การเพิ่มคุณค่าโภชนะของหญ้าเนเปียร์แคระมหาสารคามอัดเม็ดโดยเสริมกากนมถั่วเหลืองและยีสต์ จากโรงงานผลิตเบียร์เพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์

Main Article Content

พรภิมล จันทร์เจริญ
วรพิชชา มาลัย
ณัฐปภัสร์ ธนพิมพาวงศ์
ดรุณี ศรีชนะ
นิภารัตน์ ศรีธเรศ
วิชัย สุทธิธรรม

บทคัดย่อ

       การทำหญ้าอัดเม็ด เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการเก็บรักษาพืชอาหารสัตว์ไว้ใช้ในฤดูที่ขาดแคลน และการใช้สารเสริมจากวัสดุเหลือใช้จากโรงงานอุตสาหกรรม เช่น ยีสต์จากโรงงานผลิตเบียร์ และกากนมถั่วเหลือง ยังเป็นการช่วยเพิ่มคุณค่าทางโภชนะให้กับหญ้าอาหารสัตว์อัดเม็ดอีกด้วย จึงเป็นที่มาของงานวิจัยนี้ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) องค์ประกอบทางเคมีและการย่อยได้ในกระเพาะรูเมนของหญ้าเนเปียร์แคระมหาสารคามอัดเม็ด และ 2) ความเป็นฝุ่นและความคงทนของหญ้าเนเปียร์แคระมหาสารคามอัดเม็ดหลังจากการเก็บรักษาของหญ้าเนเปียร์แคระมหาสารคามอัดเม็ดที่เสริมยีสต์จากโรงงานผลิตเบียร์ที่ระดับ 0 และ 5 เปอร์เซ็นต์ และกากนมถั่วเหลืองที่ระดับ 0, 5 และ 10 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ โดยพบว่า การเสริมกากนมถั่วเหลืองที่ 10 เปอร์เซ็นต์ ร่วมกับยีสต์จากโรงงานผลิตเบียร์ที่ 5 เปอร์เซ็นต์ ส่งผลให้หญ้าเนเปียร์แคระมหาสารคามอัดเม็ดมีโปรตีนรวมเพิ่มขึ้นสูงสุด คือ 19.99 เปอร์เซ็นต์ (P<0.05) และพบว่าหญ้าเนเปียร์แคระมหาสารคามอัดเม็ดที่เสริมกากนมถั่วเหลืองอย่างเดียว 10 เปอร์เซ็นต์ และกลุ่มที่เสริมกากนมถั่วเหลือง 10 เปอร์เซ็นต์ ร่วมกับเสริมยีสต์จากโรงงานผลิตเบียร์ 5 เปอร์เซ็นต์ มีค่าการย่อยได้วัตถุแห้งในกระเพาะ   รูเมนในระดับห้องปฏิบัติการสูงที่สุด คือ 58.86 และ 60.92 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ (P<0.05) นอกจากนี้ยังพบว่า ระยะเวลาการเก็บรักษาไม่มีผลต่อค่าความเป็นฝุ่น (P>0.05) ของหญ้าเนเปียร์แคระมหาสารคามอัดเม็ด การเสริมยีสต์ การเสริมกากนมถั่วเหลืองที่ระดับต่างๆ ส่งผลให้หญ้าเนเปียร์แคระมหาสารคามอัดเม็ด มีค่าความคงทนเท่ากับ 98.09-99.87 เปอร์เซ็นต์ (P<0.05) ซึ่งสูงกว่าหญ้าเนเปียร์แคระมหาสารคามอัดเม็ดที่ไม่เสริมยีสต์และกากนมถั่วเหลือง ซึ่งมีค่าความคงทนเท่ากับ 93.22-96.77 เปอร์เซ็นต์อีกทั้งการเสริมยีสต์และกากนมถั่วเหลืองยังส่งผลให้หญ้าเนเปียร์แคระมหาสารคามอัดเม็ดมีความเป็นฝุ่นน้อยกว่า (0.25-1.39 เปอร์เซ็นต์, P<0.05) หญ้าเนเปียร์แคระมหาสารคามอัดเม็ดที่ไม่เสริมยีสต์และกากนมถั่วเหลือง (2.46-4.08 เปอร์เซ็นต์)

Article Details

How to Cite
จันทร์เจริญ พ. ., มาลัย ว. ., ธนพิมพาวงศ์ ณ. ., ศรีชนะ ด., ศรีธเรศ น. ., & สุทธิธรรม ว. . (2024). การเพิ่มคุณค่าโภชนะของหญ้าเนเปียร์แคระมหาสารคามอัดเม็ดโดยเสริมกากนมถั่วเหลืองและยีสต์ จากโรงงานผลิตเบียร์เพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 42(3), 381–386. https://doi.org/10.55003/kmaj.2024.11.22.013
บท
บทความวิจัย

References

AOAC. (1995). Official Method of Analysis. 15THed. Association of Official Analytical Chemists.

ASAE. (1983). ASAE Standard S319 Method of Determining and Expressing Fineness of Feed Material by Sieving. American Society of Agricultural Engineers.

Behnke, K. C. (1994). Factor affecting pelleting quality. In Maryland Nutrition Conference, pp. 44-54. University of Maryland.

Behnke, K. C., & Beyer, R. S. (2002). Effect of feed processing on broiler performance. In VIII International Seminar on Poultry Production and Pathology, pp. 1-28. Chile.

Department of Livestock Development. (2004). Table of Nutritional Value of Feed Ingredients. Department of Livestock Development.

Goering, H. K., & Van Soest, P. J. (1970). Forage Fiber Analysis (Apparatus, Reagents, Procedures and Some Application). Government Printing Office.

Kamphayae, S., Kumagai, H., Angthong, W., Narmseelee, R., & Bureenok, S. (2017). Effects of different ratios and storage periods of liquid brewer’s yeast mixed with cassava pulp on chemical composition, fermentation quality and in vitro ruminal fermentation. Asian Australasian Journal of Animal Sciences, 30, 470-478.

Mapato, C., & Wanapat, M. (2017). Sweet grass (Pennisetumpurpureumcv. Mahasarakham), a new alternative grass for ruminant. Dairy Journal, 34(2), 57-63.

Nakarin, P., Choosit, C., Thanat, B., & Chutiwalanch, S. (2017). Effects of Pellet Die Thickness and Main Shaft Revolution on Pelleted Feed Quality. Academic Articles ChiangMai Rajabhat University Intellectual Repository.

Nawinya, P. (2019). Prebiotic Property of β-mannanase Fermented from Soy-milk Residue with Aspergillus niger for Feed Supplement. Master’s thesis. Thammasat University.

O’Toole, D. K. (1999). Characteristics and Use of Okara, the Soybean Residue from Soymilk Production - A Review. Journal of Agricultural and Food Chemistry, 47(2), 363–371.

Paisantham, C., Plobthong, B., Jantrakul, P., Tamraungit, J., & Maksiri, W. (2020). Effects of Cutting Intervals on Growth, Yield and Chemical Composition of Second Cutting Sweet Grass (Pennisetum purpureum cv. Mahasarakham) in Phetchaburi Soil Series. In Proceedings of the 13th NPRU National Academic Conference, pp. 150-156. Nakhon Pathom Rajabhat University.

Srichana, D., Suttitham, W., Thongsunthiah, P., Panja, P., & Jariyapamornkoon, N. (2014). Nutrients and ruminal digestibility of baby corn by-product silages under different harvesting medthods. Thammasat International Journal of Science and Technology, 19(2), 30-36.

Srichana, D., Pimpa, N., Sritharet, N., & Sutthitham, W. (2022). Nutritional Value and Ruminal Digestibility of Mahasarakham Dwarf Elephant Grass (Pennisetum purpureum cv. Mahasarakham) Silage Supplemented with Soymilk. Thai Science and Technology Journal, 30(1), 31-37.

Van der Riet, W. B., Wight, A. W., Cilliers, J. J. L., & Datel, J. M. (1989). Food chemical investigation of tofu and its by-product okara. Food Chemistry, 34, 193-202.

Wanida, B. (2018). Development of Nutritional Value of Rice Bran and Defatted Rice Bran for Animal Feed Using Brewer’s Yeast. Master’s thesis. Thammasat University.