ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของเกษตรกรรุ่นใหม่

Main Article Content

ณัฐชา อิสระกุล
พัชราวดี ศรีบุญเรือง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของเกษตรกรรุ่นใหม่ กลุ่มตัวอย่างคือ เกษตรกรรุ่นใหม่ จำนวน 313 คน เก็บรวบรวมข้อมูลในปี พ.ศ. 2563 โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรรุ่นใหม่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ยเท่ากับ 37.31 ปี ได้รับการศึกษาในระดับปริญญาตรี ร้อยละ 56.23 มีรายได้จากการประกอบอาชีพเกษตรกรรมเฉลี่ยเท่ากับ 228,597.44 บาท/ปี และมีรายจ่ายในครัวเรือนเฉลี่ยเท่ากับ 216,878.91 บาท/ปี ใช้โทรศัพท์มือถือสมาร์ตโฟน เชื่อมต่อจากบ้าน/ที่พักอาศัย ใช้เฟซบุ๊กเป็นช่องทางในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์มากที่สุด ในช่วงเวลา 08.00-12.00 น. เพื่อแสวงหาความรู้ และกิจกรรมหลักคือ การส่งข้อความ โดยมีความรู้เกี่ยวกับสื่อสังคมออนไลน์ในระดับมาก และภาพรวมการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 1.51) ซึ่งแบ่งเป็นรายด้าน พบว่า 1) ด้านการเปิดรับและเข้าถึงสื่อ (ค่าเฉลี่ย 1.53) 2) ด้านการวิเคราะห์และประเมินผล (ค่าเฉลี่ย 1.48) และ 3) ด้านการใช้สื่อและสร้างสรรค์สื่อ (ค่าเฉลี่ย 1.53) ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพรอง ประเภทเกษตรกรรม รายได้ รายจ่าย มีความสัมพันธ์กับการรู้ เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และอาชีพหลัก และความรู้เกี่ยวกับสื่อสังคมออนไลน์                      มีความสัมพันธ์กับการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ทั้งนี้ เกษตรกรรุ่นใหม่ส่วนใหญ่ไม่เคยประสบปัญหาในการใช้สื่อสังคมออนไลน์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2560. Young Smart Farmer อนาคต และทิศทางภาคเกษตรไทย เล่ม 2.

กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. 2559. แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.

ภาณี บุณยเกื้อกูล. 2561. การขับเคลื่อนการพัฒนา Smart Farmer และ Young Smart Farmer ในปีงบประมาณ 2562. https://shorturl.asia/hY1p9 (8 มีนาคม 2563).

วรานันต์ ตันติเวทย์. 2564. การประเมินมูลค่าโลมาสีชมพูทางเศรษฐศาสตร์และการปรับตัวของประชาชนจากกิจกรรมการท่องเที่ยว: กรณีศึกษา อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ปริญญาเศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วิทเอก สว่างจิตร. 2564. การพัฒนาสมรรถนะเกษตรกรสู่การเป็นผู้นำเกษตรกรรุ่นใหม่. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร 3(1): 126-134.

สำนักการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (บส.) และสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.). 2558. รายงานสรุปการสัมมนาว่าด้วยการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศในยุคดิจิตอล.

http://bcp.nbtc.go.th/uploads/items/attachments/45645a27c4f1adc8a7a835976064a86d/_a4ca3ce89880d7e3d6b06912d23f2f68.pdf (8 มีนาคม 2563).

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน). 2562. รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2561.

พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์.

อธิชา วุฒิรังษี. 2564. การรู้เท่าทันสื่อดิทัลของผู้สูงอายุ. วารสารสหศาสตร์ 21(1): 90-106.