ศักยภาพการทนแล้งและผลผลิตของข้าวไร่พันธุ์พื้นเมืองและพันธุ์แนะนำในประเทศไทย

Main Article Content

จรัญญา แขกสวัสดิ์
สุวัจน์ อิ่มวิชิต
ประภัสสร วิจิตรจันทร์
สัณห์ฐิศ รีวราบัณฑิต
นัฐวรรณ บุษบา
สุนันทรา บรรจบพุดซา
ธนสิน ทับทิมโต
กนกวรรณ ศรีคชา
เบญญาภา ทองศรี
พงศธร สุขสวัสดิ์
พีรดา อินทะเสน
ประพฤติ พรหมสมบูรณ์
ธีรวัฒน์ ศรุตโยภาส
ไพรัตน์ พิมพ์ศิริกุล

บทคัดย่อ

     ข้าวไร่มักจะมีเสถียรภาพในการให้ผลผลิตต่ำเนื่องจากความไม่สม่ำเสมอของปริมาณน้ำฝนในฤดูปลูก ความสามารถทนแล้งของพันธุ์ปลูกจะช่วยให้ผลผลิตมีเสถียรภาพมากขึ้น จึงได้ทำ 2 การทดลองเพื่อประเมินศักยภาพการทนแล้งและผลผลิตของข้าวไร่พันธุ์พื้นเมืองและพันธุ์แนะนำในประเทศไทย 11 พันธุ์ ร่วมกับพันธุ์บาเกียว IR1552 และขาวดอกมะลิ 105 ประเมินศักยภาพการทนแล้งด้วยดัชนี 4 ลักษณะ คือ ความยาวรากสูงสุด น้ำหนักรากแห้ง สัดส่วนระหว่างน้ำหนักรากแห้ง/น้ำหนัก         ต้นแห้งและค่าการสูญเสียน้ำผ่านปากใบที่อายุ 40 วันหลังปลูกในกระถาง ใช้แผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ 3 ซ้ำ ทำการทดลองที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กรุงเทพฯ และเปรียบเทียบผลผลิตในสภาพไร่ ที่แปลงทดลองของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก จังหวัดชลบุรี ในฤดูฝน ปี พ.ศ. 2562 (ส.ค.-ธ.ค.) ใช้แผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ภายในบล็อค 3 ซ้ำ สุ่มบันทึกข้อมูลผลการทดลอง 10 กอ/หน่วยทดลอง ผลการทดลองพบว่า พันธุ์บาเกียว             มีดัชนีการทนแล้งดีที่สุดเนื่องจากมีรากยาวที่สุด (50.00 ซม.) สัดส่วนระหว่างน้ำหนักรากแห้ง/น้ำหนักต้นแห้งสูงที่สุด (0.61) และการสูญเสียน้ำผ่านปากใบต่ำที่สุด (1.39 mmol m-2s-1) โดย IR1552 และขุนวาง มีดัชนีการทนแล้งสูงเป็นอันดับ 2 และ 3 รองจากบาเกียว มีความยาวรากสูงสุด 44.10 และ 43.23 ซม. สัดส่วนระหว่างน้ำหนักรากแห้ง/น้ำหนักต้นแห้ง 0.53 และ 0.51 และมีการสูญเสียน้ำผ่านปากใบ 1.41 และ 1.43 mmol m-2s-1 ตามลำดับ โดยพันธุ์ซิวเกลี้ยงมีดัชนีทนแล้งต่ำกว่าพันธุ์อื่น ๆ ภายใต้สภาวะเครียดแล้ง เนื่องจากปริมาณน้ำฝนน้อยและกระจายไม่สม่ำเสมอและดินร่วนทรายพบว่า พันธุ์บาเกียวให้ผลผลิตสูงสุด 139.13 กรัม/กอ รองลงมาคือ พญาลืมแกง 78.67 กรัม/กอ ส่วนขาวดอกมะลิ 105 ให้ผลผลิต 51.42 กรัม/กอ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษฎาพร ผลวงษ์, ธานี ศรีวงศ์ชัย, เชนษฎ์ ม้าลำพอง และประภา ศรีพิจิตต์. 2561. การประเมินลักษณะรากข้าวในประชากรชั่วที่ 2 จากคู่ผสมระหว่างข้าวนาสวนและข้าวไร่. Thai Journal of Science and Technology 7(5): 471-480.

กองวิจัยและพัฒนาข้าว. 2565. พันธุ์ข้าว. กรมการข้าว. https://webold.ricethailand.go.th/rkb3/Varieties.htm (23 กุมภาพันธ์ 2565).

ชูศักดิ์ จอมพุก. 2555. สถิติ : การวางแผนการทดลองและการวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยด้านพืชด้วย R. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ดวงเดือน โทปุรินทร์, ยุธิดา สกุลทอง, ปัญญา มาดี, ปิยดา ธีรกุลพิศุทธิ์, จิรวัฒน์ สนิทชน และวัฒนชัย ล้นทม. 2557. ผลของความเครียดแล้งต่อคลอโรฟิลล์ฟลูออเรสเซนซ์ ดัชนีความเขียวและค่าชลศักย์ในใบของข้าวเหนียวดำพันธุ์ลืมผัว (Oryza sativa L.cv. Luemphua) ในระยะกล้า. ใน รายงานการประชุมวิชาการข้าวแห่งชาติ ครั้งที่ 3. น. 23-26. โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ คอนเวนชั่น, กรุงเทพมหานคร.

พีระยศ แข็งขัน และอนันต์ พลธานี. 2539. ผลของการให้น้ำในระยะการเจริญเติบโตต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวขาวดอกมะลิ 105. วารสารแก่นเกษตร 12(3): 256-262.

สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย. 2565. Rice Exports Statistics. http://www.thairiceexporters.or.th/statistic_2021.html (10 พฤษภาคม 2565).

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2565. ข้อมูลการผลิตสินค้าเกษตร. ข้าวนาปี 2563. http://www.oae.go.th/production.html (9 พฤษภาคม 2565).

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2565. ข้อมูลการผลิตสินค้าเกษตร. ข้าวนาปรัง ปี 2562/63. http://www.oae.go.th/download/prcai/ DryCrop/majorrice/3-60.pdf (9 พฤษภาคม 2565).

AtlasBig. 2022. World Rice Production by Country. https://www.atlasbig.com/en-au/countries-by-rice-production. (27 April, 2022).

IRRI (International Rice Research Institute). 2009. Rough rice production by country and geographical region-USDA. www.irri.org/science/ricestat (27 April 2018).

Kanbar, A., Toorchi, M., and Shashidhar, H. E. 2009. Relationship between root and yield morphological characters in rainfed low land rice (Oryza sativa L.). Cereal Research Communications 37: 261-268.

MacMillan, K., Emrich, K., Piepho, H. P., Mullins, C. E., and Price, A. H. 2006. Assessing the importance of genotype x environment interaction for root traits in rice using a mapping population II: conventional QTL analysis. Theoretical and Applied Genetics 113(5): 953-964.

Ouyang, W., Struik, P. C., Yin, X., and Yang, J. 2017. Stomatal conductance, mesophyll conductance, and transpiration efficiency in relation to leaf anatomy in rice and wheat genotypes under drought. Journal of Experimental Botany 68(18): 5191-5205.

R Core Team. 2022. R: A language and environment for statistical computing. R Foundation for Statistical Computing, Vienna, Austria. https://www.R-project.org/ (4 July 2022).

Rang, Z.W., Jagadish, S. V. K., Zhou, Q. M., Craufurd, P. Q., and Heuer, S. 2011. Effect of high temperature and water stress on pollen germination and spikelet fertility in rice. Environmental and Experimental Botany 70: 58-65.

Sabetfar, S., Ashouri, M., Amiri, E., and Babazadeh, S. 2013. Effect of drought stress at different growth stages on yield and yield

component of rice plant. Persian Gulf Crop Protection 2(2): 14-18.

Srividhya, A., Vemireddy, L. R., Sridhar, S., Jayaprada, M., Ramanarao, P. V., Hariprasad, A. S., Reddy, H. K., Anuradha, G., and Siddiq, E. 2011. Molecular mapping of QTLs for yield and its components under two water supply conditions in rice (Oryza sativa L.). Journal of Crop Science and Biotechnology 14(1): 45-56.