การศึกษาผลของฤดูกาลเก็บเกี่ยวและขนาดผลที่มีต่อคุณภาพผล ของมะนาวพันธุ์ ‘แป้นบ้านแพ้ว’
Main Article Content
บทคัดย่อ
มะนาวที่มีจำหน่ายอยู่ในท้องตลาดและเป็นที่นิยมของผู้บริโภค คือ พันธุ์ ‘แป้นบ้านแพ้ว’ แต่ยังไม่มีข้อมูลลักษณะคุณภาพของมะนาวพันธุ์แป้นบ้านแพ้วเปรียบเทียบกันในสองฤดูกาลเก็บเกี่ยว คือ ฤดูแล้ง (มกราคม 2561) และฤดูฝน (สิงหาคม 2561) จึงได้ประเมินลักษณะคุณภาพของมะนาวพันธุ์แป้นบ้านแพ้วจากตลาดไท จำนวน 3 ขนาด คือ เบอร์ 4, 5และ 6 พบว่า มะนาวที่เก็บเกี่ยวในฤดูฝนมีความยาวผล เส้นผ่านศูนย์กลางผล น้ำหนักผล น้ำหนักน้ำคั้น ความหนาเปลือก จำนวนเมล็ด และอัตราส่วนระหว่างปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ (TSS) ต่อปริมาณกรดที่ไทเทรตได้ (TA) น้อยกว่ามะนาวที่เก็บเกี่ยวในฤดูแล้ง ส่วนปริมาณน้ำคั้น ปริมาณวิตามินซี และ TA ของมะนาวที่เก็บเกี่ยวในฤดูฝนมีค่ามากกว่าฤดูแล้งสำหรับปัจจัยด้านขนาดผล พบว่า ความยาวผล เส้นผ่านศูนย์กลางผล น้ำหนักผล และน้ำหนักน้ำคั้น ของมะนาวเบอร์ 4มีค่าสูงที่สุด รองลงมาคือ เบอร์ 5 และ เบอร์ 6 แต่ปริมาณ TA และ TSS เพิ่มขึ้นเมื่อขนาดผลเล็กลง นอกจากนี้ยังพบว่าฤดูกาลและขนาดผลมีปฏิสัมพันธ์กันต่อจำนวนกลีบ จำนวนเมล็ด ปริมาณวิตามินซี TA TSS และอัตราส่วน TSS/TA
Article Details
วารสารเกษตรพระจอมเกล้า
References
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2560. ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร : มะนาว. กรุงเทพฯ:
สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ.
จริงแท้ ศิริพานิช. 2538. สรีรวิทยาและเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวผักและผลไม้. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
ศูนย์ส่งเสริมและฝึกอบรมการเกษตรแห่งชาติ.
รวี เสรฐภักดี. 2543. เทคนิคการผลิตมะนาวนอกฤดู. ใน เอกสารเผยแพร่ทางวิชาการ โครงการวิจัยและถ่ายทอดงานวิจัยสู่ประชาชนประจำปีงบประมาณ 2543 (งบแปรญัตติ 43). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วิภาวิน สุจริต, วิลาวัลย์ คําปวน และจํานงค์ อุทัยบุตร. 2557. ผลของฤดูกาลเก็บเกี่ยว และการเคลือบผิวด้วยไขผึ้งต่ออายุการวางจําหน่าย
ของผลมะนาวพันธุ์แป้น. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 45 (3/1 พิเศษ): 233-236.
Abobatta, W. F. 2019. Potential impacts of global climate change on citrus cultivation. MOJ Ecology and Environmental Sciences 4(6): 308-312.
Association of Official Analytical Chemists (AOAC). 2000. Official methods of analysis of Association of Official Analytical Chemists. 17th ed., Gaithersburg: Association of Official Analytical Chemists International.
Cooper, W. C., Peynado, A., Furr, J. R., Hilgeman, R. H., Cahoon, G. A., and Boswell, S. B. 1963. Tree growth and fruit quality of Valencia oranges in relation to climate. Proceedings of the American Society for Horticultural Science 82: 180-192.
Goldschmidt, E. E. 1997. Basic and practical aspects of citrus trees’ carbohydrate economy. In Citrus Flowering and Fruiting Short Course, S. H. Futch, and W. J. Kender, ed. pp. 63-72. Citrus Research and Education Center, Lake Alfred, IFAS, University of Florida.
Guardiola, J. L., and García-Luis, A. 2000. Increasing fruit size in Citrus. Thinning and stimulation of fruit growth. Plant Growth Regulation 31: 121-132.
Hanson, P., Yang, R. Y., Chang, L. C., Ledesma, L., and Ledesma, D. 2011. Carotenoids, ascorbic acid, minerals, and total glucosinolates in choysum (Brassica rapa cvg. parachinensis) and kailaan (B. oleraceae Alboglabra group) as affected by variety and wet and dry season production. Journal of Food Composition and Analysis 24: 950-962.
Kumar, A., Avasthe, R. K., Pandey, B., Lepcha, B., and Rahman, H. 2011. Effect of fruit size and orchard location on fruit quality and seed traits of mandarin (Citrus reticulata) in Sikkim Himalayas. Indian Journal of Agricultural Sciences 81(9): 821-824.
Lawson, D. A., and Rands, S. A. 2019. The effects of rainfall on plant-pollinator interactions. Arthropod-Plant Interactions 13: 561-569.
Nauer, E. M., Goodale, J. H., Summers, L. L., and Reuther, W. 1975. Climate effects on grapefruit and lemons. California Agriculture 29(3): 8-10.
Parsons, L. R., and Wheaton, T. A. 2000. Irrigation management and Citrus tree response in a humid climate. HortScience 35(6): 1043-1045.
Ywassaki, L. A., and Canniatti-Brazaca, S. G. 2011. Ascorbic acid and pectin in different sizes and parts of citric fruits.
Ciéncia e Tecnologia de Alimentos 31(2): 319-326.
Zekri, M. 2011. Factors affecting citrus production and quality. Citrus Industry: 6-9.