การถ่ายทอดเทคโนโลยีในการผลิตและการใช้น้ำส้มควันไม้เพื่อพัฒนากลุ่มและเครือข่าย เกษตรกรที่ปลูกมะม่วงเพื่อการส่งออกจังหวัดฉะเชิงเทรา

Main Article Content

สมศักดิ์ คูหาสวรรค์เวช
ลือพงษ์ ลือนาม
ดวงกมล ปานรศทิพ ธรรมมาธิวัฒน์

บทคัดย่อ

        การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการ ความรู้ เกี่ยวกับเทคโนโลยีการผลิตและการใช้น้ำส้มควันไม้          2) ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตและการใช้น้ำส้มควันไม้ 3) ประเมินผลการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตและการใช้น้ำส้มควันไม้เพื่อพัฒนากลุ่มเกษตรกรและเครือข่าย และ 4) ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะ กลุ่มตัวอย่างเป็นเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงเพื่อส่งออกในจังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 30 ราย ใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test มีผลการศึกษาดังนี้


1) เกษตรกรมีความต้องการเทคนิคการถ่ายทอดเทคโนโลยี 3 วิธีร่วมกันมากที่สุด คือ การบรรยาย การฝึกปฏิบัติ และการสาธิต สื่อที่เกษตรกรต้องการใช้ประกอบการเข้าร่วมการถ่ายทอดเทคโนโลยีมากที่สุด คือ คู่มือ จำนวนผู้เข้ารับการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เกษตรกรคิดเห็นว่ามีความเหมาะสมที่สุด คือ 20 - 30 คนต่อครั้ง ช่วงเวลาที่เกษตรกรต้องการเข้ารับการถ่ายทอดเทคโนโลยีมากที่สุด คือ เดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม 2) การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตและการใช้น้ำส้มควันไม้ใช้การถ่ายทอดเทคโนโลยีด้วยวิธีการเชิงระบบ (System Approach) คือ ขั้นประเมินความจำเป็น (Assessment Phase) ขั้นพัฒนาและถ่ายทอด (Transfer and Development Phase) ขั้นประเมินผล (Evaluation Phase) 3) การประเมินผลการถ่ายทอดเทคโนโลยี พบว่า ผลการเปรียบเทียบความรู้ในการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตและการใช้น้ำส้มควันไม้ หลังการถ่ายทอดเกษตรกรมีความรู้แตกต่างกับก่อนการถ่ายทอดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P< 0.05) โดยหลังการถ่ายทอดเกษตรกรมีคะแนนเฉลี่ย 13.10 คะแนน สูงกว่าก่อนการถ่ายทอดที่มีคะแนนเฉลี่ย 7.37 คะแนน และผลการประเมินการถ่ายทอดเทคโนโลยี พบว่า เกษตรกรที่เข้ารับการถ่ายทอดมีความคิดเห็นต่อการถ่ายทอดเทคโนโลยีโดยรวม อยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ยรวม 4.15 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านวิทยากร อยู่ในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ย 4.44 รองลงมา คือ ด้านสื่อและสิ่งอำนวยความสะดวก อยู่ในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ย 4.24 และด้านกระบวนการถ่ายทอด อยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ย 4.19 4) ข้อเสนอแนะในการถ่ายทอดเทคโนโลยี คือ ควรจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการถ่ายทอดอย่างต่อเนื่อง

Article Details

How to Cite
คูหาสวรรค์เวช ส. ., ลือนาม ล. ., & ธรรมมาธิวัฒน์ ด. . (2023). การถ่ายทอดเทคโนโลยีในการผลิตและการใช้น้ำส้มควันไม้เพื่อพัฒนากลุ่มและเครือข่าย เกษตรกรที่ปลูกมะม่วงเพื่อการส่งออกจังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 41(3), 260–269. https://doi.org/10.55003/kmaj.2023.12.28.009
บท
บทความวิจัย

References

Boonhor, P. (2016). Factor Effecting Technology Transfer to Community. Bangkok: The Degree of Master of Science Technology Management College of Innovation Thammasat University. (in Thai).

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Testing. 3rd ed. New York: Harper & Row.

Davis, F. D. (1989). Perceived usefulness, perceived ease of use, and user acceptance of information technology. MIS Quarterly. 13(3), 319-340.

Freire, P. (1970). Pedagogy of the Oppressed. New York: Seabury Press.

HR Note.asia. (2021). Classroom Training. Retrieved from: https://th.hrnote.asia/orgdevelopment/190606-classroom-training/. (in Thai).

Kuder, G. F. & Richardson, M. W. (1937). The theory of estimation of test reliability. Psychometrika. 2, 151-160.

Mgr Online A. (2022). The Mango Farmers Association joins alliances to open a forum to discuss and help over 200,000 households restore their quality of life. Retrieved from: https://mgronline.com/smes/detail/9640000128229. (in Thai).

Mgr Online B. (2022). Nam Dok Mai Mango, Mueang Pad Riw can still dominate the international market for a long time. Retrieved from: https://mgronline.com/local/detail/9590000043955. (in Thai).

Pittayapitak, T. & Vicheanpant, T. (2012). Innovation Diffusion: Concept and Model. Journal of Library and Information Science Srinakharinwirot University. 5(1), 107-118. (in Thai).

Regional Education Office NO.1. (2022). Knowledge Management and Knowledge Body on Training Techniques. Retrieved from: http://www.reo15.moe.go.th/web/images/yutasan/km57/km572.pdf. (in Thai).

Rogers, E. M. (1983). Diffusion of innovations. New York: The Fee Press.

Spring News. (2022). Chachoengsao Mango Outstanding Poducts with GAP Standards, Exported Far and Wide Around The World. Retrieved from: https://www.springnews.co.th/news/817534. (in Thai).

Thansettakij. (2022). Thai Mangoes are Still Popular, In The First 2 Months, Exports to The FTA Market Jumped 15%. Retrieved from: https://www.thansettakij.com/economy/522165. (in Thai).

TechnologyChaoban. (2021). Wood Vinegar Distiller For agriculture, easy to use, durable, suitable for a 200 liter charcoal kiln. Retrieved from: https://www.technologychaoban.com/bullet-news-today/article_188374. (in Thai).

Waroonkun, T. & Stewart, R. A. (2008). Modeling the international technology transfer process in construction projects: Evidence from Thailand. The Journal of Technology Transfer. 33(6), 667-687.