การเข้าอาศัยของเชื้อราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาในรากต้นกล้าทุเรียนเสียบยอดพันธุ์หมอนทอง

Main Article Content

กนกพร บุญญะอติชาติ
วรพล บรรณจิต
ประสิทธิ์ ดีวัฒนวงศ์
รุจิรา ดีวัฒนวงศ์

บทคัดย่อ

       เชื้อราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซา (arbuscular mycorrhizal fungi, AMF) เป็นเชื้อราที่อาศัยในดินร่วมกับรากพืช
โดยต่างฝ่ายต่างได้รับผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตและเพิ่มความต้านทานต่อภาวะเครียดต่าง ๆ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเข้าอาศัยของเชื้อ AMF ในรากของต้นกล้าทุเรียนเสียบยอดพันธุ์หมอนทอง โดยวางแผน
การทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) ประกอบด้วย 7 กรรมวิธี ๆ ละ 5 ซ้ำ ได้แก่ การใส่เชื้อ Glomus mosseae, Glomus geosporum, Acaulospora mellea, Scutellospora pellucida, Claroideoglomus claroideum
และ Rhizophagus intravadices และไม่ใส่เชื้อ AMF (กรรมวิธีควบคุม) หลังจากทำการทดลองเป็นเวลา 3 เดือน พบว่า AMF ทั้ง 6 ชนิด สามารถเข้าอาศัยในรากต้นกล้าทุเรียนได้ และเชื้อ AMF ต่างชนิดกันมีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นกล้าทุเรียนแตกต่างกัน การใส่เชื้อ G. geosporum มีเปอร์เซ็นต์การเข้าอาศัยในรากต้นกล้าทุเรียนมากที่สุด 47.33 เปอร์เซ็นต์ มีจำนวนสปอร์ 53.60 สปอร์ต่อดิน 100 กรัม ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และมีแนวโน้มเพิ่มอัตราการเจริญเติบโต โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้นระดับคอดินที่เพิ่มขึ้น ความสูงที่เพิ่มขึ้น มวลชีวภาพแห้งของลำต้นระดับเหนือดิน และมวลชีวภาพแห้งของรากเท่ากับ 2.05 มิลลิเมตร 7.12 เซนติเมตร 31.78 เปอร์เซ็นต์ และ 30.72 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณัฐชุดา เดชพ่วง และกนกพร ชัยประสิทธิ์. 2561. ความสัมพันธ์ของปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกประเทศที่มีผลต่อการส่งออกทุเรียนไปสาธารณรัฐประชาชนจีน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 8(1): 330-340.

ธีรภัทร เลียวสิริพงศ์ และวิพรพรรณ์ เนื่องเม็ก. 2555. การใช้เชื้อราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาในการปรับปรุงดินและเพิ่มความต้านทานโรคราน้ำค้างในแตงกวา. ใน รายงานการประชุมวิชาการ “พะเยาวิจัย ครั้งที่ 1”. น. 80-86. มหาวิทยาลัยพะเยา.

นงลักษณ์ ปูระณะพงษ์ และจีราภรณ์ อินทสาร. 2556. การศึกษาผลของการใช้เชื้อราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาและพีจีพีอาร์ (PGPR) ต่อการดึงดูดธาตุอาหารการเจริญเติบโตและผลผลิตของลำไย. ใน รายงานโครงการวิจัย. น. 1-68. มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

นิศารัตน์ ทวีนุต, ศิริลักษณ์ แก้วสุรลิขิต, ประไพ ทองระอา, กานดา ฉัตรไชยศิริ, กัลยาณี สุวิทวัส และภาสันต์ ศารทูลทัต. 2559.

การใช้ราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาเพื่อเพิ่มการเจริญเติบโตของรากต้นกล้ากล้วยเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ. วารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์

(พิเศษ I): 49-52.

พักตร์เพ็ญ ภูมิพันธ์. 2556. บทบาทของราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาต่อพืช ดิน และสิ่งแวดล้อม. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2: 91-101.

ศรัณยา จิวรากรานนท์. 2545. การสำรวจเชื้อราวีเอไมคอร์ไรซาของทุเรียนและการศึกษาประสิทธิภาพของเชื้อราวีเอไมคอร์ไรซาในการส่งเสริม

การเจริญเติบโตของต้นกล้าทุเรียนในเรือนปลูกพืชทดลอง. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ.

ศิริพร วรกุลดำรงชัย. 2558. การเพิ่มประสิทธิภาพด้านการผลิตทุเรียนคุณภาพและการกระจายการผลิต. ใน รายงานโครงการวิจัย. น. 1-74.

กรมวิชาการเกษตร.

หนึ่ง เตียอำรุง, โสภณ วงศ์แก้ว และปรารภ พรหมมานพ. 2552. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการการประยุกต์ใช้เชื้อราไมคอร์ไรซากับการทำสวนส้ม. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

Abhinya, P., and Charoenpiwatpong, P. 1996. Effect of vesicular arbuscular mycorrhizae on growth and yield of marigold.

In Proceedings of the Third Asia-Pacific Conference on Agricultural Biotechnology. pp. 491-495. Bangkok.

Bennett, A. E., and Bever, J. D. 2007. Mycorrhizal species differentially alter plant growth and response to herbivory.

Ecology 88(1): 210-218.

Brundrett, M., Bougher, N., Dell, B., Grove, T., and Malajczuk, N. 1996. Working with mycorrhizas in forestry and agriculture. Australian Centre for International Agricultural Research, Canberra.

Malibari, A. A., Al-Fassi, F. A., and Ramadon, E. M. 1988. Incidence and infectivity of vesicular-arbuscular mycorrhizas in some Saudi soil. Plant-soil Interactions on the Tibetan Plateau 112: 105-111.

McGonigle, T. P., Miller, M. H., Evans, D. G., Fairchild, G. L., and Swan, J. A. 1990. A new method which gives an objective of colonization of root by vesicular-arbuscular mycorrhizal fungi. New Phytologist 115: 495-501.

Smith, S. E., and Read, D. J. 1997. Mycorrhizal Symbiosis. 2nd ed. London: Academic Press.

St. John, T. 2000. The instant expert guide to mycorrhiza, the connection for functional ecosystems. California: BioNet, LLC.

Tahat, M. M., Kamaruzaman, S., Radziah, O., Kadir, J., and Masdek, H. N. 2008. Response of (Lycopersicum esculentum Mill.) to different arbuscular mycorrhizal fungi species. Asian Journal of Plant Sciences 7(5): 479-484.

Van der Heijden, M. G. A., Boller, T., Wiemken, A., and Sanders, I. R. 1998. Different arbuscular mycorrhizal fungal species are potential determinants of plant community structure. Ecology 79(6): 2080-2091.