ความหลากหลายของสาหร่ายและดัชนีคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำสายหลัก จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

มัณฑกา วีระพงศ์
สุภาวดี รามสูตร
ดำรงศ์พันธ์ ใจห้าววีระพงศ์

บทคัดย่อ

          ศึกษาความหลากหลายของสาหร่ายบริเวณแหล่งน้ำสายหลัก จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 8 จุด ครอบคลุมแหล่งน้ำสายหลัก 8 อำเภอ ได้แก่ คลองกลาย อ.ท่าศาลา แม่น้ำปากพนัง อ.ปากพนัง คลองท่าดี อ.ลานสกา คลองน้ำตกโยง อ.ทุ่งสง คลองท่าแพ อ.เมือง แม่น้ำหลวง อ.ทุ่งใหญ่ คลองเสาธง อ.ร่อนพิบูลย์ และคลองนอกท่า       อ.พรหมคีรี พบสาหร่าย 35 สกุล 60 ชนิด ใน 4 ดิวิชัน โดยพบสกุลในดิวิชั่น Chrysophyta (58%) มากที่สุด รองลงมา Chlorophyta (23%), Euglenophyta 13% และ Cyanophyta (6%) ดัชนีความหลากชนิด (H’) ระหว่าง 0.57-2.21 สาหร่ายสกุลเด่นที่พบทุกจุดเก็บตัวอย่าง ได้แก่ Navicula spp., Chlorella spp., Euglena spp. และ Pinnularia spp. จากการใช้สาหร่ายสกุลเด่นเป็นดัชนีบ่งชี้คุณภาพน้ำแบบ AARL-CMU Score พบคลองน้ำตกโยง อ.ทุ่งสง มีค่าดัชนีคุณภาพน้ำเฉลี่ยเท่ากับ 5 จัดเป็นคุณภาพน้ำปานกลาง อยู่ในระดับสารอาหารปานกลาง (mesotrophic) โดยพบ Fragilaria spp., Navicula spp. และ Pinnularia spp. เป็นสกุลหลัก ส่วนคลองกลาย อ.ท่าศาลา, คลองนอกท่า อ.พรหมคีรี, แม่น้ำหลวง อ.ทุ่งใหญ่ และคลองเสาธง อ.ร่อนพิบูลย์ มีค่าดัชนีคุณภาพน้ำเฉลี่ยเท่ากับ 6.75, 7.25, 7 และ 5.8 ตามลำดับ จัดเป็นคุณภาพน้ำปานกลางถึงไม่ดี อยู่ในระดับสารอาหารปานกลางถึงสูง (mesotrophic to eutrophic) โดยพบ Rhizosolenia setigera, Euglena spp., Chlorella spp., Navicula spp., Synedra spp., Scenedesmus spp., Oscillatoria spp., Gomphonema spp., Surirella spp., Pinnularia spp., Fragilaria spp. และ Phacus sp. เป็นสกุลหลัก และแหล่งน้ำที่มีคุณภาพไม่ดี ได้แก่ คลองท่าดี อ.ลานสกา แม่น้ำปากพนัง อ.ปากพนัง และคลองท่าแพ อ.เมือง มีค่าดัชนีคุณภาพน้ำเฉลี่ยเท่ากับ 7.67, 8.67 และ 8.5 ตามลำดับ อยู่ระดับสารอาหารสูง (eutrophic) โดยพบ Anabaena sp., Cruciginella sp., Hantzschia sp., Euglena sp.2., Trachelomonas sp. และ Scenedesmus spp. เป็นสกุลหลัก การตรวจสอบคุณภาพน้ำทางกายภาพ และทางเคมี ในภาพรวมมีค่าอุณหภูมิระหว่าง 27.9-31.2 ºซ, ความโปร่งแสงของน้ำระหว่าง 0.20-1.5 เมตร, สีของน้ำมีลักษณะตั้งแต่ใส ขุ่นเล็กน้อยจนถึงสีน้ำตาลคล้ำถึงดำ, ความเป็นกรดเป็นด่างระหว่าง 7.00- 8.14, การละลายออกซิเจนในน้ำระหว่าง 1.8-9.4 มิลลิกรัม/ลิตร และปริมาณออกซิเจนที่จุลินทรีย์ใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ระหว่าง 0.2-7 มิลลิกรัม/ลิตร

Article Details

How to Cite
วีระพงศ์ ม., รามสูตร ส. ., & ใจห้าววีระพงศ์ ด. . (2023). ความหลากหลายของสาหร่ายและดัชนีคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำสายหลัก จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 41(1), 70–80. https://doi.org/10.55003/kmaj.2023.04.30.008
บท
บทความวิจัย

References

Bold, H. C. & Wynne, M. J. (1985). Introduction to the Algae: Structure and Reproduction. New Jersey: Prentice-Hall.

Hoek, C., Mann, D.G., & Jahns, H. M. (1995). Algae: An introduction to Phycology. Cambridge: Cambridge University Press.

Kaewchamnong, T., Rodjaroen, S., Wetchakul, A., Sampim, T., Thongprajukaew, K., Nuntapong, N., Adam, M., & Malawa, S. (2021). Effects of cyannobacteria, Nostoc commune Vaucher TISTR 8870 supplementation on growth, feed utilization and coloration of Siamese fighting fish (Betta splendens Regan, 1910). Wichcha Journal. 40(1), 106-120.

Kunpradid, T. & Semmmanee, P. (2011). The study on water resources management in Ban Eake Village Sanpayang Sub-District, Mae Tang District, Chiang Mai Province. Rajabhat Chiang Mai Research Journal. 12(2), 35-44.

Passago, S., Kurukot, J., & Nuesee, C. (2018). Study on water quality and biodiversity of benthos in Chi River. Prawarun Agricultural Journal. 15(1), 156-167.

Peerapornpisal. Y. (2006). Phycology. 2nd Edition. Chiang Mai: Chotana Print.

Peerapornpisal. Y. (2015). Freshwater algae in Thailand. 3rd Edition. Chiang Mai: Chotana Print.

Peerapornpisal, Y., Kluensuwan, S., Niwasabutra, Sh., Kaweewat, K., Promkutkaew, S., Pekthong, T., Waiyaka, P., & Kunpradid, T. (2001). Biodiversity of benthic diatoms and macroalgae in Mae Sa Stream, Doi Suthep-Pui National Park, Chiang Mai. In: V. Baimai & R. Kumhom. BRT Research Reports 2001 (pp. 17-23). Bangkok: Biodiversity Research and Training Program.

Pereira, L. (2021). Macroalgae. Encyclopedia. 1(1), 177-188.

Pollution Control Department. (2018). Work manual of water quality assessment in surface water. Retrieved from: https://www.pcd.go.th/wp-content/uploads/2020/04/pcdnew-2020-04-21_09-32-00_948434.pdf. (in Thai).

Sudthang, P., Vajrodaya, S., Suwanwong, S., & Sanevas, N. (2011). Vertical diversity of algae in Bueng Boraphet, Nakhon Sawan Province. In Proceedings of 49th Kasetsart University Annual Conference: Plant. (pp. 105-112). Bangkok: Kasetsart University.

The Nakhon Si Thammarat Provincial Office of the Comptroller General's Department. (2020). Water sources. Retrieved from: http://www.nakhonsithammarat.go.th/web_52/river.php. (in Thai).

Waiyaka, P. & Buddee, R. (2022). Study on phytoplankton diversity for using as indicator of water quality in water reservoir at Chiang Rai Rajabhat University. Journal of Science and Technology Phetchabun Rajabhat University. 2(1), 15-33.

Wongrat, L. & Boonyapiwat, S. (2003). Manual of sampling and analytical methods of plankton. Bangkok: Kasetsart

University Press.