คุณภาพน้ำเชื้อของเสือปลาในกรงเลี้ยงที่ได้จากผลของการรีดน้ำเชื้อโดยวิธีการกระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้า
Main Article Content
บทคัดย่อ
เสือปลา (Prionailurus viverrinus) จัดอยู่ในกลุ่มเสือหรือแมวขนาดเล็ก มีขนมันวาวหยาบสั้นสีเทาอมน้ำตาล มีเส้นและจุดรี ๆ สีน้ำตาลพาดตามแนวยาวของลำตัวทั่วทั้งตัว เป็นสัตว์ป่าชนิดหนึ่งที่สำคัญ เนื่องจากจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองของไทย สัตว์ใกล้สูญพันธุ์ (IUCN) และเป็นสัตว์ในบัญชีชนิดพันธุ์หมายเลข 2 (CITES) วัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้ เพื่อศึกษาคุณภาพน้ำเชื้อที่ได้จากการรีดน้ำเชื้อด้วยวิธีการกระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้า ทำการรีดน้ำเชื้อเสือปลาจำนวน 5 ตัว อายุประมาณ 13 ปี น้ำหนัก 9-16 กิโลกรัม เสือปลาถูกวางยาสลบด้วย dexmedetomidine (0.02 มิลลิกรัม/กิโลกรัม) กับ ketamine (4 มิลลิกรัม/กิโลกรัม) ก่อนทำการรีดน้ำเชื้อ กระแสไฟฟ้าที่ใช้กระตุ้นอยู่ในช่วง 0.5-5 โวลต์ โดยทำการสอดแท่งนำกระแสไฟฟ้าขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.27 เซนติเมตร เข้าทางช่องทวารหนัก และกระตุ้นเป็นจังหวะโดยใช้การปล่อยกระแสไฟฟ้าด้วยโปรแกรมอัตโนมัติ ผลการตรวจคุณภาพน้ำเชื้อของเสือปลาจำนวน 16 ครั้ง จากการรีดทั้งหมด 20 ครั้ง พบว่า ปริมาตรของน้ำเชื้อและการเคลื่อนไหวของอสุจิมีความ ผันแปรมาก ปริมาตรน้ำเชื้อเฉลี่ย 43.13 ไมโครลิตร (อยู่ในช่วง 5-200 ไมโครลิตร) มีค่าความเป็นกรด-ด่าง เฉลี่ย 5.81 (อยู่ในช่วง 5-7) มีการเคลื่อนไหวของอสุจิเฉลี่ย 28.25 เปอร์เซ็นต์ (อยู่ในช่วง 1-90 เปอร์เซ็นต์) และความเข้มข้นอสุจิเฉลี่ย 207.44 ล้านตัวต่อมิลลิลิตร (อยู่ในช่วง 12-860 ล้านตัวต่อมิลลิลิตร) ผลของการศึกษาในครั้งนี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการเก็บน้ำเชื้อแช่แข็งและการผสมเทียมในเสือปลาเพื่อการขยายพันธุ์และการอนุรักษ์จำนวนประชากรเสือปลาต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารเกษตรพระจอมเกล้า
References
Arnemo, J. M. (2002). Reversible anaesthesia in non-domestic cats. Tromsø: Norwegian School of Veterinary Science.
IUCN. (2008). IUCN Red List of Threatened Species. Retrieved from: www.iucnredlist.org.
Khonmee, J., Brown, J. L., Rojanasthien, S., Thumasanukul, D., Kongphoemphun, A., Siriaroonrat, B., Tipkantha, W., Punyapornwithaya, V. & Thitaram, C. (2014). Seasonality of fecal androgen and glucocorticoid metabolite excretion in male goral (Naemorhedus griseus) in Thailand. Animal reproduction science. 146(1-2), 70-78.
Nowell, K. & Jackson, P. (1996). Wild Cats: Status Survey and Conservation Action Plan. Cambridge: The Burlington Press.
Pinyopummin, A., Aunsusin, A., Kornkaewrat, K., Suthanmapinunt, P., Thiangtum, K. & Sirinarumitr, K. (2011). Semen Quality in Fishing Cats (Prionailurus viverrinus) with Unilateral Cryptorchidism or Presumptive Testicular Hypoplasia: A Preliminary Result. The Thai Journal of Veterinary Medicine. 41, 127-128.
Santymire, R. M., Brown, J. L., Stewart, R. A., Santymire, R. C., Wildt, D. E. & Howard, J. (2011). Reproductive gonadal steroidogenic activity in the fishing cat (Prionailurus viverrinus) assessed by fecal steroid analyses. Animal reproduction science. 128(1-4), 60-72.
Shivaji, S., Kholkute, S. D., Verma, S. K., Gaur, A., Umapathy, G., Singh, A., Sontakke, S., Shailaja, K., Reddy, A., Monika, S., Sivaram, V., Jyotsna, B., Bala, S., Ahmed, M. S., Bala, A., Chandrashekar, B. V., Gupta, S., Prakash, S. & Singh, L. (2003). Conservation of wild animals by assisted reproduction and molecular marker technology. Indian journal of experimental biology. 41(7), 710-723.
Swanson, W. F. (2006). Application of assisted reproduction for population management in felids: the potential and reality for conservation of small cats. Theriogenology. 66(1), 49-58.
Thiangtum, K., Swanson, W. F., Howard, J., Tunwattana, W., Tongthainan, D., Wichasilpa, W., Patumrattanathan, P. & Pinyopoommintr, T. (2006). Assessment of basic seminal characteristics, sperm cryopreservation and heterologous in vitro fertilisation in the fishing cat (Prionailurus viverrinus). Reproduction, Fertility and Development. 18(3), 373-382.
Wasalai, W. (2007). Fishing cat. Retrieved from: http://www.verdantplanet.org/. (in Thai).
Zanetti, E. S., Munerato, M. S., Cursino, M. S. & Duarte, J. M. (2014). Comparing two different superovulation protocols on ovarian activity and fecal glucocorticoid levels in the brown brocket deer (Mazama gouazoubira). Reproductive biology and endocrinology. 12(24), 12-24.