การพัฒนาบรรจุภัณฑ์มะม่วงน้ำดอกไม้ สวนมะม่วงธัญลักษณ์ ของตำบลบางโฉลง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ

Main Article Content

ธนัท สมณคุปต์
วสันต์ ชุณหวิจิตรา

บทคัดย่อ

      การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบรรจุภัณฑ์มะม่วงน้ำดอกไม้สวนมะม่วงธัญลักษณ์ ตำบลบางโฉลง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 2) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้บรรจุภัณฑ์ของสวนมะม่วงธัญลักษณ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักวิชาการ 3 คน เกษตรกรผู้นำชุมชนสวนมะม่วง 4 คน รวมทั้งหมด 7 คน และกลุ่มลูกค้าผู้เข้าเยี่ยมชมงานมหกรรมมะม่วงน้ำดอกไม้ จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 409 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้บรรจุภัณฑ์ของสวนมะม่วงธัญลักษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (t-test) และการทดสอบเอฟ (F-test)  ผลการวิจัย พบว่า การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ประกอบไปด้วย 5 ขั้นตอน 1) กำหนดกลุ่มเป้าหมาย คือกลุ่มลูกค้าประจำ และนักท่องเที่ยวที่เข้ามา เยี่ยมชม 2) การกำหนดชื่อตราสินค้า มะม่วงธัญลักษณ์ THANYALUX MANGO สื่อถึงความเป็นเอกลักษณ์ 3) วัสดุที่ใช้ทำบรรจุภัณฑ์ คำนึงความปลอดภัย ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม 4) รูปทรงมีความแข็งแรง สีสันและกราฟิกมีความน่าสนใจ และทันสมัย 5) การออกแบบฉลากบรรจุภัณฑ์ ที่แสดงถึงรายละเอียดของผลิตภัณฑ์และสวนมะม่วง ความพึงพอใจของผู้ใช้บรรจุภัณฑ์ที่มีต่อบรรจุภัณฑ์สวนมะม่วงธัญลักษณ์ โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?x\widetilde{} = 3.67) และเมื่อพิจารณาเป็น       รายด้าน พบว่า ผู้ใช้บรรจุภัณฑ์มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก 2 ด้าน คือ ด้านส่งเสริมการจำหน่าย (gif.latex?x\widetilde{}  = 4.06) และด้านความสะอาดและความปลอดภัย ( gif.latex?x\widetilde{} = 3.93) และอยู่ในระดับปานกลาง 3 ด้าน คือ ด้านปกป้องผลิตภัณฑ์ ( gif.latex?x\widetilde{} = 3.31) ด้านการบรรจุ ( gif.latex?x\widetilde{} = 3.22) และด้านอำนวยความสะดวก ( gif.latex?x\widetilde{} = 3.13) ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ฐานข้อมูลส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP. 2564. การเลือกใช้บรรจุภัณฑ์เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาและเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์. http://www.sptn.dss.go.th/otopinfo/index.php/en/knowledge/interestingarticles/123-2017-03-28-07-05-27 (8 ธันวาคม 2564).

ณัฐพร ยมรัตน์ และพบพร เอี่ยมใส. 2564. การออกแบบบรรจุภัณฑ์เครื่องหอมไทย. วารสารด้านการออกแบบ ดีไซน์เอคโค 2(1): 58-69.

ทิติยา อยู่เจริญ. 2561. องค์ประกอบของบรรจุภัณฑ์ที่นักท่องเที่ยวชาวจีนให้ความสนใจ ในการเลือกซื้อมะม่วงอบแห้ง. ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต, วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล.

ธนิต โสรัตน์. 2558. การออกแบบบรรจุภัณฑ์ (Packaging Design) เพื่อสนับสนุนประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์และส่งเสริมการตลาด. บริษัทในเครือวี-เซิร์ฟ กรุ๊ป. http://www.doae.go.th/library/html/detail/big/big5.htm (8 ธันวาคม 2564).

พัทธ์ยมล สื่อสวัสดิ์วณิชย์. 2558. ต้นแบบการบริหารจัดการธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพในภาคตะวันออกของประเทศไทย.วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร 35(1): 103-124.

รายงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จังหวัดสมุทรปราการ. 2564. https://www2.samutprakan.go.th/รายงานประจำปี/รายงานประจำปี 2564 (8 ธันวาคม 2564).

วิชมณี ยืนยงพุทธกาล, กฤษณะ ชินสาร และสิริมา ชินสาร. 2559. การออกแบบบรรจุภัณฑ์ การทดสอบผู้บริโภคสำหรับผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาได้และการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน. โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557.

Estiri, M., Hasangholipour, T., Yazdani, H., Nejad, H. J. and Rayej, H. 2010. Food Products Consumer Behaviors: The Role of Packaging Elements. Journal of Applied Sciences 10(7): 535-543.

Ampuero, O. and Vila, N. 2006. Consumer perceptions of product packaging. Journal of Consumer Marketing 23(2): 100-112.

Wyrwa, J. and Barska, A. 2017. Packaging as a source of information about food products. Procedia Engineering 182: 770-779.