and Beltrán, J. A. 2010. Effect of protein level in commercial diets on

pork meat quality. Meat Science 85: 7-14.

Aquilani, C., Sirtori, F., Franci, O., Acciaioli, A., and Bozzi, R. 2019. Effects of protein restriction on performances and meat quality of Cinta Senese pig reared in an organic system. Animals 310(9): 1-11.

Boccard, R., Buchter, L., Casteels, M., Cosentino, E., Dransfield, E., and Hood, D. E. 1981. Procedures for measuring meat quality characteristics in beef production experiments. Livestock Production Science 8: 385-397.

Cromwell, G. L., Hays, V. W., Caney C. H., and Overfield, J. R. 1970. Effects of dietary phosphorus and calcium level on performance, bone mineralization and carcass characteristics of swine. Journal of Animal Science 30(4): 519-525.

FAO. 2009. Farmer's handbook on pig production (for the small holders at village level). Rome, Italy: Food and Agriculture Organization of the United Nations.

Keonouchanh, S., Egerszegi, I., Ratky, J., Bounthong, B., Manabe, N., and Brüssow, K. P. 2011. Native pig (Moo Lat) breeds

in Lao PDR. Archives Animal Breeding 54: 600-606.

Le Bellego, L., Milgen, J. V., and Noblet, J. 2002. Effect of high temperature and low-protein diets on the performance of growing-finishing pigs. Journal of Animal Science 80: 691-701.

Liu, Y., Kong, X., Jiang, G., Tan, B., Deng, J., Yang, X., Li, F., Xiong, X., and Yin, Y. 2015. Effects of dietary protein/energy ratio

on growth performance, carcass trait, meat quality, and plasma metabolites in pigs of different genotypes.

Journal of Animal Science and Biotechnology 6: 36-45.

Nimmo, R. D., Peo, E. R, Moser, B. D., and Lewis, A. J. 1981. Effect of level of dietary calcium-phosphorus during growth and gestation on performance, blood and bone parameters of swine. Journal of Animal Science 52: 1330-1342.

Phengsavanh, P., Ogle, B., Stür, W., Frankow-Lindberg, B. E., and Lindberg, J. E. 2010. Feeding and performance of pigs in smallholder production systems in Northern Lao PDR. Tropical Animal Health and Production 42(8): 1627-1633.

Pires, V. M. R., Madeira, M. S., Dowle, A. A., Thomas, J., Almeidaa, A. M., and Pratesa, J. A. M. 2016. Increased intramuscular fat induced by reduced dietary protein in finishing pigs: effects on the longissimus lumborum muscle proteome.

Molecular Bio Systems 17: 43-54.

Souphannavong, C. 2016. Influence of pig breeds on growth performance and immunity during pre-weaning period.

International Journal of Environmental and Rural Development 7(1): 22-28.

Teye, G. A., Sheard, P. R., Whittington, F. M., Nute, G. R., Stewart, A., and Wood, J. D. 2006. Influence of dietary oils and protein level on pork quality. Effects on muscle fatty acid composition, carcass, meat and eating quality. Meat Science 73: 157-165.

Vasupen, K., Yuangklang, C., Wongsuthavas, S., Panyakaew, P., Mitchaothai, J., and Beynen, A. C. 2008. Growth performance, carcass and meat characteristics of female and male Kadon pigs. Journal of Biological Sciences 8: 671-674.

Vasupen, K., Yuangklang, C., Wongsuttravas, S., Mitchaothai, J., Everts, H., and Beynen, A. C. 2014. Effect of increasing dietary protein level on feed intake, growth performance and nitrogen utilization in Kadon pigs. Journal of Animal Science and Biotechnology 95: 50-60.