การทำสวนยางพาราภายใต้สถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
Main Article Content
บทคัดย่อ
ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพเศรษฐสังคมประชากร การผลิต และการขายยางพาราของเกษตรกรชาวสวนยางภายใต้สถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 2) เปรียบเทียบรายได้และต้นทุนของระบบการผลิตยางพาราที่สำคัญใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวบรวมข้อมูลปฐมภูมิด้วยการสัมภาษณ์แบบเป็นทางการ การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมกับเกษตรกรชาวสวนยางจำนวน 313 ราย ซึ่งใช้การเลือกแบบเจาะจง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เนื้อหาที่ปรากฏ ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรชาวสวนยางมีอายุค่อนข้างมาก และมีประสบการณ์การประกอบอาชีพทางการเกษตรสูง วัตถุประสงค์หลักในการทำสวนยางพารา คือ เพื่อเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้แก่ครัวเรือน ยางพาราที่ปลูกเป็นพันธุ์ RRIM 600 และ RRIT 251 รูปแบบผลผลิตยางพาราส่วนใหญ่เป็นยางก้อนถ้วย ซึ่งขายให้แก่พ่อค้าท้องถิ่น ระบบการผลิตยางพาราที่สำคัญมี 5 ระบบ ได้แก่ 1) ระบบการผลิตยางพาราเชิงเดี่ยว 2) ระบบการผลิตยางพาราและสัตว์เศรษฐกิจ 3) ระบบการผลิตยางพาราและข้าว 4) ระบบการผลิตยางพาราและไม้ผล และ 5) ระบบการผลิตยางพาราและปาล์มน้ำมัน ทั้งนี้ระบบการผลิตยางพาราและสัตว์เศรษฐกิจ ระบบการผลิตยางพาราและไม้ผล ระบบการผลิตยางพาราและปาล์มน้ำมันเป็นระบบการผลิตที่น่าสนใจ เนื่องจากให้รายได้สูง 338,650, 243,298 และ 193,920 บาทต่อปี ตามลำดับ และมีต้นทุน 169,890, 41,790 และ 7,011 บาทต่อปี ตามลำดับ ผลการวิจัยที่ได้จะเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อผู้กำหนดนโยบายของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องสำหรับกำหนดนโยบายพัฒนาการผลิตยางพาราที่เหมาะสมต่อไป
Article Details
วารสารเกษตรพระจอมเกล้า
References
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2559. แผนพัฒนาการเกษตรในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564).
กรุงเทพฯ: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
กิตติวรรณ มะโนภักดิ์ และอยุทธ์ นิสสภา. 2561. รูปแบบการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมต่อเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา ไม้ผลและไม้ยืนต้น
และพืชผักและพืชไร่ภายใต้สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ในตำบลสุไหงปาดี อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส.
วารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์ 5(1): 76-83.
จำนงค์ จุลเอียด, พรชุลีย์ นิลวิเศษ, บำเพ็ญ เขียวหวาน และสมจิต โยธะคง. 2557. การส่งเสริมเพื่อการพึ่งพาตนเองของเกษตรกรชาวสวนยาง
ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 6(2): 146-155.
จำนงค์ จุลเอียด, พรชุลีย์ นิลวิเศษ, บำเพ็ญ เขียวหวาน และสมจิต โยธะคง. 2558. รูปแบบการส่งเสริมเพื่อการพึ่งพาตนเองของเกษตรกร
ชาวสวนยางในจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 7(1): 135-145.
ฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ. 2553. หลักการวิจัยทางสังคม. กรุงเทพฯ: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.
ชูตา แก้วละเอียด. 2551. ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของชาวสวนยางกับเหตุการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้.
วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 3(1): 68-76.
โซร์ฟีนา เด่นสุมิตร. 2556. ผลกระทบจากสถานการณ์ความรุนแรงที่มีต่อการผลิตยางแผ่นดิบ: กรณีศึกษาของจังหวัดยะลา ประเทศไทย.
วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 19(4): 39-70.
โซเฟีย แวหะมะ. 2561. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรชาวสวนยางพาราในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 5(2): 96-110.
ณรงค์ฤทธิ์ อดุลย์ฐานานุศักดิ์ และนราพร สังสะนา. 2562. 5 ความจริงยางพาราไทย: อดีตที่หายไป ความท้าทายใหม่ที่เข้ามา. https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/DocLib_/Article_23Dec2019.pdf (1 สิงหาคม 2563).
เดอะสแตนดาร์ด. 2562. เปิดสถิติ 15 ปี สถานการณ์รุนแรงภาคใต้ที่ยังไม่คลี่คลาย. https://thestandard.co/15-years-of-the-southern-violence/ (27 กรกฎาคม 2563).
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. 2555. การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ: เอส. อาร์. พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.
นัดดา รัศมีแพทย์ และสุพัตรา ศรีสุวรรณ. 2560. การปลูกพืชเสริมรายได้ในสวนยางพาราของเกษตรกรอำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี.
วารสารเกษตรพระจอมเกล้า 35(1): 117-124.
นิธิตา สิริพงศ์ทักษิณ. 2562. ผลกระทบจากนโยบายยางพาราของรัฐบาลต่อการปลูกยางพาราในไทย. วารสารวิจัยและพัฒนา
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 11(2): 129-140.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. 2549. เทคนิคการสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักท์.
ปาณิษา สายฟอง, สุพัตรา ศรีสุวรรณ และสุรินทร์ นิยมางกูร. 2560. ความคิดเห็นที่มีต่อการประกอบอาชีพการทำสวนยางพาราของเกษตรกร
ในตำบลเกาะขันธ์ อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า 35(2): 1-9.
วิไลวัลย์ แก้วตาทิพย์. 2560. ความเดือดร้อนของเกษตรกรชาวสวนยางพาราในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. แก่นเกษตร 45(4): 693-702.
ศิริพร จิรวัฒน์กุล. 2555. การวิจัยเชิงคุณภาพทางการพยาบาล: ระเบียบวิธีวิจัยและกรณีศึกษา. กรุงเทพฯ: ส. เอเชียเพรส (1989).
ศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 5, กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร. 2563. ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้
พ.ศ. 2563-2565. https:// www.isoc5.net/files/strategy_plan/(สมบูรณ์)ยุทธศาสตร์พัฒนา%20ศอ.บต.ปี%2063.pdf
(27 พฤษภาคม 2563).
ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้. 2563. สรุปเหตุการณ์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประจำเดือนมิถุนายน 2563. https://deepsouthwatch.org /sites/default/files/blogs/attachment/datasheet-062020-th.pdf (27 กรกฎาคม 2563).
สมบูรณ์ เจริญจิระตระกูล, พลากร สัตย์ซื่อ และอริศรา ร่มเย็น. 2558. ความรู้ภาคปฏิบัติและบทเรียนกับการขับเคลื่อนเชิงนโยบายเพื่อเพิ่มพื้นที่
การปลูกพืชร่วมยาง. วารสารพัฒนาสังคม 17(2): 35-50.
สุกฤษตา พุ่มแก้ว, มานพ ทองไทย, สันติ อารักษ์คุณากร และพยอม ตอบประโคน. 2560. การวิเคราะห์ต้นทุนและผลประกอบการของเกษตรกรชาวสวนยาง กรณีศึกษาตำบลปากล่อ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 12(1): 107-116.
สุชัญญา เหนือเมฆ. 2560. การปรับตัวในการประกอบอาชีพของสมาชิกครัวเรือนเกษตรในชุมชนบ้านท่าพรุ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส.
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาพัฒนาการเกษตร คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2563. สารสนเทศเศรษฐกิจการเกษตรรายสินค้าปี 2562. http://www.oae.go.th/assets/portals/1/files/ebook/ 2563/commodity2562.pdf (25 กรกฎาคม 2563).
สำนักบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน. 2559. แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน 4 ปี (พ.ศ. 2561-2564) ฉบับปรับปรุง. https://www.osmsouth-border.go.th/news_develop (27 กรกฎาคม 2563).
อรอนงค์ ลองพิชัย และไชยยะ คงมณี. 2562. การรับรู้ความเสี่ยงของเกษตรกรสวนยางในภาคใต้ของประเทศไทย. วารสารปาริชาต
มหาวิทยาลัยทักษิณ 32(2): 134-146.
อารี วิบูลย์พงศ์, ปริญญา แก้วประดับ, ปรัตถ พรหมมี, อรอนงค์ ลองพิชัย, พิชญา บุญศรีรัตน์, ไชยยะ คงมณี, กันยา อัครอารีย์ และคณะ. 2560 โครงการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดนระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579).
https://www.osmsouth-border.go.th/files/com_news_strategy/2017-11_fd8549c27b07992.pdf (1 สิงหาคม 2563).
Romyen, A., Satsue, P., and Charernjiratragul, S. 2018. Investigation of rubber-based intercropping system in Southern Thailand. Kasetsart Journal of Social Sciences 39(1): 135-142.
Somboonsuke, B., and Wettayaprasit, P. 2013. Agricultural system of natural para rubber smallholding sector in Thailand: system, technology, organization, economy, and policy implication. Bangkok: Extension and Training Office (ETO),
Kasetsart University.