อิทธิพลของน้ำทะเลหนุนต่อสมบัติของดินในพื้นที่ดินนา บริเวณที่ราบลุ่มภาคกลางตอนล่างของประเทศไทย

Main Article Content

นวรัตน์ เวชวิฐาน
นภาพร พันธุ์กมลศิลป์
เกียรติศักดิ์ สนศรี

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงของสมบัติดินบางประการที่เกิดจากอิทธิพลของน้ำทะเลหนุน ในพื้นที่ดินนาบริเวณที่ราบลุ่มภาคกลางตอนล่างของประเทศไทย ทำการศึกษาในพื้นที่ดินนาจังหวัดนนทบุรีและจังหวัดปทุมธานี โดยเก็บตัวอย่างดิน 5 จุด เก็บตัวอย่างแบบรบกวนโครงสร้างที่ระดับความลึก 0-15, 15-30, 30-60, 60-90 และ 90-120 ซม. เก็บตัวอย่างน้ำแบบจ้วง จากแม่น้ำเจ้าพระยาและบริเวณแหล่งน้ำใกล้บริเวณจุดเก็บตัวอย่าง วิเคราะห์สมบัติทางฟิสิกส์และสมบัติทางเคมีบางประการของดิน และวิเคราะห์สมบัติทางเคมีบางประการของน้ำ ทุก ๆ เดือน ตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2561 ถึง เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2563 หาความแปรปรวนของสมบัติดินและน้ำระหว่างปีโดยใช้ Student’s t-test ผลการศึกษาพบว่า ความชื้นโดยมวลของดินในปีที่ 1 (เดือนมีนาคม พ.ศ. 2561 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2562) มีค่าอยู่ในพิสัย 22.99-79.04% ในปีที่ 2 (เดือนมีนาคม พ.ศ. 2562 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563) มีค่าอยู่ในพิสัย 9.87-88.98% ค่าสภาพการนำไฟฟ้าของดิน อัตราส่วนการดูดซับโซเดียมของดินและค่าสภาพการนำไฟฟ้าของน้ำในปีที่ 1 มีค่าอยู่ในพิสัย 0.32-4.42 dS/m, 7.04-37.23 และ 0.26-1.6 dS/m ตามลำดับ และในปีที่ 2 มีค่าอยู่ในพิสัย 0.47-5.73 dS/m, 3.63-31.45 และ 0.21-6.73 dS/m ตามลำดับ จากผลการวิเคราะห์ค่าสภาพการนำไฟฟ้าและอัตราส่วนการดูดซับโซเดียม แสดงให้เห็นว่าดินในพื้นที่ศึกษาได้รับอิทธิพลจากเกลือ เมื่อนำข้อมูลเปรียบเทียบหาความแปรปรวนระหว่างปี พบว่า ค่าสภาพการนำไฟฟ้าของดินมีค่าสูงขึ้นในการศึกษารอบปีที่ 2 ในขณะที่ค่าอัตราส่วนการดูดซับโซเดียมมีค่าลดลง (P < 0.05) ค่าสภาพการนำไฟฟ้าและอัตราส่วนการดูดซับโซเดียมของน้ำทั้ง 2 ปี แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าความรุนแรงของความเค็มของดินและน้ำมีความรุนแรงขึ้นในปีที่ 2 สอดคล้องกับค่าความเค็มสูงสุดในลำน้ำเจ้าพระยาที่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนในปีที่ 2 ดังนั้นจึงต้องมีการจัดการและการวางแผนการใช้น้ำจืดในการผลักดันน้ำทะเลจากสภาวะน้ำทะเลหนุน ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมทรัพยากรธรณี. 2563. ธรณีวิทยาภาคกลาง. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.http://www.dmr.go.th/ewtadmin/ewt/dmr_web/n_more_news.php?filename=central_geo. (25 ธันวาคม 2563).

กรมทรัพยากรน้ำ. 2563. รายงานสถานการณ์น้ำรายวัน. https://dwr.go.th/uploads/file/statuswater/2020/631201%20Manager.pdf. (1 กรกฎาคม 2564).

เกียรติศักดิ์ สนศรี, นภาพร พันธุ์กลมศิลป์, สุชาดา กรุณา, วิภาวรรณ ท้ายเมือง และยุทธนา พันธุ์กลมศิลป์. 2563. อิทธิพลของน้ำทะเลหนุนต่อความแปรปรวนของความเค็มของดินในพื้นที่การเกษตรจังหวัดปทุมธานี. วารสารแก่นเกษตร 48(5): 1028-1041.

คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา. 2548. ปฐพีวิทยาเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ฝ่ายตะกอนและคุณภาพน้ำ. 2564. รายงานสถานการณ์ค่าความเค็มและปริมาณน้ำ แม่น้ำเจ้าพระยา. กรมชลประทาน. http://hydrology.rid.go.th/sediment-wq/index.php/th/. (17 ธันวาคม 2563).

รัตนสุดา ชลธาตุ. 2558. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและแนวทางการแก้ไขปัญหา. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรียครินทรวิโรฒ 18: 416-423.

วิกานดา วรรณวิเศษ. 2558. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ: ผลกระทบต่อประเทศไทย. สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. http://library.senate.go.th/document/Ext10567/10567795_0002.PDF. (18 ธันวาคม 2563).

สมศรี อรุณินท์. 2539. ดินเค็มในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร.

Black, C. A. 1965. Method of soil Analysis, Part 2. Chemical and Microbiological Properties. Madison, Wisconsin: American Society of Agronomy.

Brinkman, R., and Singh, V. P. 1982. Reclamation of brackish water fishponds in acid sulfate soils. https://edepot.wur.nl/75851 (11 December 2020).

Google Earth. 2021. Sampling location for paddy soil in Nonthaburi and in Pathum Thani Province, Thailand. Google. https://earth.google.com/web/@13.67665711,100.44240947,8.22484526a,170488.46962463d,30y,-0h,0t,0r/data=CjwaOhI0CiQweDMxMWQ4MDhhYTlmYjhlNDc6MHgxMDE5MjM3NDUwYzQ4NTAqDFBBVEhVTSBUSEFOSRgCIAE6AwoBMA. (26 January 2021).

Havlin, J. L., Beaton, J. D., Tisdale, S.M., and Nelson, W. L. 2005. Soil Fertility and Fertilizers: An Introduction to Nutrient Management. 7th Edition. New York: Pearson Prentice Hall.

Keren, R. 2000. Salinity. In Handbook of Soil Science, M.E. Summer, ed. pp. G3-G21. Boca Raton: CRC. Press, LLC.

Mengel, K., and Kirkby, E. A. 2001. Principles of Plant Nutrition. 5th Edition. Dordrecht: Kluwer Academic.

Nicholls, R. J., and Cazenave, A. 2010. Sea-level rise and its impacts on coastal zones. Science 328(5985): 1517-1520.

Phankamolsil, N., Sonsri, K., and Phankamolsil, Y. 2021. Consequence of seawater intrusion on soil properties in agricultural areas of Nonthaburi Province, Thailand. Applied Environmental Research 43(2): 77-92.

Salinity Management guide. 2007. Learn about salinity and water quality: sodium adsorption ratio. https://watereuse.org/salinity-management/le/le_5.html. (10 August 2021).

Sojisuporn, P., Sangmanee, C., and Wattayakorn, G. 2013. Recent estimate of sea-level rise in the Gulf of Thailand. Maejo International Journal of science and Technology 7(Special Issue): 106-113.

TransRe Fact Sheet (TRF). 2011. Climate change in Thailand. Translocal Resilience Project. http://www.transre.org/application/files/7415/4411/3781/Climate_Change_in_Thailand_TransRe_Fact_Sheet_No._2.pdf. (5 January 2021).

United nation framework convention on climate change. 2020. Climate change. https://unfccc.int/topics/adaptation-and-resilience/the-big-picture/what-do-adaptation-to-climate-change-and-climate-resilience-mean. (12 December 2020).

U.S. Salinity Laboratory Staff. 1954. Diagnosis and improvement of saline and alkali soils. Washington: U.S. Department of Agriculture Handbook No. 60.

Wongpokhom, N. 2007. Variability of natural soil systems as affected by salinity level in Thailand. Ph.D. thesis, Kasetsart University, Bangkok, Thailand.