ผลของความเข้มข้นและความถี่ของรำข้าวเปลือกหมักต่อการเพิ่มจำนวนของโคพีพอดธรรมชาติ

Main Article Content

ดวงทิพย์ อู่เงิน
วรเทพ มุธุวรรณ
ศิรประภา ฟ้ากระจ่าง
วิรชา เจริญดี
วิไลวรรณ พวงสันเฑียะ
พัชริดา รัตนวัฒนาพงษ์
อมรรัตน์ กนกรุ่ง
รติมา ครุวรรณเจริญ
สรณฐ โชตินิพัทธ์
ชนม์ ภู่สวรรณ
จักรพงษ์ ศรีพนมยม

บทคัดย่อ

       การผลิตโคพีพอดธรรมชาติ โดยการให้รำข้าวเปลือกหมักเป็นอาหาร ที่ความเข้มข้นต่างกัน 3 ระดับ 50, 100, 150 ppm และความถี่ของการให้อาหารต่างกัน 2 ระดับ คือ ให้ครั้งเดียวและให้สองครั้ง (ในวันที่ 4) ต่อการเพิ่มจำนวนและองค์ประกอบของโคพีพอดในธรรมชาติ โดยวางแผนการทดลองแบบแฟคทอเรียล (Factorial design) ในถังพลาสติกขนาด 10 ลิตร 18 ใบ เป็นเวลา 30 วัน ผลการทดลองพบว่าโคพีพอดมีการตอบสนอง (เพิ่มและลดจำนวน) ไปในทิศทางเดียวกัน ปัจจัยทั้งสองมีอิทธิพลร่วมกันต่อการเพิ่มจำนวนของโคพีพอด (p<0.05) โดยความหนาแน่นโคพีพอดพบสูงสุดในการทดลองที่ให้อาหารเพียงครั้งเดียวตลอดการทดลองที่ความเข้มข้น 150 ppm (ค่าเฉลี่ย±SE) 6.4±1.4 ตัว/ มล. ขณะที่การให้อาหารเพิ่มขึ้นเป็นสองครั้ง (วันที่ 4) ที่ความเข้มข้นของรำข้าวเปลือกหมักต่ำไม่มีผลต่อความหนาแน่นของโคพีพอด (p>0.05) มีค่าเฉลี่ย (±SE) สูงสุด 2.7±0.4, 2.4±0.3, 2.1±0.5 ตัว/ มล.ตามลำดับ สำหรับกลุ่มชนิดของโคพีพอดที่พบมากที่สุดคือ คาลานอยด์ ไซโคลพอยด์ ฮาร์แพคทิคอยด์  (ร้อยละ 64.9, 23.3, 11.8) และสัดส่วนร้อยละของระยะการเติบโตที่พบมากสุดคือ นอเพลียส ตัวเต็มวัย โคพีโพดิด และตัวเต็มวัยที่มีถุงไข่ (38.9±2.0, 37.0±1.7, 23.6±1.4, 0.5±0.2.) ตามลำดับ ผลการทดลองสรุปได้ว่าการให้รำข้าวเปลือกหมัก ที่ความเข้มข้นสูง 150 ppm เพียงครั้งเดียว เพียงพอสำหรับการเพิ่มจำนวนโคพีพอดธรรมชาติจำนวนมากได้

Article Details

How to Cite
อู่เงิน ด. ., มุธุวรรณ ว. ., ฟ้ากระจ่าง ศ. ., เจริญดี ว. ., พวงสันเฑียะ ว. ., รัตนวัฒนาพงษ์ พ. ., กนกรุ่ง อ. ., ครุวรรณเจริญ ร. ., โชตินิพัทธ์ ส. ., ภู่สวรรณ ช. ., & ศรีพนมยม จ. . (2024). ผลของความเข้มข้นและความถี่ของรำข้าวเปลือกหมักต่อการเพิ่มจำนวนของโคพีพอดธรรมชาติ. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 42(2), 235–243. https://doi.org/10.55003/kmaj.2024.08.16.012
บท
บทความวิจัย

References

Aquamimicry. (2014). Protocol for an Extensive Aqua Mimicry Aquaculture: Natural Synbiotics Management ‘Extensive Culture). Retrieved from: https://baxelcompany.com

Chakravarty, S., Kumar, S., & Prakash, S. (2018). Back to the Basics: Biomimicry in Shrimp Farming. International Journal of Current Microbiology and Applied Sciences, 7(5), 2172-2184. https://doi.org/10.20546/ijcmas.2018.705.253.

De, Tailly. J-B. D. (2019). Study of an economical shrimp farming protocol aiming at improving control over water quality. Skretting a Nutreco Company. Retrieved from: http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/deed.fr

Jepsen, M. P., Christina, V. T., Thibaut, Carron-Cabaret., Aleix, Pinyol-Gallemí., Søren, L. N., & Benni, W. H. (2018). Effects of salinity, commercial salts, and water type on cultivation of the Cryptophyte Microalgae Rhodomonas salina and the Calanoid Copepod Acartia tonsa. Journal of the World Aquaculture Society, 50(1), 104-118.

https://doi.org/10.1111/jwas.12508

Magouz, F. I., Essa, M. A., Matter, M., Tageldein Mansour, A., Alkafafy, M., & Ashour, M. (2021). Population Dynamics, Fecundity and Fatty Acid Composition of Oithona nana (Cyclopoida, Copepoda), Fed on Different Diets. Animals an Open Access Journal from MDPI, 11(5), 1188. https://doi.org/10.3390/ani11051188

Mubarak, A. S., Jusadi, D., Junior, M. Z., & Suprayudi, M. A. (2017). The population growth and the nutritional status of Moina macrocopa feed with rice bran and cassava bran suspensions. Journal Akuakultur Indonesia, 16(2), 223–233.

Nisar, U., Peng, D., Mu, Y., & Sun, Y. (2022). A Solution for sustainable utilization of aquaculture waste: a comprehensive review of biofloc technology and aquamimicry. Frontiers in Nutrition, 8, 791738. https://doi.org/10.3389/fnut.2021.791738

Romano, N., & Kumar, V. (2017). Vegetarian shrimp: Pellet-free shrimp farming. World Aquaculture, 48(4), 36-39.

Santhosh, B., Anil, M. K., Anzeer, F. M., Aneesh, K. S., Abraham, M. V., Gopakumar, G., George, R. M., Gopalakrishnan, A., & Unnikrishnan, C. K. (2018). Culture Techniques of Marine Copepods. ICAR-Central Marine Fisheries Research Institute, Kochi Kerala India.