การสร้างตราสินค้าและการรับรู้ตราสินค้าฟาร์มเจ้าคุณ By KMITL

Main Article Content

จีรนันท์ เขิมขันธ์
รัญคุณานิชช กันหลง
ประพัฒน์ อธิปัญจพงษ์
รัตตมา รัตนวงศา

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากระบวนการสร้างตราสินค้าฟาร์มเจ้าคุณ By KMITL 2) เพื่อศึกษาการรับรู้ตราสินค้าฟาร์มเจ้าคุณ By KMITL ของผู้บริโภค วิธีการเก็บข้อมูลใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกจากคณะกรรมการบริหารและเจ้าหน้าที่ฟาร์มเจ้าคุณ By KMITL 10 คน และลูกค้าประจำ 25 คน ในการศึกษากระบวนการสร้างตราสินค้าฟาร์มเจ้าคุณ By KMITL  และใช้แบบสอบถามออนไลน์ โดยเก็บข้อมูลจากลูกค้าฟาร์มเจ้าคุณ จำนวน 300 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ t-test, F-test และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ในการศึกษาการรับรู้ตราสินค้าฟาร์มเจ้าคุณ By KMITL ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการสร้างตราสินค้ามีทั้งสิ้น 6 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นระบุกลุ่มเป้าหมาย เป็นบุคคลภายใน และภายนอกสถาบันฯ ที่สนใจสินค้าเกษตรสุขภาพ 2) ขั้นออกแบบตราสินค้า คือ เป็นตราสินค้าที่นำเสนอสินค้าที่มีคุณภาพ ปลอดภัย มีงานวิจัยรับรอง และการมีส่วนร่วมสนับสนุนนักศึกษา 3) ขั้นสร้างเอกลักษณ์ของตราสินค้า เป็นตราสินค้าที่สะท้อนถึงความน่าเชื่อถือและการการันตีด้วยคุณภาพ 4) ขั้นปฏิบัติการนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ ของตราสินค้าทั้งหมดสู่ผู้บริโภค โดยนำเสนอผ่านกลยุทธ์และกิจกรรมทางการตลาดต่าง ๆ 5) ขั้นยกระดับตราสินค้า ซึ่งยังไม่ปรากฏว่ามีการยกระดับตราสินค้าเนื่องจากเป็นช่วงเริ่มก่อตั้ง 6) ขั้นการบริหารคุณค่าตราสินค้า คุณค่าที่ผู้บริโภคได้รับ คือ เป็นผู้สนับสนุนการศึกษาได้บริโภคสินค้าปลอดภัย มีคุณภาพ ในส่วนการรับรู้ตราสินค้าอยู่ในระดับมากทั้งหมด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีการรับรู้ตราสินค้าด้านวัฒนธรรมองค์กรมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ด้านคุณประโยชน์สินค้า ด้านบุคลิกภาพ ด้านคุณค่า ด้านคุณสมบัติ และด้านผู้ใช้/ผู้ซื้อ และพบว่าข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่ต่างกัน มีการรับรู้ตราสินค้าฟาร์มเจ้าคุณ By KMITL แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกศินี บัวดิศ และกัลยา พิมพ์เพราะ. 2564. การสร้างแบรนด์ให้ประสบความสำเร็จด้วยเครื่องมือนวัตกรรมทางการสื่อสารการตลาด. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 11(2): 305-320.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ปริญ ลักษิตานนท์ และศุภร เสรีรัตน์. 2552. การบริหารตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.

อัมพล ชูสนุก, จอมพล เวชการ, ฉวีวรรณ ชูสนุก และกิตติ เจริญพรพานิชกุล. 2560. อิทธิพลการรับรู้คุณค่าด้านราคา และด้านคุณภาพต่อความ

ไว้วางใจ ความพึงพอใจ การบอกต่อ และการกลับมาซื้อซ้ำของผู้บริโภคสินค้าไทยกูลิโกะในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารธุรกิจ

ศรีนครินทรวิโรฒ 8(1): 13-26.

Aaker, D. A. 1991. Managing brand equity: Capitalizing on the value of a brand name. New York: The Free Press.

Hanf, J. H. and Kühl, R. 2005. Branding and its consequences for German agribusiness. Agribusiness 21(2): 177-189.

Keller, K. L. 2008. Strategic branding management: Building, measuring, and managing brand equity. 3rd ed. Upper Saddle River:

Prentice Hall.

Marin, L., Ruiz, S. and Rubio, A. 2009. The role of identity salience in the effects of corporate social responsibility on consumer behavior. Journal of Business Ethics 84(1): 65-78.

Oyedele, A., Saldivar, R., Hernandez, M. D. and Goenne, E. 2018. Modeling Satisfaction and Repurchase Intention of Mobile Smart Wristbands: The Role of Social Mindfulness and Perceived Value. Young Consumers 19(3): 237-250.

Randall, G. 1997. Branding. Great Britain: Clay.