การพัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ เพื่อการเสริมสร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจชุมชน ผ่านผลิตภัณฑ์จากหญ้าแฝกผสมกก ในจังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

กัลยาณี กุลชัย
พีรชัย กุลชัย
ก่อคเณศ รุ้งสันเทียะ
พสธร เดชศิริอุดม

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภูมิปัญญาเดิมของบ้านคอนสายในการผลิตสินค้าจากกกและ สำรวจศักยภาพการผลิตหญ้าแฝก ในจังหวัดอุดรธานี 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ จากใบหญ้าแฝกร่วมกับกก การใช้สีย้อมจากธรรมชาติในท้องถิ่นที่เหมาะสม ในการนำมาผลิตสินค้าที่ตรงกับอุปทาน ของตลาด และ  3) ประเมินความคิดเห็นที่มีต่อผลิตภัณฑ์จากกกทอกับใบหญ้าแฝกที่ออกแบบและพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ ที่จะเป็นบทเรียนในการสร้างชุมชนเข้มแข็งต่อไป ใช้วิธีการศึกษาแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ มีขั้นตอน 4 ขั้นตอน 1) เก็บข้อมูล ภูมิปัญญาเดิมจากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับสนทนากลุ่มจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จำนวน10 คน กลุ่มที่ 2 คือ ผู้บริโภค จำนวน 30 คน ด้วยแบบสัมภาษณ์ 2) นำข้อมูลที่ได้มาออกแบบและทำต้นแบบ 3) นำต้นแบบไปให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 2 ท่าน ประเมิน และนำไปให้ผู้บริโภค จำนวน 8 ราย ประเมินความพึงพอใจ 4) สรุปวิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูลผลการศึกษา พบว่า หมู่บ้านคอนสาย มีการผลิตเสื่อกกตามภูมิปัญญาเดิม ผู้บริโภคซื้อสินค้าประเภทเสื่อมากที่สุด คือ ร้อยละ 66.67 วัตถุประสงค์การซื้อสินค้าเพื่อนำไปใช้ในครอบครัว สีของผลิตภัณฑ์ที่ชอบคือสีธรรมชาติ  ผู้วิจัยได้พัฒนาผลิตภัณฑ์จากแฝกผสมกก ด้วยการย้อมสีธรรมชาติจากรากและใบแฝก และนำเส้นกกที่ย้อม รวมถึงเส้นแฝกสีธรรมชาติ ไปทอเสื่อ นำไปออกแบบและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์กระเป๋า จำนวน 2 ใบ นำไปให้ผู้เชี่ยวชาญและผู้บริโภคประเมิน โดยมีความคิดเห็นว่ามีความสวยงาม และสามารถเพิ่มมูลค่าได้ ใช้งานได้จริง   ทำให้ผลิตภัณฑ์มีความหลากหลาย เป็นการนำหญ้าแฝกมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเพิ่มมูลค่า

Article Details

How to Cite
กุลชัย ก., กุลชัย พ., รุ้งสันเทียะ ก., & เดชศิริอุดม พ. . (2023). การพัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ เพื่อการเสริมสร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจชุมชน ผ่านผลิตภัณฑ์จากหญ้าแฝกผสมกก ในจังหวัดอุดรธานี. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 41(1), 41–50. https://doi.org/10.55003/kmaj.2023.04.30.005
บท
บทความวิจัย
Author Biography

พสธร เดชศิริอุดม, บริษัทอ้วนกลมแฮปปี้ฟาร์ม 648 หมู่ที่ 1 บ้านตาด ตำบล บ้านตาด อำเภอเมืองอุดรธานี อุดรธานี 41000

Uan Klom Happy Farm Co., Ltd. 648  Moo 1 , Ban Tat Subdistrict, Mueang Udon Thani District, Udon Thani 41000

References

Chanthrasa, R., Rueangwansak,. K. & Panithiphong, P. (2010). Research report on development of handicraft products from vetiver leaves. Bangkok: Suan Sunandha Rajabhat University. (in Thai).

Information and Communication Technology Center , Land Development Department.

(2020). Vetiver grass planting project management and monitoring system. Retrieved from: http://eis.ldd.go.th/lddeis/vgt.aspx. (in Thai).

The Chaipatana Foundation. (2008). Vetiver. Retrieved from: https://shorturl.asia/zm47Mhttps. (in Thai).

Wongsaken, M., & Sriwichailamphan, T. . (2015). Consumer’s Satisfaction Toward Catechins Facial Cream Produces in Mueang District, Chiang Mai Province Retrieved From: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69114. (in Thai).

Mccathy, E. J., & Pereault, Jr., W. D. (1991). Basic Marketing. New York : Mc Graw-Hill.

Suksod, T. (2001). Industrial design. Bangkok : O Dian Sato Publishing house. (in Thai).