ความสัมพันธ์ระหว่างความหลากหลายของหอยน้ำจืดและปัจจัยสิ่งแวดล้อมในอ่างเก็บน้ำ อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

กิตติชัย จันธิมา
ทิพวรรณ ประเสริฐสินธุ์
กฤตวิชญ์ สุขอึ้ง
อภิญญาณี อุปจักร์

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสิ่งแวดล้อมและความหลากชนิดของหอยน้ำจืดในอ่างเก็บน้ำ อำเภอเทิงจังหวัดเชียงราย โดยทำการเก็บตัวอย่างในอ่างเก็บน้ำห้วยงิ้วและอ่างเก็บน้ำขุนปล้อง ทั้งหมด3จุดด้วยวิธี count per unit of time จำนวน 2ครั้ง ระหว่างเดือนสิงหาคม ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ.2561เพื่อศึกษาดัชนีบ่งชี้ทางนิเวศ (ดัชนีความมากชนิดดัชนีความหลากหลายทางชีวภาพและดัชนีการกระจายตัว)และปัจจัยสิ่งแวดล้อมทางน้ำ(ความเป็นกรด-ด่างอุณหภูมิปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำของแข็งที่ละลายน้ำทั้งหมดการนำไฟฟ้าและค่าความเค็ม) ร่วมกับการวิเคราะห์สหสัมพันธ์คาโนนิคอลผลการศึกษาพบหอยน้ำจืดทั้งหมด 522ตัว จำแนกออกเป็น 4 วงศ์ 4 สกุล 5ชนิด ได้แก่ Anentome helena(von demBusch,1847), Filopaludina martensi martensi(Frauenfeld, 1865), Filopaludinasumatrensis polygramma(Martens, 1860),Melanoides tuberculata(Müller, 1774)และ Pomacea canaliculata(Lamarck, 1819)พบหอยน้ำจืดในอ่างเก็บน้ำขุนปล้องมีค่าดัชนีความมากชนิดดัชนีความหลากหลาย และดัชนีการกระจายตัวสูงกว่าหอยน้ำจืดในอ่างเก็บน้ำห้วยงิ้ว ผลการวิเคราะห์สหสัมพันธ์คาโนนิคอล พบว่าความเป็นกรด-ด่างมีความสัมพันธ์ต่อการดำรงอยู่ของหอยทุกชนิดในอ่างเก็บน้ำห้วยงิ้วและอ่างเก็บน้ำขุนปล้อง ซึ่งมีค่าอยู่ในเกณฑ์สูงดังนั้นควรลดค่าความเป็นกรด-ด่างและลดการปล่อยของเสียในอ่างเก็บน้ำห้วยงิ้ว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมมลพิษ. 2560. การกำหนดประเภทน้ำผิวดิน. http://www.pcd.go.th/info_serv (10 กรกฎาคม 2561).

กิจจา อภิรักษ์เสนา. 2557. การติดเชื้อตัวอ่อนพยาธิใบไม้ของหอยและปลาน้ำจืด บริเวณสระน้ำในมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ณัฐกิตทิ์ โตอ่อน. 2561. ความหลากชนิดและการกระจายของหอยน้ำจืดในแม่น้ำป่าสัก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 26: 604-618.

เทศบาลตำบลงิ้ว. 2559. ประวัติอ่างเก็บน้ำห้วยงิ้ว. https://panidalookprakhom.blogspot.com (21 พฤษภาคม 2561).

เทศบาลตำบลปล้อง. 2558. อ่างเก็บน้ำขุนปล้อง. http://www.crplong.myreadyweb.com/news/topic-73542.html (21 พฤษภาคม 2561).

ศิริพร บุญดาว, นิศานาถ ละอองพันธ์, อุไร เพ่งพิศ และอำพร คล้ายแก้ว. 2552. การประเมินผลตกค้างของสารควบคุมสาหร่ายชั้นต่ำโดยใช้สัตว์พื้นท้องน้ำในอ่างเก็บน้ำบางพระ จังหวัดชลบุรี. กรุงเทพฯ: กรมชลประทาน.

สมศักดิ์ ระยัน, บุญทิวา ชาติชำนิ และอมรรัตน์ รังสิวิวัฒน์. 2558. ความสัมพันธ์ของคุณภาพน้ำบางประการและความชุกชุมของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่ บริเวณอ่างเก็บน้ำเขื่อนน้ำอูน จังหวัดสกลนคร. แก่นเกษตร 43 ฉบับพิเศษ 1: 595-602.

สุชาติ ผึ่งฉิมพลี. 2555. ชนิดและการแพร่กระจายของหอยน้ำจืดในแม่น้ำป่าสักตอนล่าง. สระบุรี: สำนักวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด.

สุชาติ ผึ่งฉิมพลี และฉวีวรรณ สุขมงคลรัตน์. 2556. ความชุกชุม และความหลากหลายของสัตว์หน้าดินในแม่น้ำป่าสักตอนล่าง. กรุงเทพฯ: กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด.

Brandt, R.A.M. 1974. The non-marine aquatic Mollusca of Thailand. Arch. Moll 105: 1-143.

Chantima, K., Lekpet, S., Butboonchoo, P., and Wongsawad, C. 2020. Diversity and abundance of gastropods in relation to physio-chemical parameters in rice paddies, Chiang Rai province, Thailand. Agriculture and Natural Resources 54: 295–300.

Geo-Informatics and Space Technology Development Agency. 2011. L05_AdminBoundary_Amphoe_2011_50k_ FDGS_beta. Bangkok: Geo-Informatics and Space Technology Development Agency.

QGIS Development Team. 2018. QGIS Geographic Information System. http://qgis.osgeo.org (12 August 2018).

R Development Core Team. 2010. R: A Language and Environment for Statistical Computing. Vienna: R Foundation for Statistical Computing.

Wang, Y.C., Ho, R.C.Y., Feng, C.C., Namsanor, J., and Sithithaworn, P. 2015. An ecological study of Bithynia snails, the first intermediate host of Opisthorchis viverrini in northeast Thailand. Acta Tropica 141: 244-252.