การพัฒนาคำแนะนำการจัดการธาตุอาหารหลักเฉพาะพื้นที่สำหรับอ้อยในชุดดินกำแพงแสน เขตภาคกลางฝั่งตะวันตก ประเทศไทย

Main Article Content

สุชาดา กรุณา
นภาพร พันธุ์กมลศิลป์
ธวัชชัย อินทร์บุญช่วย
วิภาวรรณ ท้ายเมือง
อัญธิชา พรมเมืองคุก
สิรินภา ช่วงโอภาส

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคำแนะนำการจัดการธาตุอาหารหลักเฉพาะพื้นที่ และความเป็นไปได้ในการปรับใช้คำแนะนำธาตุอาหารหลักเฉพาะพื้นที่สำหรับอ้อยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในเขตภาคกลางฝั่งตะวันตก พร้อมทั้งหาแนวทางการจัดการปุ๋ยอ้อยเพื่อให้ได้ผลตอบแทนสูงสุด สร้างคำแนะนำการใช้ปุ๋ยโดยนำเข้าข้อมูลดิน ภูมิอากาศ การจัดการของพื้นที่ศึกษา สัมประสิทธิ์พันธุกรรมพืช ร่วมกับฐานข้อมูลปุ๋ยสั่งตัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในแบบจำลองการปลูกพืช DSSAT (Decision Support System for AgroTechnology Transfer) เพื่อกำหนดอัตราปุ๋ยไนโตรเจนที่มีความเป็นไปได้ในพื้นที่ศึกษา และทดสอบความแม่นยำผ่านแปลงทดลอง เปรียบเทียบผลของคำแนะนำที่มีอยู่เดิม 2 คำแนะนำ ได้แก่ คำแนะนำการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินสำหรับอ้อยของกรมวิชาการเกษตร (T1)  และคำแนะนำปุ๋ยสั่งตัดสำหรับอ้อยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (T2)  กับคำแนะนำที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ (T3 T4 T5) คือ คำแนะนำปุ๋ยอ้อยเฉพาะพื้นที่สำหรับแปลงทดสอบ (T3) คำแนะนำอัตราปุ๋ยไนโตรเจน 0.5 เท่าของตำรับ T3 (T4) และคำแนะนำอัตราปุ๋ยไนโตรเจน 1.5 เท่าของตำรับ T3 (T5) ทำการทดลองบนชุดดินกำแพงแสน ผลการวิจัยพบว่า ตำรับ T3 (คำแนะนำฯ ที่พัฒนาขึ้นใหม่) ให้ค่าเฉลี่ยผลผลิตใกล้เคียงกับตำรับ T2 และให้ผลผลิตสูงกว่าตำรับ T1 ทั้งอ้อยปลูกและอ้อยตอ และผลผลิตจากการใส่ปุ๋ยแบบเกษตรกร นอกจากนี้ยังพบว่า ตำรับ T3 ประหยัดต้นทุนค่าปุ๋ยและให้ผลตอบแทนสุทธิสูงกว่าวิธีเดิมของเกษตรกรอย่างชัดเจน จึงมีความเป็นไปได้ในการนำคำแนะนำที่สร้างขึ้นใหม่และการประยุกต์ใช้คำแนะนำปุ๋ยสั่งตัดสำหรับอ้อยภาคตะวันออกเฉียงเหนือมาใช้เพื่อเพิ่มผลผลิตอ้อยในพื้นที่ภาคกลางฝั่งตะวันตก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา กิระศักดิ์, ทักษิณา ศันสยะวิชัย, วีระพล พลรักดี และอัมราวรรณ ทิพยวัฒน์. 2558. การวัดค่าความหวานของอ้อยด้วยแสงย่านใกล้อินฟราเรด. วารสารวิชาการเกษตร 33(2): 159–168.

กองปฐพีวิทยา. 2538. คำแนะนำการใช้ปุ๋ยพืชไร่. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

คณาจารย์ภาควิชาพืชไร่นา. 2542. พืชเศรษฐกิจ. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

จุฑามาศ ปูริยะ, วีรพงษ์ ชำนาญผา, พิชัย บุตรสีภูมิ และอนุพงศ์ วงค์ตามี. 2563. การประเมินศักยภาพการให้ผลผลิตระหว่างอ้อยปลูกและอ้อยตอ 1 จำนวน 16 สายพันธุ์ที่ปลูกในสภาพพื้นที่ดินทรายของจังหวัดพิษณุโลก. วารสารเกษตรนเรศวร 17(2): 1-8.

ทักษิณา ศันสยะวิชัย, กอบเกียรติ ไพศาลเจริญ และปรีชา กาเพ็ชร. 2548. การตอบสนองต่อปุ๋ยของอ้อยพันธุ์ 94-2-200 อ้อยข้ามแล้ง ใน: การศึกษาลักษณะทางการเกษตรของโคลนอ้อยชุด 2537. ใน รายงานผลงานวิจัยประจำปี 2551. ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น กรมวิชาการเกษตร.

นภาพร พันธุ์กมลศิลป์, อรรถศิษฐ์ วงศ์มณีโรจน์, สุชาดา กรุณา, อัญธิชา พรมเมืองคุก, ธวัชชัย อินทร์บุญช่วย และธเนตร ศรีสุข. 2560. การวิเคราะห์ปัญหาการเกษตรเชิงพื้นที่เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการจัดการทรัพยากรการเกษตรอย่างยั่งยืนในเขตภาคกลางฝั่งตะวันตกของประเทศไทย. ใน รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ปีงบประมาณ 2561.

นุชจรินทร์ พึ่งพา และอรรถสิทธิ์ บุญธรรม. 2555. การศึกษาปริมาณน้ำที่เหมาะสมในแต่ละช่วงของอายุการเจริญเติบโตของอ้อย. ใน เอกสารประกอบการประชุมวิชาการแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 9 “ตามรอยพระยุคลบาท เกษตรศาสตร์กำแพงแสน”. น. 2241-2247. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, นครปฐม.

ยงยุทธ โอสถสภา. 2556. ธาตุอาหารและการเจริญเติบโตของอ้อย. วารสารดินและปุ๋ย 35(1-4): 65-77.

สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย. 2564. รายงานพื้นที่ปลูกอ้อย ปีการผลิต 2563/2564. http://www.ocsb.go.th/upload/journal/fileupload/9315-6906.pdf (9 ธันวาคม 2564).

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2562. ราคาขายปลีกปุ๋ยเคมีรายเดือน. http://www. oae.go.th/view 1/ปัจจัยการผลิต/TH-TH (2 มิถุนายน 2562).

สุวรรณา ประณีตวตกุล และสมพร อิศวิลานนท์. 2553. การประเมินผลกระทบของโครงการการจัดการธาตุอาหารพืชเฉพาะพื้นที่เพื่อการผลิตพืชอย่างยั่งยืน. วารสารวิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์ 31(2): 231-244.

อรรถศิษฐ์ วงศ์มณีโรจน์. 2552. การพัฒนาระบบคำแนะนำการใช้ปุ๋ยเคมีเพื่อยกระดับการผลิตอ้อย: การทดสอบความแม่นยำของระบบคำแนะนำปุ๋ยอ้อย. ใน รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการสร้างองค์ความรู้และพัฒนาด้านอ้อย โครงการระยะสั้น ปี 2552. สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กระทรวงอุตสาหกรรม.

Attanandana, T., Verapattananirund, P., and Yost, R. 2008. Refining and disseminating site-specific nutrient management technology in Thailand. Agronomy for Sustainable Development 28(2): 291-297.

El-Tilib, M. A., Elnasikh, M. H., and Elamin, E. A. 2004. Phosphorus and potassium fertilization effects on growth attributes and yield of two sugarcane varieties grown on three soil series. Journal of Plant Nutrition 27(4): 663-699.

Fageria, N. K., Baliga, V. C., and Jones, C. A. 2011. Growth and Mineral Nutrition of Field Crops. 3rd ed. New York: Marcel Dekker, Inc.

Phinchongsakuldit, A. 2014. Site-specific nutrient management (SSNM) in Thailand. Food and Fertilizer Technology Center. http://www.agnet.org/library.php (28 August 2016).

Shukla, S. K., Yadav, R. L., Singh, P. N., and Singh, I. 2009. Potassium nutrition for improving stubble bud sprouting, dry matter partitioning, nutrient uptake and winter-initiated sugarcane (Saccharum spp. hybrid complex) ratoon yield. European Journal of Agronomy 30(1): 27-33.