The การเปิดรับและความพึงพอใจต่อรูปแบบข่าวสารด้านการเกษตรผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ของนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน

Main Article Content

เสกสรร กลัดหงิม
ปรีดา สามงามยา
สุภาภรณ์ เลิศศิริ
สุพัตรา ศรีสุวรรณ

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล 2) ช่องทางในการเปิดรับข่าวสาร 3) ความพึงพอใจต่อรูปแบบข่าวสารด้านการเกษตรผ่านสื่อสังคมออนไลน์ 4) เปรียบเทียบความพึงพอใจต่อรูปแบบข่าวสารด้านการเกษตรผ่านสื่อสังคมออนไลน์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน จำนวน 394 คน ผลการวิจัยพบว่า นิสิตส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 21 ปี มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือน 9,873.60 บาท ช่องทางในการเปิดรับข่าวสารใช้อุปกรณ์ที่เป็น smartphone และมีบัญชี Facebook มากที่สุด การใช้งานส่วนใหญ่อยู่ในที่พักอาศัย แหล่งข่าวสารเป็นเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการทราบเหตุการณ์และเทคโนโลยีนวัตกรรมทางการเกษตร นิสิตมีความพึงพอใจในภาพรวมต่อรูปแบบข่าวสารด้านการเกษตรผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ประเภทอินโฟกราฟิกอยู่ในระดับปานกลาง ประเภทวิดีโอ และประเภทบทความมีความพึงพอใจอยู่ในระดับน้อย ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า นิสิตมีความพึงพอใจต่อรูปแบบข่าวสารประเภทบทความ จำแนกตามอายุและคณะแตกต่างกัน มีความพึงพอใจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01(ค่า P=0.002 และ 0.002 ตามลำดับ) จำแนกตามเพศแตกต่างกัน มีความพึงพอใจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (ค่า P=0.023) และรูปแบบข่าวสารประเภทอินโฟกราฟิก จำแนกตามอายุแตกต่างกัน มีความพึงพอใจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (ค่า P=0.019)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2562. การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สื่อสังคมออนไลน์. มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. โครงการแหล่งเรียนรู้ยุคดิจิทัล. https://sci.dru.ac.th/dlr/files3/Media%20Online.pdf. (12 มกราคม 2562).

คันธรส ชำนาญกิจ และจาริณี อิ้วชาวนา. 2558. เจตคติ ความพึงพอใจและการใช้ประโยชน์สื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษาและบุคลากร

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย 2: 43-53.

จุฑารัตน์ ศราวณะวงศ์, ขจร ฝ้ายเทศ, ดวงแก้ว เงินพูนทรัพย์ และวัลลภา จันทรดี. 2560. พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสารบรรณศาสตร์ มศว 10(2): 17-31.

ณัฐวิกา สุขภิรมย์เกษม. 2561. การรู้เท่าทันสื่อและการตอบสนองต่อสื่ออินโฟกราฟิกของกลุ่มเจนเนอเรชันวาย. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท,

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. http://gscm.nida.ac.th/uploads/files/1600058188.pdf. (18 มกราคม 2562).

พูลสุข นิลกิจศรานนท์. 2562. แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรมปี 2562-2564: ธุรกิจบริการระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่. https://www.krungsri.com/th/

research/industry/industry-outlook/Services/Mobile-Communication/IO/io-Mobile-Communication (15 มกราคม 2562).

ภัททิรา กลิ่นเลขา. 2560. ผลกระทบจากการใช้สื่อโซเชียลมีเดียของนักศึกษามหาวิทยาลัยหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 9 จังหวัดสงขลา. สงขลา.

สิริลักษณ์ อุบลรัศมี. 2560. การเปิดรับสื่อ การแบ่งปันข้อมูล และการรู้เท่าทันข้อมูลด้านสุขภาพในสื่อสังคมออนไลน์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2017/TU_2017_5907030265_8315_8796.pdf. (5 มกราคม 2562).

สุรินทร์ นิยมางกูร. 2556. ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์และสถิติที่ใช้. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บุ๊คส์ ทู ยู.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. 2561. ผลสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2561. http://www.nso.go.th/sites/

/Pages/News/2561/N26-10-61.aspx (15 มกราคม 2562).

สำนักบริหารการศึกษา. 2562. ระบบสารนิเทศนิสิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. https://regis.ku.ac.th/cpcmns/ rpt_std_ku3.php.

(15 มกราคม 2562).

เอกพล เธียรถาวร. 2561. พฤติกรรมการบริโภคข่าวผ่านสมาร์ตโฟนและแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในกรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. http://www.elfms.ssru.ac.th/ekapon_th/file.php/1/JRI3302/Documentation/Documentation_

JRI3302_Week_07.pdf. (18 มกราคม 2562).

อัจฉรา อมะรักษ์. 2560. การสร้างสื่ออินโฟกราฟิก. https://sites.google.com/a/rajsima.ac.th/techono4/2-2-kar-srang-sux-dicithal.

(18 มกราคม 2562).

อุษณีย์ ด่านกลาง. 2559. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ชมวิดีโอคอนเทนต์บนสื่อสังคมออนไลน์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

(2): 78-79.

Dlamini, K. 2017. The role of social media in education. London College of International Business Studies. https://lcibs.co.uk/education/the-role-of-social-media-in-education/. (18 January 2019).

Kemp, S. 2019. Digital 2019: THAILAND. DataReportal. https://datareportal.com/reports/digital-2019-thailand. (18 January 2019).

Mushtaq, A. J. 2018. The effects of social media on the undergraduate students’ academic performances. Library Philosophy and Practice (e-journal). https://cutt.ly/lYWfmgE. (18 January 2019).