การเปลี่ยนแปลงความงอกและการเจริญเติบโตของต้นกล้าแครอท หลังการพอกเมล็ดพันธุ์ร่วมกับธาตุอาหารพืช
Main Article Content
บทคัดย่อ
การเพาะปลูกแครอทเพื่อการค้ายังคงประสบปัญหาด้านการเพาะกล้า เนื่องจากเมล็ดพันธุ์แครอทมีรูปร่างแบน ขนาดเล็ก น้ำหนักเบา ทำให้เมล็ดมีความงอก ความแข็งแรงต่ำ และต้นกล้างอกไม่สม่ำเสมอ ดังนั้นการทดลองนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาชนิดและปริมาณของธาตุอาหารพืชที่เหมาะสมสำหรับพอกเมล็ดพันธุ์แครอท โดยทำการทดลองที่ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์ สาขาวิชาพืชไร่ คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วางแผนการทดลองแบบ completely randomized design (CRD) จำนวน 4 ซ้ำ ประกอบด้วยกรรมวิธีดังนี้ เมล็ดไม่พอก, การพอกเมล็ดด้วย calcium sulfate, การพอกเมล็ดร่วมกับ KNO3 อัตรา 0.048, 0.096 และ 0.192 กรัม, การพอกเมล็ดร่วมกับ NaH2PO4.H2O อัตรา 0.064, 0.128 และ 0.256 กรัม, การพอกเมล็ดร่วมกับ KCI อัตรา 0.013, 0.026 และ 0.052 กรัม โดยใช้ calcium sulfate อัตรา 30 กรัมเป็นวัสดุพอก และใช้ carboxylmethyl cellulose (CMC) อัตรา 0.1% (w/v) เป็นวัสดุประสานต่อเมล็ดพันธุ์แครอท 3 กรัม ผลการทดลองพบว่า การพอกเมล็ดร่วมกับ KNO3 อัตรา 0.096 กรัม ทำให้เมล็ดพันธุ์แครอทมีความงอกและความเร็วในการงอกสูงที่สุด และแตกต่างกันในทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีอื่น ๆ และการพอกเมล็ดร่วมกับ KNO3 อัตรา 0.096 กรัม และ NaH2PO4.H2O อัตรา 0.256 กรัม ทำให้เมล็ดพันธุ์แครอทมีความยาวรากและความยาวต้นกล้าสูงมากกว่าและแตกต่างกันในทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีอื่น ๆ เมื่อเร่งอายุพบว่า การพอกเมล็ดด้วย KNO3 ทุกอัตราทำให้เมล็ดมีความงอกและความเร็วในการงอกสูงมากกว่าการพอกเมล็ดร่วมกับธาตุอาหารชนิดและอัตราอื่น ๆ แต่ไม่มีความแตกต่างกันในทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับเมล็ดไม่พอก เมล็ดที่พอกร่วมกับ NaH2PO4.H2O อัตรา 0.064 กรัม และเมล็ดที่พอกร่วมกับ KCl 0.013 กรัม และ 0.026 กรัม ส่วนการพอกเมล็ดร่วมกับ KNO3 อัตรา 0.096 กรัม และ NaH2PO4.H2O อัตรา 0.256 กรัม มีความยาวต้น ความยาวราก และความยาวต้นกล้าสูงมากกว่าและแตกต่างกันในทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีอื่น ๆ ดังนั้นสรุปได้ว่า การพอกเมล็ดพันธุ์แครอทร่วมกับ KNO3 อัตรา 0.096 กรัม จึงเป็นชนิดและปริมาณแนะนำสำหรับใช้พอกร่วมกับเมล็ดพันธุ์ แครอทมากกว่ากรรมวิธีการอื่น ๆ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารเกษตรพระจอมเกล้า
References
จักรพงษ์ กางโสภา และบุญมี ศิริ. 2562. การเปลี่ยนแปลงความงอก ความแข็งแรง และการเจริญเติบโตของต้นกล้าผักกาดหอม (Lactuca sativa L.) หลังการพอกเมล็ดพันธุ์ร่วมกับฟอสฟอรัส. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า 37(2): 274-283.
จักรพงษ์ กางโสภา. 2563. การพอกเมล็ดด้วยหัวเชื้อจุลินทรีย์ MMO1 และ MMO2 ต่อการงอกและการเจริญเติบโตของต้นกล้าข้าวโพดหวานลูกผสม. วารสารแก่นเกษตร 48(ฉบับพิเศษ 1): 299-304.
ทัศนีย์ จันทร์นุ่ม. 2545. วิธีการเร่งอายุเมล็ดเพื่อทำนายศักยภาพในการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ถั่วลิสง 4 พันธุ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพืชไร่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ธนาคาร กาวดิลก, บุญมี ศิริ และอารักษ์ ธีรอำพล. 2562. ผลของการพอกเมล็ดร่วมกับสารควบคุมการเจริญเติบโต GA3 และ IAA ต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ผักกาดหอม. วารสารแก่นเกษตร 47(5): 1027-1036.
บุญมี ศิริ. 2558. การปรับปรุงสภาพและยกระดับคุณภาพเมล็ดพันธุ์. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.
ปิยะดา ธีรกุลพิศุทธิ์. 2540. สรีรวิทยาของพืช. ขอนแก่น: ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วันชัย จันทร์ประเสริฐ. 2553. สรีรวิทยาเมล็ดพันธุ์. กรุงเทพฯ: คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุมนทิพย์ บุนนาค. 2542. สรีรวิทยาเบื้องต้นของพืช. ขอนแก่น: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุริยา ตราชู, นิวัต เหลืองชัยศรี และบุญมี ศิริ. 2559. การพอกเมล็ดด้วยแมกนีเซียมซัลเฟตและโพแทสเซียมคลอไรด์ต่อความงอกและความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์ยาสูบ. วารสารแก่นเกษตร 44(3): 399-408.
AOSA. 1983. Seed Vigor Testing Handbook. Ithaca: Association of Official Seed Analysts.
Chowdhury, F.M., Halim, M.A., Hossain, F., and Akhtar, N. 2018. Effects of sodium chloride on germination and seedling growth of Sunflower (Helianthus annuus L.). Journal of Biological Sciences 7(1): 35-44.
Delouche, J. C., and Baskin, C. C. 1973. Accelerated aging techniques for predicting the relative storability of seed lots. Seed Science and Technology 1: 427-452.
Gawande, M., Mohapatra, S. C., and Johnson, W. H. 1980. Effect of seed size and pelletization on tobacco seed germination under varying temperature regimes. Tobacco Science 24: 49-52.
Hill, H. J. 1999. Advances in Seed Technology: Original of New seeds. Binghamton: The Haworth Press, Inc.
ISTA. 2013. International Rules for Seed Testing. Bassersdorf: International Seed Testing Association.
Luan, Z., Xiao, M., Zhou, D., Zhang, H., Tian, Y., Wu, Y., Guan, B., and Song, Y. 2014. Effects of salinity, temperature, and polyethylene glycol on the seed germination of sunflower (Helianthus annuus L.). The Scientific World Journal 2014: 1-9.
Manning, D. A. C. 2010. Mineral sources of potassium for plant nutrition. Agronomy for Sustainable Development 30: 281-294.
McDonald, M. B. 1999. Seed deterioration: Physiology, repair and assessment. Seed Science and Technology 27: 177-237.
Saint-Gobain Formula. 2021. The benefits of calcium sulfate use in soil & agriculture. http://goo.gl/E7OI27. (1 May 2021).
Schachtman, D. P., Reid, R. J., and Ayling, S. M. 1998. Phosphorus uptake by plants: from soil to cell. Plant Physiology 116: 447-453.
Sharma, H. K. 2018. Carrots production, processing, and nutritional quality. In Handbook of Vegetables and Vegetable Processing, Second Edition, M. Siddiq, and Uebersax, M. A., eds. pp. 589-608. New Jersey: John Wiley & Sons Ltd.
Sivanesan, I., Son, M. S., Lim, C. S., and Jeong, B. R. 2011. Effect of soaking of seeds in potassium silicate and uniconazole on germination and seedling growth of tomato cultivars, Seogeon and Seokwang. African Journal of Biotechnology 10(35): 6743-6749.
Smith, A. E., and Miller, R. 1987. Seed pellets for improved seed distribution of small seeded forages crops. Journal of Seed Technology 11: 42-51.
Yang, W. 2018. Effect of nitrogen, phosphorus and potassium fertilizer on growth and seed germination of Capsella bursa-pastoris (L.) Medikus. Journal of Plant Nutrition 41(5): 636-644.
Zenk, P. 2004. Seed coatings get serious. http://goo.gl/zpRR8j (1 February 2004).