การประเมินมูลค่าทางเศรษฐกิจของการใช้ประโยชน์ทางตรงของต้นสาคูในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการใช้ประโยชน์ และประเมินมูลค่าทางด้านเศรษฐกิจของต้นสาคู โดยการสำรวจป่าสาคูในจังหวัดนครศรีธรรมราช ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 9,942.502 ตารางกิโลเมตร ในพื้นที่ชุ่มน้ำ โดยรวบรวมข้อมูลการใช้ประโยชน์จากชาวบ้านที่มีการใช้ประโยชน์จากสาคู จำนวน 272 ครัวเรือน การศึกษาแบ่งเป็น 2 ส่วนได้แก่ ส่วนที่ 1 ส่วนต่าง ๆ ของต้นสาคูที่ชาวบ้านในพื้นที่เก็บหามาใช้ประโยชน์ทั้งการอุปโภค บริโภค รวมถึงจำหน่าย และส่วนที่ 2 ปริมาณที่ชาวบ้านเก็บหา คิดเป็นมูลค่าทางด้านเศรษฐกิจ โดยใช้ราคาท้องถิ่น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือสัมภาษณ์ ผลการศึกษาพบว่า ชาวบ้านมีการนำสาคูไปใช้ประโยชน์ได้เกือบทุกส่วน กล่าวคือใบสาคู ทางสาคู และเปลือกลำต้นที่ส่วนใหญ่นำมาแปรรูปเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ และลำต้นนำมาแปรรูปเป็นอาหารของทั้งคนและสัตว์ ในรูปของส่วนต่าง ๆ 4 ส่วน ได้แก่ ใบ ก้านใบ เปลือกลำต้น และลำต้น ส่วนของสาคูที่ชาวบ้านใช้ประโยชน์มากที่สุด คือ ใบ มูลค่าการซื้อขายในพื้นที่ทั้งหมดเท่ากับ 24,201,272 บาทต่อปี ต้นทุนรวมทั้งหมดเท่ากับ 2,968,647 บาทต่อปี ดังนั้น มูลค่าสุทธิเท่ากับ 21,232,625 บาทต่อปี คิดเป็นมูลค่าเฉลี่ย เท่ากับ 78,061.15 บาทต่อคนต่อปี การศึกษานี้สะท้อนให้เห็นมูลค่าของต้นสาคู ที่ชาวบ้านในพื้นที่ควรตระหนักรู้ถึงคุณค่าและส่งเสริมให้เข้าใจถึงการใช้ประโยชน์จากสาคูอย่างยั่งยืน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารเกษตรพระจอมเกล้า
References
Charungsutjaritkul, W., Nuktripong, N., & Jorapong, K. (2018). Economic utilization from sago palm trees of community in Nakhon Si Thammarat Province. Journal of Southern Technology, 11(2), 153-159. (in Thai).
Chunta, S. (2017). Sago Palm in Thailand. Bangkok press. (in Thai).
Jaipluem, N. (2006). Participatory Management on Sago Palm Forest of Rural Communities. National Research Council of Thailand. (in Thai).
Jariyapong, M. (2009). Values of Local Vegetable and Community Management at Ban Wanglung, Tambon Tonhong, Amphoe Phrom Khiri, Changwat Nakhon Si Thammarat. Master’s thesis. Prince of Songkla University. (in Thai).
Markphan, W., Chankaew, W., & Tiprug, U. (2016). An economic evaluation of the direct use of sago palm in Phatthalung province and Trang Province. Thaksin University Journal, 19(2), 99-108. (in Thai).
Markphan, W. (2012). Capacity and Income Measurement of Non-Timber Forest Products by Youth Participation: A Case Study of An Area Around Khao Pu-Khao Ya National Park, Sribunphot District, Phattalung Province. Master’s thesis. Prince of Songkla University. (in Thai).
Ministry of Labour. (2014). The Daily Minimum Wage 300 Baht Policy. Retrieved from: https://library2.parliament.go.th/ejournal/content_af/2557/may2557-3.pdf. (in Thai).
Mingmaneenakin, W. (2010). Principles of Economics. Thammasat University Printing. (in Thai).
Paphon, K., & Jaipluem, N. (2011). Soil fertility in sago palm forest. Agricultural Science Journal, 42(2 special), 49–52. (in Thai).
Phongphaibun S., & Thanasuk, S. (1999). Sago: Plant. Thailand Cultural Encyclopedia. (in Thai).
Smitinand, T. (2014). Thai plant names. 2014 Ed. Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation. (in Thai).
Somboonchai, S. (2002). Forest Economic Values Affecting Forest Conservation Motivation: The Case Study of Ban-Pong Royal Project, Phaphai Subdistrict, Sansai District, Chiang Mai. Master’s thesis. Chiang Mai University. (in Thai).
Sriroth, K., Hicks, A., Oates, C., Patiyut, C., Bualumyai, S., Thongpuek, T., Janyawilad, S., Hathairuktham, S., Chotineranat, S., Chonkub, R., & Piyajomkwan, K. (1999). Attribute and Evaluation of Sago Palm (Metroxylon spp.) in Thailand. Text and Journal Publication Company Limited.
Sukphan, N., & Kunweechuay, M. (2010). Evaluation and Management of Sago Palm in Nakhon Si Thammarat Province. Nakhon Si Thammarat Rajabhat University. (in Thai).