ผลของเอคโตไมคอร์ไรซาจากเห็ดเผาะและเห็ดตับเต่า ต่อการเจริญของไม้ป่าและไม้โตเร็วบางชนิดในสภาพแปลงธรรมชาติ

Main Article Content

ธนภักษ์ อินยอด
ธนากร ลัทธิ์ถีระสุวรรณ
ธนภัทร เติมอารมย์
ชาตรี กอนี
ศิรินทิพย์ ชัยมงคล
วีระชัย ฟองธิวงค์

บทคัดย่อ

       เห็ดเผาะและเห็ดตับเต่า เป็นเอคโตไมคอร์ไรซา เส้นใยเห็ดเจริญบริเวณรอบรากพืช ดำรงชีวิตแบบพึ่งพาอาศัยเกื้อกูลกันกับพืช (symbiosis) และมีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงในประเทศไทย การศึกษาสูตรอาหารที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มปริมาณเส้นใย
ในอาหารเพาะเลี้ยงสังเคราะห์จำนวน 4 สูตร พบว่าอาหารสูตรที่ 4 ประกอบด้วย มันฝรั่ง 20 เปอร์เซ็นต์ น้ำตาล 2 เปอร์เซ็นต์ และ malt extract 0.5 เปอร์เซ็นต์ มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P£0.05) โดยให้ปริมาณน้ำหนักแห้งเส้นใยเห็ดเผาะ และเห็ดตับเต่ามากที่สุด คือ 1.12 และ 7.17 กรัม/100 มิลลิลิตร ตามลำดับ และเมื่อนำมาทดสอบกับพืชอาศัยของเห็ดจำนวน
4 ชนิด ได้แก่ ตะเคียนทอง (Hopea odorata) มะค่าโมง (Afzelia xylocarpa) ซึ่งจะปลูกถ่ายเชื้อเห็ดเผาะ ส่วนหางนกยูงไทย (Caesalpinia pulcherrima) และแคบ้าน (Sesbania grandiflora) ปลูกถ่ายเชื้อเห็ดตับเต่าเปรียบเทียบกับต้นที่ไม่ใส่เชื้อ
(ต้นควบคุม) เพื่อดูผลของการเจริญของกล้าไม้พืชอาศัยที่ได้รับการปลูกถ่ายเชื้อเห็ดไมคอร์ไรซาที่นำไปปลูกในสภาพธรรมชาติที่บ้านปางมอญ อำเภออ่ายนาไลย จังหวัดน่าน จำนวน 3 พื้นที่ มีลักษณะแปลงปลูกแตกต่างกันดังนี้ 1. สภาพพื้นที่เป็นที่ราบเชิงเขา (PM1) 2. สภาพพื้นที่เป็นสวนกล้วย (PM2) และ 3. สภาพพื้นที่ไร่มันสำปะหลัง (PM3) โดยไม่ใส่ปุ๋ยเคมีหรือสารควบคุมการเจริญเติบโต ภายหลังการปลูก 6 เดือน พบว่า แปลงปลูกแบบผสมผสานร่วมกับแปลงกล้วย (PM2) กล้าไม้ตอบสนองต่อ
การเจริญเติบโตมากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับต้นควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งด้านความสูง เส้นผ่านศูนย์กลางที่ระดับคอรากของลำต้น และความกว้างทรงพุ่ม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติมา ด้วงแค, วินันท์ดา หิมะมาน และจันจิรา อายะวงศ์. 2548. ผลของเอคโตไมคอร์ไรซาต่อ อัตราการเจริญเติบโตและการควบคุมโรคที่เกิดจากเชื้อราในดินของกล้าไม้ยูคาลิปตัส. กลุ่มงานกีฏวิทยาและจุลชีววิทยาป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. https://www.dnp.go.th/FEM/PDF/FM9.pdf (15 มกราคม 2564).

เกษม สร้อยทอง. 2537. เห็ดและราขนาดใหญ่ในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. อุบลราชธานี: ศิริธรรม ออฟเช็ท.

เต็ม สมิตินันทน์. 2557. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.

ทนุวงศ์ แสงเทียน และอุทัยวรรณ แสงวณิช. 2537. การเจริญเติบโตของยางนาที่ได้รับการปลูกเชื้อเอคโตไมคอร์ไรซา. วารสารวนศาสตร์ 13: 22-28.

ธนิตา อาสว่าง, อุไรวรรณ วิจารณกุล, รุ้งเพชร แข็งแรง, ณัฎฐิกา สุวรรณศรัย และเชิดชัย โพธิ์ศรี. 2558. เอคโตไมคอร์ไรซาของเห็ดเผาะสิรินธร

ในกล้าไม้ยางนา. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิชาการเครือข่ายงานวิจัยนิเวศวิทยาป่าไม้แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 4.

คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

นัยนา ทองเจียม, อินทิรา พันธาสุ, ปิติ กาลธิยานันท์, พจนีย์ ยิ่งคุ้ม และน้ำตาล คุ้มตะโก. 2559. การเพาะเลี้ยงเห็ดเอคโตไมคอร์ไรซาชนิดกินได้

ในไม้โตเร็ว. สำนักวิจัยและพัฒนาการป่าไม้ กรมป่าไม้. https://www.forprod.forest.go.th/forprod/forprod2017 (17 มกราคม 2564).

รุ้งฟ้า จีนแส. 2555. การใช้เชื้อเห็ดตับเต่า (Boletus colossus Heim.) ส่งเสริมการเจริญเติบโตของต้นเต้าซื่อ (Diospyros lotus) ระยะต้นกล้า. ปัญหาพิเศษปริญญาตรี, ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กำแพงแสน.

ราชบัณฑิตยสถาน. 2550. เห็ดในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

วิพรพรรณ์ เนื่องเม็ก และมนัส ทิตย์วรรณ. 2562. วัสดุผลิตหัวเชื้อเห็ดเผาะและผลต่อการเจริญของพืชอาศัย. วารสารแก่นเกษตร 48(1): 1173-1180.

สมจิตร อยู่เป็นสุข. 2549. ไมคอร์ไรซา. พิมพ์ครั้งที่ 1. เชียงใหม่: ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อนงค์ จันทร์ศรีกุล, พูนพิไล สุวรรณฤทธิ์ และอุทัยวรรณ แสงวณิช. 2551. ความหลากหลายของเห็ดและราขนาดใหญ่ในประเทศไทย.

กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Allen, M. F. 1991. The ecology of mycorrhizae. In Journal of Tropical Ecology, A. C. Newton, ed. pp. 194. Cambridge:

Cambridge University Press.

Arsawang, T., Vijaranakul, U., Kengrang, R., Suwannasai, N., and Phosri, C. 2015. Ectomycorrhizal formation of Astraeus sirindhorniae on dipterocarp seedlings. In Proceedings of Thailand Forest Ecological Research Network (T-FERN) Ecological Knowledge for Sustainable Management. pp. 272. Phitsanuloke.

Brundrett, M. C. 2006. Understanding the roles of multifunctional mycorrhizal and endophytic fungi. Soil Biology 38(9): 281-298.

Foster, R. C. 1981. Mycelial strands of Pinus radiata D. Don: Ultrastructure and histochemistry. The New Phytologist 88: 705-712.

Harley, J. L., and Smith, S. E. 1983. Mycorrhizal symbiosis. In Scientific Research, J. Dighton, ed. pp 483. London: Academic Press.

Janos, D. P., Schroeder, M. S., Schaffer, B., and Crane, J. H. 2001. Inoculation with arbuscular mycorrhizal fungi enhances growth of Litchi chinensis Sonn. trees after propagation by air-layering. Plant and Soil 233: 85-94.

Jennifer, L. P., Linderman, R. G., and Black, C. H. 1983. The role of ectomycorrhizas in drought tolerance of Douglas- fir seedlings. The New Phytologist 95: 83-95.

Nopamornbodi, O. 1995. Effect of mycorrhizae on plant growth and soil fertility. In International Training Course on Soil Management Technique “Fertility Improvement”, ADRC, ed. JICAS ADRC, Khonkaen.

Pampolina, N. M., Cruz, R. E., and Garcia, M. U. 1999. Ectomycorrhizal root and fungi of Philippine dipterocarps. In Proceedings of an international symposium and workshop, kaiping, Guangdong Province, P. R., M. Brundett, B. Dell, N. Malajczuk, and

G. Mingqin, eds. pp. 47-50. Kaiping City: The Chinese Academy of Forestry.

Phiaphukhiao, J. 1996. Effects of Astraeus spp. mycelial inoculate on mycorrhizal formation and growth stimulation of Dipterocarpus alatus Roxb. ex G.Don seedlings. Thesis, Chulalongkorn University, Bangkok, Thailand.

Phosri, C. 2005. Ectomycorrhizal formation of gasteromycete fungi in forest tree seedlings. Research Report, Pibulsongkram Rajabhat University, Phitsanuloke.

Scheromm, P., Plassard, C., and Saldac, L. 1990. Effect of nitrate and ammonium nutrition on the metabolism of the ectomycorrhizal basidiomycete, Hebeloma cylindrosporum Romagn. The New Phytologist 114: 227-234.

Thapar, H. S. 1988. Nutritional studies on ectomycorrhizal fungi of chir pine in culture. In Mycorrhizae for Green Asia 1st Asian Conference on Mycorrhizae, N. Raman, and K. Natarajan, eds. pp. 179-183. Madras: Madras University.