ผลของระดับความเข้มข้นสารละลายธาตุอาหารที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของฟักทองบัตเตอร์นัทในระบบปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความเข้มข้นของสารละลายธาตุอาหารที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตของฟักทองบัตเตอร์นัทที่ปลูกในกระถางพสาสติกขนาด 15 นิ้ว โดยใช้ขุยมะพร้าวเป็นวัสดุปลูกและให้สารละลายไปพร้อมระบบน้ำหยด โดยวางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) มี 3 ตำรับการทดลอง จำนวน 5 ซ้ำ ได้แก่ ระดับค่า EC 2.0, 2.5 และ 3.0 mS/cm เริ่มดำเนินการทดลองในเดือนเมษายน-กรกฎาคม พ.ศ. 2563 จากการทดลองพบว่า ระดับความเข้มข้นของสารละลายธาตุอาหารส่งผลต่อการเจริญเติบโตสูงที่สุด คือ EC=2.5 mS/cm ให้ความกว้างใบ และความยาวใบสูงที่สุด เท่ากับ 18.81 เซนติเมตร และ 18.14 เซนติเมตร ตามลำดับ และ EC=3.0 mS/cm ให้ความสูงต้น และขนาดลำต้นสูงที่สุด เท่ากับ 330.86 เซนติเมตร และ 13.75 มิลลิเมตร ตามลำดับ และผลผลิตสูงที่สุด คือ EC=3.0 mS/cm ให้ความหนาเนื้อ น้ำหนักผล และน้ำหนักผลรวมสูงที่สุด เท่ากับ 6.02 มิลลิเมตร, 498.06 กรัม และ 1,494 กรัม ตามลำดับ ดังนั้นการปลูกฟักทองบัตเตอร์นัท ควรปลูกที่ระดับความเข้มข้นของสารละลายธาตุอาหารที่ช่วง EC 2.5-3.0 mS/cm ซึ่งให้ผลการเจริญเติบโตของต้นฟักทองบัตเตอร์นัทที่ดีที่สุด
Article Details
วารสารเกษตรพระจอมเกล้า
References
ในวัสดุปลูกไร้ดิน. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 41(3/1) : 213-216.
ดวงกมล โลหศรีสกุล. 2560. เกษตรกรรุ่นใหม่หันปลูกพืชทางเลือกฟักทองบัตเตอร์นัท ราคาดี สวนกระแสเมล่อนขาลง. http://www.sentangsedtee.com/farming-trendy/article_53499 (11 สิงหาคม 2563)
ถวัลย์ พัฒนเสถียรพงศ์. 2534. ปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน. เล่มที่ 8. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: พรานนกการพิมพ์.
ธรรมศักดิ์ ทองเกตุ. 2544. การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน. https://kukr.lib.ku.ac.th/db/KPS/search_detail/result/120010 (30 มีนาคม 2563)
ธาวิดา ศิริสัมพันธ์. 2563. จบปริญญาโท ปลูกฟักทองบัตเตอร์นัท 1 ไร่ 3 เดือน เก็บผลผลิตขายฟันรายได้หลักแสน. https://www.technologychaoban.com/agricultural-technology/article_84925 (30 ธันวาคม 2563)
ยงยุทธ โอสถสภา. 2552. ธาตุอาหารพืช. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุชาดา เภาตระกูล. 2525. “การตอบสนองของบานชื่นและแพรเซี่ยงไฮ้ที่ระดับต่าง ๆ ของไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมในวัสดุปลูก
ที่ผสมขุยมะพร้าว 5 อัตรา”. กรุงเทพฯ: วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุวพิชญ์ อมรชินวิวัฒน์. 2557. การเปรียบเทียบระบบปลูกพืชไร้ดินต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตของเมล่อน (Cucumis melo L.) . กรุงเทพฯ: วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาพืชสวน คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง.
อิทธิสุนทร นันทกิจ. 2553. การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินเชิงธุรกิจในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.
สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ และสำนักการศึกษาต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
อิทธิสุนทร นันทกิจ. 2554. การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน. กรุงเทพฯ : ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเทคโนโลยีการเกษตร
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
Moya, C., Oyanedel, E., Verdugo, G., Flores, M.F., Urrestarazu, M., and Álvaro, J.E. 2017. Increased electrical conductivity
in nutrient solution management enhances dietary and organoleptic qualities in soilless culture tomato.
HortScience 52 (6): 868-872.
Jones, J.B.Jr.,1982. Hydroponics: Its history and use in plant nutrition studies. Journal of Plant Nutrition. 5 (8): 1003-1030.
Sakamoto, M., and Suzuki, T. 2020. Effect of nutrient solution concentration on the growth of hydroponic sweetpotato.
Agronomy 10 (11): 1708.
Wu, M., and Kubota, C. 2008. Effects of electrical conductivity of hydroponic nutrient solution on leaf gas exchange of
five greenhouse tomato cultivars. HortTechnology 18 (2): 271-277.