ผลของ BA ต่อการชักนำให้เกิดแคลลัส การเจริญพัฒนาเป็นต้นและรากจากแคลลัสของ หม้อข้าวหม้อแกงลิงในสภาพปลอดเชื้อ
Main Article Content
บทคัดย่อ
หม้อข้าวหม้อแกงลิง (Nepenthes ampullaria Jack.) เป็นพืชอยู่ในวงศ์ Nepenthaceae ปัจจุบัน กำลังอยู่ในสภาวะเสี่ยงใกล้สูญพันธุ์ เนื่องจากป่าธรรมชาติลดลง อากาศแปรปรวน และมลพิษ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของ BA (benzyl adenine) ต่อการชักนำให้เกิดแคลลัสของข้าวหม้อแกงลิงในสภาพปลอดเชื้อ แบ่งเป็น 3 การทดลอง ดังนี้ (1) การชักนำให้เกิดแคลลัส โดยการเพาะเลี้ยงยอดด้วยอาหารสูตร MS (Murashige & Skoog, 1962) ที่เติม BA ความเข้มข้น 0 1 2 และ 4 มก./ล. วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (CRD) มี 4 สิ่งทดลองๆ ละ 10 ซ้ำ เพาะเลี้ยงนาน 70 วัน พบว่า อาหารสูตร MS ที่เติม BA ความเข้มข้น 4 มก./ล. สามารถชักนำให้เกิดแคลลัสได้ดีที่สุด (70%) (2) การชักนำให้แคลลัสพัฒนาเป็นยอด โดยเพาะเลี้ยงแคลลัสด้วยอาหารสูตร MS ที่เติม BA ความเข้มข้น 0 2 และ 4 มก./ล. วางแผนการทดลองแบบ CRD มี 3 สิ่งทดลองๆ ละ 10 ซ้ำ เพาะเลี้ยงนาน 45 วัน พบว่า แคลลัสมีการพัฒนาเป็นยอดใหม่ได้มากที่สุด (19.7±0.3 ยอด) เมื่อเพาะเลี้ยงด้วยอาหารสูตร MS ที่ไม่เติม BA และ (3) การชักนำให้เกิดราก โดยเพาะเลี้ยงยอดขนาด 1-2 เซนติเมตรด้วยอาหารสูตร MS ที่เติม NAA ความเข้มข้น 0 1 3 และ 5 มก./ล. ร่วมกับ IBA ความเข้มข้น 0 และ 3 มก./ล. วางแผนการทดลองแบบ CRD มี 8 สิ่งทดลองๆ ละ 10 ซ้ำ เพาะเลี้ยงเป็นเวลา 40 วัน พบว่า อาหารสูตร MS ที่เติม NAA ความเข้มข้น 1 มก./ล. ร่วมกับ IBA ความเข้มข้น 3 มก./ล. มีความเหมาะสมต่อการชักนำให้เกิดราก ทำให้มีจำนวนรากมากที่สุด เฉลี่ย 7.4±1.6 รากต่อยอด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารเกษตรพระจอมเกล้า
References
Ai-sulaiman, F. A., & Barakat, M. N. (2010). In vitro shoot multiplication of Ziziphus spina christi by shoot tip culture. African Journal of Biotechnology, 9(6), 850-857.
Balachandar, R., Alagumanian, S., Perumal, V. S., Rameshkannan, K., & Rao, M. V. (2004). Plant regeneration from leaf and stem explants of Solanum trilobatum L. Current Science, 86(11), 1478-1480.
Chamandoosti, F. (2020). Citrus tissue culture with two different approaches. International Journal of Biosciences and Biotechnology, 8(1), 19-30.
Charoenwattana, P., Srion, P., Chiablaem, K., Ploykerd, K., & Hongthong, P. (2018). Effects of Cytokinins on Shoot Induction of Nepenthes mirabilis in vitro. Agricultural Science Journal, 49(Suppl.3), 149-153.
Cui, Y., Deng, Y., Zheng, K., Hu, X., Zhu, M., Deng, X., & Xi, R. (2019). An Efficient Micropropagation Protocol for an Endangered Ornamental Tree Species (Magnolia Sirindhorniae Noot. & Chalermglin) and Assessment of Genetic Uniformity through DNA Markers. Scientific Reports, 9(9634), 1-10. https://doi.org/10.1038/s41598-019-46050-w
Jaisue, C., Poowan, N., Kanjanasopa, D., Srirawat, T., Thitithanakul, S., Onsanit, S., & Sontikun, Y. (2019). Random Amplified Polymorphic DNA (RAPD) analysis of somaclonal variation among in vitro Nepenthes mirabilis. Khon Kaen Agriculture Journal, 47(Suppl.1), 515-522.
Jala, A. (2012). Types of media for seeds germination and effect of BA on mass propagation of Nepenthes mirabilis Druce. American Transaction on Engineering and Applied Sciences, 1(2), 163-171.
Kanchanapoom, K., & Boonvanno, K. (2000). A protocol for micropropagation of the piscicidal plant Maesa ramentacea A. Dc. Science Asia, 26, 201-205.
Khompat, K. Tokhao, W., & Jantasilp, A. (2007). Factors affecting in vitro seed germination and shoot multiplication of a pitcher plant (Nepenthes mirabilis Lour Druce). Songklanakarin Journal of Science and Technology, 29(2), 253-260.
Khumdinpitag, A., Krasaechai, A., & Phornsawatchai, P. (2004). In vitro Propagation of Pitcher Plant (Nepenthes thorelii). Journal of Agriculture, 20(1), 1-9.
Kumlay, A. M., & Ercisli, S. (2015). Callus induction shoot proliferation and root regeneration of potato (Solanum tuberasum L.) stem node and leaf explants under long-day condition. Biotechnology and Biotechnological Equipment, 29(6), 1075-1084.