การพัฒนาเว็บไซต์โครงการประกาศกฎบัตรเพื่อสร้างความยั่งยืนของอาหารทะเลในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการกำหนดแผนดำเนินงานในการประกาศกฎบัตรเพื่อสร้างความยั่งยืนของอาหารทะเลในประเทศไทย 2) พัฒนาเว็บไซต์โครงการฯ และ 3) ศึกษาความคิดเห็นของผู้ใช้งานเว็บไซต์โครงการฯ โดยมีการดำเนินงานแบ่งออกเป็น 3 ระยะ มีวิธีการเก็บข้อมูลดังนี้ 1) ศึกษาเอกสารและสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ 2) พัฒนาเครื่องมือและทดลอง และ 3) ศึกษาความคิดเห็นโดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาแนวทางในการประกาศกฎบัตรเพื่อสร้างความยั่งยืนฯ คือ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการประกอบธุรกิจอาหารทะเล จำนวน 5 ท่าน ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาและเว็บไซต์ จำนวน 5 ท่าน ที่ได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อการใช้งานเว็บไซต์โครงการฯ คือ ผู้ประกอบการ นักวิชาการ และบุคคลทั่วไปที่ให้ความสนใจเข้าร่วมงานสัมมนา SB’20 Chantaboon จำนวน 56 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และ 2) แบบสอบถามความคิดเห็น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า มาตรฐานการประกอบธุรกิจอาหารทะเลแบบยั่งยืนทั้ง 12 ข้อ สามารถจำแนกออกได้เป็นแนวปฏิบัติของ 3 กลุ่มของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในโครงการฯ ได้แก่ กลุ่มที่ 1 การดูแลห่วงโซ่ต้นน้ำ (การซื้อ) กลุ่มที่ 2 การดูแลห่วงโซ่กลางน้ำ (การผลิต) และ กลุ่มที่ 3 การดูแลห่วงโซ่ปลายน้ำ (การขาย) แผนการดำเนินงานสำหรับการประกาศกฎบัตรแบ่งได้เป็น 4 ระยะ และผลการศึกษาความคิดเห็นของผู้ใช้งานเว็บไซต์ พบว่า ในภาพรวมกลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยกับประเด็นการออกแบบและเนื้อหาที่มีบนเว็บไซต์ อยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารเกษตรพระจอมเกล้า
References
จินตวีร์ คล้ายสังข์ และประกอบ กรณียกิจ. 2559 การออกแบบเว็บเพื่อการเรียนการสอน แนวการประยุกต์ใช้สาหรับการเรียนการ
สอนแบบผสมผสานอีเลิร์นนิงและออนไลน์เลิร์นนิง. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฐฐา ถิรโสภี และชัยวัฒน์ อุตตมากร. 2562. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจเชิงพฤติกรรมในการใช้เทคโนโลยีเว็บพอร์ทัลของการเรียนการ
สอนในระบบเปิด Thai MOOC. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร 39(5): 96-116.
ฎาพร โฉมที และณักษ์ กุลิสร์. 2557. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมและความพึงพอใจในการใช้บริการเว็บบล็อกโฆษณาของผู้ใช้ระบบเครือข่าย
สังคมบนอินเทอร์เน็ต. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยของแก่น 9(3): 78-86.
รัฐธีร์ ปภัสสุรีย์โชติ และอรนุช เศวตรัตนเสถียร. 2556. การใช้เทคโนโลยีเว็บ 2.0 ของห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐ. Journal of Information
Science 29(3): 14-30.
Thai chefs for good. 2020. Thai chefs for good manifesto (Seafood Chapter). http://www.thaichefsforgood.com/ (10 January 2020).