ผลของระดับการเพาะเลี้ยงไรแดง (Moina macrocopa) ความหนาแน่นสูงโดยการใช้สาหร่ายคลอเรลล่าผงเป็นแหล่งอาหารต่อประสิทธิภาพการเจริญเติบโต

Main Article Content

ธนากร ทราเจริญ
พงค์เชฎฐ์ พิชิตกุล
อิสริยา วุฒิสินธุ์
สุริยัน ธัญกิจจานุกิจ

บทคัดย่อ

     การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเพาะเลี้ยงไรแดงที่ระดับความหนาแน่นสูงโดยการใช้สาหร่ายคลอเรลล่าผงเป็นแหล่งอาหารภายใต้ระบบการเลี้ยงแบบหนาแน่นที่มีการจัดการคุณภาพน้ำ และการให้อาหารแบบต่อเนื่องตลอดช่วงการทดลอง โดยทำการศึกษาอัตราการปล่อยไรแดง 2 ระดับคือ 0.2 กรัม/ลิตร (1,655.56±19.24 ตัว/ลิตร) และ 0.5 กรัม/ลิตร (2,844.44±19.24 ตัว/ลิตร) ทดลองเพาะเลี้ยงไรแดงในถังทดลองขนาด 2,000 ลิตร ที่มีการจัดการคุณภาพน้ำและการให้อาหารแบบอัตโนมัติ โดยจัดชุดการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ จำนวน 3 ซ้ำ และมีอัตราการให้อาหารด้วยสาหร่าย        คลอเรลล่าผง ที่ระดับ 0.2 กรัม/ลิตร ตลอดช่วงการทดลอง ผลการศึกษาพบว่าไรแดงทั้งสองชุดการทดลองมีอัตราการเพิ่มจำนวนตัวสูงสุดในเวลา 48 ชั่วโมงเท่ากับ 4,322.22±126.11 และ 7,233.34±33.35 ตัว/ลิตร ตามลำดับ และมีแนวโน้มลดลงจนกระทั่งสิ้นสุดการทดลองในเวลา 96 ชั่วโมง อัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรต่อวัน ร้อยละของของประชากรไรแดงเกิดใหม่ และการเพิ่มจำนวนไรแดงทั้งหมดมีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) นอกจากนี้ยังพบว่าการเพาะเลี้ยงไรแดงในระบบดังกล่าวยังสามารถควบคุมค่าคุณภาพน้ำให้มีค่าอยู่ในระดับปกติเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและการขยายพันธุ์ของไรแดง ผลการศึกษาในครั้งนี้จึงเป็นแนวทางในการวางแผนการผลิตไรแดงให้มีประสิทธิภาพและมีคุณภาพต่อไปในอนาคต


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ทวี วิพุทธานุมาศ และทัศนีย์ สุขสวัสดิ์. 2533. การศึกษาอัตราส่วนไนโตรเจนต่อฟอสฟอรัสต่อการเพาะไรแดง. ใน รายงานประจำปี 2533

สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดปทุมธานี. กรมประมง, กรุงเทพฯ.

ธัชพล การะเกตุ, ดรินทร์ธร อ่ำอิ่ม, ชลธิชา ระพีพัฒน์ชาญชัย และปิยวัฒน์ ปองผดุง. 2561. การใช้คลอเรลล่าอบแห้งเป็นอาหารสำหรับการ เพาะเลี้ยงไรแดงแบบมหมวล. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 27(4): 684-694.

ภาณุ เทวรัต์นมณีกุล, ทวี วิพุทธานุมาศ, วีระ วัชรกรโยธิน และทัศนีย์ สุขสวัสดิ์. 2532. การเพาะเลี้ยงไรแดง. เอกสารวิชาการฉบับที่ 9/2532. สถานี

ประมงน้ำจืดจังหวัดปทุมธานี. กรมประมง, กรุงเทพฯ.

มนทกานติ ท้ามติ้น, กิตติพงษ์ สันติเสวีกล, สุพิศ ทองรอด และแพททริค ซอจีลูส. 2551. ผลผลิตและคุณค่าทางโภชนาการของโรติเฟอร์ S-type

(Brachionus rotundiformis) ที่เลี้ยงด้วยระบบน้ำแบบหมุนเวียน. เอกสารวิชาการฉบับที่ 14/2551. สํานักวิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง.

กรมประมง, กรุงเทพฯ.

สันทนา ดวงสวัสดิ์, ไมตรี ดวงสวัสดิ์ และสมเพชร ไชยทอง. 2524. การศึกษาชีวประวัติและการเพาะเลี้ยงไรแดงเพื่อใช้เป็นอาหารสำหรับสัตว์น้ำวัย

อ่อน. เอกสารวิชาการฉบับที่ 1/2524. สถาบันประมงน้ำจืดแห่งชาติ. กรมประมง, กรุงเทพฯ.

สาธิต โกวิทวธี. 2541. อัตราการขยายพันธุ์สุทธิของไรแดง (Moina macrocopa) ที่เลี้ยงด้วยแบคทีเรีย (Bacillus subtilis) ในห้องปฏิบัติการ. ใน

เอกสารการประชุมวิชาการ ครั้งที่ 36 สาขาประมง. น. 41. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Arimoro, O. F. 2006. Culture of the freshwater rotifer (Brachionus calyciflorus) and its application in fish larviculture technology. African Journal of Biotechnology 5(7): 536-541.

Baird, R. B., Eaton, A. D., and Rice, E. W. 2015. Standard Methods for the Examination of Water and Wastewater. 23th ed. Washington: American Public Health Association.

Dhert, P., Rombaut, G., Suantika, G., and Sorgeloos, P. 2001. Advancement of rotifer culture and manipulation techniques in Europe.

Aquaculture 200(1): 129-146.

Din, W. D., and Altaff, K. 2010. Culture of zooplankton for rearing fish larvae. Pollution Research. 29: 255-257.

Islam, M. R., Hassan, M. R., Begum, M., Punom, N. J., Begum, M. K., Sultana, N., and Rahman, M. S. 2017. Effects of feeding zooplankton (Moina macrocopa) on the growth of Nile tilapia (Oreochromis niloticus). Bangladesh Journal of Scientific and Industrial Research 52: 81-88.

Lamaisee, J., and Areechod, N. 2005. Study on Bacterial Contamination in Moina sp. Culture. In Proceedings of the 2thAg Biotech Graduate Conference. Kasetsart University, Thailand.

Mostary, S., Rahman, M.S., and Hossain, M.A. 2007. Culture of rotifer (Brachionus angularis Hauer) feeding with dried Chlorella, Univ. J. Zool. Rajshahi University Journal of Science and Engineering 26: 73-76.

Okunsebor, S. A. 2014. Culture of zooplankton (Branchionus calciflorus, Moina micrura and Daphnia pulex) as live food for Heterobranchus bidorsalis hatchings. University of Jos, Nigrria.

Rottmann, R. W., Graves, J. S., Watson, C., and Yanong, R. P. E. 2016. Culture Techniques of Moina: The Ideal Daphnia for Feeding Freshwater Fish Fry. University of Florida.

Sarma, S. S., Bertin, S., and Nandini, S. 2002. Effect of salinity on competition between the rotifers (Brachionus rotundiformis) Tschugunoff and Hexarthra jenkinae De Beauchamp. Hydrobiologia 474(1): 183-188.

Sipauba-Tavares, L. H., Segali, A. L., Berchielli-Morais, F. A., and Scardoeli-Truzzi, B. 2017. Development of low-cost culture media for Ankistrodesmus gracilis based on inorganic fertilizer and macrophyte. Acta Limnologica Brasiliensia 29: 1-9.

Tangam, W., Ritluk, A., and Chaiyawong, B. 2005. Using Chlorella concentrations increase productivity Moina macrocopa.

Rajamangala University of Technology Tawan-ok, Chonburi.

Xi, Y.L., Hagiwara, A., and Sakakura, Y. 2005. Combined effects of food level and temperature on life table demography of Moina

macrocopa Straus. International Review of Hydrobiology 90: 546-554.