สัดส่วนของสัตว์น้ำเป้าหมายและสัตว์น้ำพลอยจับได้จากเครื่องมือประมง ในบริเวณชายฝั่งทะเลอันดามัน

Main Article Content

ธันยพร พงศ์สุวรรณ
อนัญญา เจริญพรนิพัทธ

บทคัดย่อ

     การทำประมงในบริเวณชายฝั่งทะเลอันดามันเป็นอาชีพหลักของประชากรที่อยู่บริเวณชายฝั่ง รวมถึงผู้ประกอบการประมงขนาดใหญ่ ปัจจุบันมีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรค่อนข้างสูง อาจทำให้สภาวะทรัพยากรสัตว์น้ำเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ตลอด การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบปริมาณสัดส่วนของชนิดของสัตว์น้ำเป้าหมายและสัตว์น้ำพลอยจับได้รวมถึงขนาดที่จับได้ของสัตว์น้ำที่ขึ้นท่า จากการทำประมงพื้นบ้านและประมงพาณิชย์ ในจังหวัดกระบี่ พังงา และภูเก็ต ศึกษาในเดือนมกราคม 2562 ถึง พฤษภาคม 2564 เมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนปริมาณน้ำหนัก และชนิดระหว่างสัตว์น้ำเป้าหมายและสัตว์น้ำพลอยจับได้พบว่า อวนลากมีแนวโน้มในการจับสัตว์น้ำพลอยจับได้สูงกว่าสัตว์น้ำเป้าหมายทั้งในแง่ของปริมาณ และชนิดสูงกว่าเครื่องมือประเภทอื่น โดยพบว่าในปี พ.ศ. 2562 พบผลจับสูงที่สุด (กระบี่ 22,881 ตัน พังงา 36,385 ตัน ภูเก็ต 38,945 ตัน) ในขณะที่เบ็ดมือเป็นเครื่องมือที่ไม่พบปริมาณผลจับของสัตว์น้ำพลอยจับได้ ส่วนของขนาดความยาวสัตว์น้ำพบว่า อวนลาก และอวนล้อมมีการจับสัตว์น้ำที่ยังไม่เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ทั้งสัตว์เป้าหมาย และสัตว์น้ำพลอยจับได้สูงสุด ในขณะที่เครื่องมืออวนครอบปลากะตักพบสัตว์น้ำเป้าหมายที่เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ทั้งหมด ในทางกลับกันเครื่องมือลอบปลาเป็นเครื่องมือที่พบเพียงสัตว์น้ำพลอยจับได้ที่อยู่ในช่วงวัยเจริญพันธุ์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกศแก้ว เทศอาเส็น, อำนวย คงพรหม, สนธยา บุญสุข และรุ่งนภา หนูกล่ำ. 2555. ความสูญเสียทางเศรษฐกิจของทรัพยากรสัตว์น้ำจากการทำประมงอวนล้อมจับ ขนาดตาอวน 1.5 เซนติเมตร ในเขตน่านน้ำประชิดไทย-มาเลเซีย. ภูเก็ต: ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลฝั่งอันดามัน.

ซุกรี หะยีสาแม, ศราวุธ เจ๊ะโส๊ะ และพัน ยี่สิ้น. 2560. ความหลากหลายของปลาทะเลบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง. https://fliphtml5.com/huqy/ basic/201-250 (19 พฤศจิกายน 2560).

ณิชกานต์ ศรีทอง และอนัญญา เจริญพรนิพัทธ. 2563. การประเมินลำดับขั้นอาหารของสัตว์น้ำด้วยแบบจำลองอีโคพาธจากการทำประมงชายฝั่งทะเลอันดามัน ประเทศไทย เพื่อการจัดการประมงอย่างเหมาะสม. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า 38(2): 164-174.

เพิ่มศักดิ์ เพิงมาก. 2548. การประมงปลากะตักในจังหวัดสตูล ปี 2541-2543. ภูเก็ต: ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลฝั่งอันดามัน.

ร่วมฤดี พานจันทร์. 2556. ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการจับ และการเลือกจับของอวนติดตา. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 15(1): 34-44.

วลีรัตน์ มูสิกะสังข์ และสมเกียรติ อินทร์ชู. 2544. การกระจายของความเข้มแสงจากเรืออวนครอบปลากะตักปั่นไฟ. ใน การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 39. น. 266-273. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะประมง, กรุงเทพฯ.

สำนักงานฝ่ายฝึกอบรม. 2551 คู่มือการเก็บข้อมูลของตัวชี้วัดทางการประมงในประเทศไทย. สมุทรปราการ: ศูนย์พัฒนาการประมงแห่ง

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้.

อนุกรณ์ บุตรสันต์, ชัยชาญ มหาสวัสดิ์, ส่งศรี มหาสวัสดิ์, สุริยัน ธัญกิจจานุกิจ และอศิรวัฒน์ ปรีชา. 2550. ความเป็นไปได้ในการปรับเปลี่ยน

อวนลอยสามชั้นกุ้งเพื่อลดการจับสัตว์น้ำที่ไม่ใช่เป้าหมาย. ใน การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 45.

น. 498 -506. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะประมง, กรุงเทพฯ.

อิสระ ชาญราชกิจ. 2561. เครื่องมือประมงสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัย. สมุทรปราการ: ศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.

Boopendranath, M. R., Pravin, P., Remesan, M. P., Thomas, S. N., and Edwin, L. 2012. Trawl codend selectivity in respect of silver pomfret Pampus argenteus (Euphrasen, 1788). Society of Fisheries Technologists (India) 49: 1-4.

Chen, J., Del Genio, A. D., Carlson, B. E., and Bosilovich, M. G. 2008. The spatiotemporal structure of twentieth-century climate variations in observations and reanalysis. Journal of Climate 21(11): 2611-2633.

Department of Fisheries (DOF). 2018. Fisheries statistics of Thailand 2018. ed. 5. Bangkok: Ministry of Agriculture and Cooperatives.

Department of Fisheries (DOF). 2019. Fisheries statistics of Thailand 2019. ed. 5. Bangkok: Ministry of Agriculture and Cooperatives.

Food and Agriculture Organization of the United Nations (FAO). 1974. Eastern Indian Ocean fishing area 57 and Western Central Pacific fishing area 71: Species identification sheets for fishery purposes. Rome: FAO.

Food and Agriculture Organization of the United Nations (FAO). 2020. The state of world fisheries and aquaculture (SOFIA) In brief. Sustainability in action. Rome: FAO.

Froese, R., and Binohlan, C. 2000. Empirical relationships to estimate asymptotic length, length at first maturity and length at maximum yield per recruit in fishes, with a simple method to evaluate length frequency data. Journal of Fish Biology 56: 758-773.

Funge-Smith, S., and Kennelly, S. J. 2014. Managing tropical fisheries - using trawl fisheries to look at issues and solutions.

Journal of the Marine Biological Association of India 56(1): 8-12.

Keledjian, A., Brogan, G., Lowell, B., Warrenchuk, J., Enticknap, B., Shester, G., and Cano-Stocco, D. 2014. Wasted catch:

unsolved problems in US fisheries. Washington, DC: Oceana.

Kimura, S., Satapoomin, U., and Matsuura, K. 2009. Fishes of Andaman Sea: west coast of southern Thailand.

Tokyo: National Museum of Nature and Science.

Rouxel, Y., and Montevecchi, W. 2018. Gear sustainability assessment of the Newfoundland inshore northern cod fishery.

Ocean and Coastal Management 163: 285-295.

Samphan, P. 2016. Abundance and species composition of demersal fish, with descriptions of dominance species in

Moo–Kho Bulon, Satun province, Thailand. International Journal of Agricultural Technology 12(1): 63-73.

Srithong, N., Jensen, K. R., and Jarernpornnipat, A. 2021. Application of the ecopath model for evaluation of ecological structure and function for fisheries management: a case study from fisheries in coastal Andaman Sea, Thailand. Regional Studies in Marine Science 47: 1-10.