ศักยภาพและแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของชุมชนคลองแขวงกลั่น ตำบลบางเตย อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา

Main Article Content

อภิญญา แสงสงวน
ดวงกมล ปานรศทิพ ธรรมมาธิวัฒน์
สมศักดิ์ คูหาสวรรค์เวช

บทคัดย่อ

        งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทชุมชน ศักยภาพ และแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของชุมชนคลองแขวงกลั่น โดยใช้การวิจัยแบบมีส่วนร่วมของคนในชุมชน มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้นำชุมชน ผู้ดูแลจุดท่องเที่ยว ผู้แทนประชาชนในชุมชนคลองแขวงกลั่น และผู้แทนพัฒนาชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ การจัดเวทีชุมชน การสนทนากลุ่ม การทำ Swot Analysis และ Tows Metrix ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนคลองแขวงกลั่นมีศักยภาพในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่มีความเป็นธรรมชาติ และวิถีชีวิตที่ชัดเจน สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ มีกิจกรรมที่นักท่องเที่ยวสามารถได้มาสัมผัสจริงผ่านประสบการณ์โดยการลงมือปฏิบัติพร้อมทั้งมีการให้ความรู้ควบคู่ไปด้วย การเดินทางสะดวกเนื่องจากอยู่ใกล้เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีที่พักรองรับนักท่องเที่ยว มีศูนย์บริการข้อมูลข่าวสารในการแนะนำนักท่องเที่ยว และดูแลรักษาความปลอดภัยเพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว ประชาชนในพื้นที่มีความตื่นตัว มีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของชุมชน สำหรับกลยุทธ์ที่ชุมชนนำมาเป็นแนวทางพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในช่วงเริ่มต้น กลยุทธ์เชิงรุก ได้แก่ จัดทำเส้นทางการท่องเที่ยวเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น กลยุทธ์เชิงแก้ไข ออกไปศึกษาดูงานแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่ประสบความสำเร็จ เพื่อนำความรู้มาปรับใช้ กลยุทธ์เชิงป้องกัน พัฒนาแบรนด์ท่องเที่ยวเชิงเกษตรของชุมชนให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น และ กลยุทธ์ที่ดำเนินการควบคู่คือกลยุทธ์เชิงรับ ร่วมมือกับหน่วยงานในพื้นที่ส่งเสริมการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลที่น่าสนใจของแหล่งท่องเที่ยวในชุมชนสู่สายตานักท่องเที่ยวได้อย่างมีคุณภาพ

Article Details

How to Cite
แสงสงวน อ., ธรรมมาธิวัฒน์ ด. ., & คูหาสวรรค์เวช ส. . (2023). ศักยภาพและแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของชุมชนคลองแขวงกลั่น ตำบลบางเตย อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 41(3), 250–259. https://doi.org/10.55003/kmaj.2023.12.28.008
บท
บทความวิจัย

References

Choibamroong, T. (2012). Handout of travel planning course. Bangkok: The National Institute of Development Administration. (in Thai).

Chomborisut, B. (2020). Road connectivity of tourist destinations and activities of Chondaen district to promote sustainable tourism in Petchabun. Master’s thesis. Logistics and Supply Chain, Naresuan University. (in Thai).

Kasemsuk, S. (2022). Community tourism situation of Khlong Khwaeng Klan community. Interview, 14 June. (in Thai).

Khermkhan, J. (2018). The perspective of agro tourism development in Thailand. King Mongkut's Agricultural Journal. 36(2), 162-167. (in Thai).

Klinmuenwa, K. (2016). Potential and community-based tourism management guideline of Lampang Luang community, Koh Kha district, Lampang province. Journal of Social Academic. 9(2), 109-207. (in Thai).

National Tourism Policy Committee. (2017). The second national tourism development plan. Bangkok: Permanent Secretary of Ministry of Tourism and Sports. (in Thai).

Nattapongpruet, A. (2015). Lifestyle, perception online travel information, credibility and behavior of decision making for travel aboard. Master’s thesis. Communication Arts and Innovation, National Institute of Development Administration. (in Thai).

Pradit, R. & Pampasit, R. (2014). Potentials and opportunities in tourism development of Khao Kho sub-district, Phetchabun province. Journal of Social Sciences. 10(2), 127-149. (in Thai).

Rattanakunchorn, Y. (2022). Community tourism situation of Khlong Khwaeng Klan community. Interview, 14 June. (in Thai)

Thinanakunchorn, Y. (2022). Community tourism situation of Khlong Khwaeng Klan community. Interview, 14 June. (in Thai).

Seangchatkaew, S. & Udomkitt, P. (2019). Study on behavior of foreign tourists in the target group under The LINK project. Bangkok: Silpakorn University. (in Thai).

Thinthawon, K. (2022). Community highlights (Khlong Khwaeng Klan Community). Interview, 14 June. (in Thai).