แบบแผนและปัจจัยตัวกำหนดความหลากหลายของรายได้ของครัวเรือนเกษตรใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

Main Article Content

สรพงษ์ เจริญกฤตยาวุฒิ
ประภาพร ชุลีลัง
สุณีพร สุวรรณมณีพงศ์

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาถึงแบบแผนความหลากหลายของรายได้ของครัวเรือนเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย 2) เพื่อวัดความหลากหลายของรายได้ของครัวเรือนเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยด้วยดัชนี Simpson และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยตัวกำหนดความหลากหลายของรายได้ของครัวเรือนเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้ใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากโครงการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน พ.ศ. 2564 ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ โดยทำการคัดเลือกเฉพาะครัวเรือนเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตามเกณฑ์การจำแนกอาชีพของครัวเรือนของสำนักงานสถิติแห่งชาติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยโทบิต ผลการวิจัย พบว่า สัดส่วนเฉลี่ยรายได้นอกภาคการเกษตรของครัวเรือนตัวอย่างสูงกว่าสัดส่วนเฉลี่ยรายได้ในภาคการเกษตรของครัวเรือนเพียงเล็กน้อย หากพิจารณาถึงความหลากหลายของรายได้ของครัวเรือนเกษตรด้วยดัชนี Simpson พบว่า ร้อยละ 49.99 ของครัวเรือนเกษตรตัวอย่างมีความหลากหลายของรายได้อยู่ในระดับปานกลาง รองลงมาคือ ความหลากหลายของรายได้ระดับสูงและต่ำ คิดเป็นร้อยละ 25.71 และ 24.30 ตามลำดับ แหล่งรายได้ที่ครัวเรือนเกษตรตัวอย่างได้รับสูงที่สุดใน 2 อันดับแรก ได้แก่ รายได้จากการปลูกพืชและการทำป่าไม้ (ร้อยละ 95.91) และรายได้จากแหล่งอื่น ๆ ที่ไม่ได้มาจากการทำงาน (ร้อยละ 95.17) สำหรับผลการวิเคราะห์การถดถอยโทบิต พบว่า อายุของหัวหน้าครัวเรือน ขนาดของครัวเรือน การมีสมาชิกในครัวเรือนย้ายถิ่นไปทำงานภายในประเทศและต่างประเทศ และปริมาณหนี้สินนอกระบบของครัวเรือน ส่งอิทธิพลทางบวกต่อความหลากหลายของรายได้ของครัวเรือนเกษตร ในทางตรงกันข้าม รายได้ต่อปีต่อหัวของครัวเรือนและขนาดที่ดินของครัวเรือนส่งอิทธิพลทางลบต่อความหลากหลายของรายได้ของครัวเรือนเกษตร อย่างไรก็ดี         ผลการศึกษากลับพบว่า เพศของหัวหน้าครัวเรือน ระดับการศึกษาของหัวหน้าครัวเรือน อัตราภาระพึ่งพิงของครัวเรือน ปริมาณหนี้สินในระบบของครัวเรือน ความสามารถในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน และเขตที่อยู่อาศัยของครัวเรือน ไม่ส่งอิทธิพลต่อความหลากหลายของรายได้ของครัวเรือนเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือแต่อย่างใด

Article Details

How to Cite
เจริญกฤตยาวุฒิ ส. ., ชุลีลัง ป. ., & สุวรรณมณีพงศ์ ส. . (2023). แบบแผนและปัจจัยตัวกำหนดความหลากหลายของรายได้ของครัวเรือนเกษตรใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 41(3), 270–280. https://doi.org/10.55003/kmaj.2023.12.28.010
บท
บทความวิจัย

References

Abdulai, A. & Crolerees, A. (2001). Determinants of income diversification amongst rural households in Southern Mali. Food Policy. 26, 437-452.

Agyeman, B. A. S., Asuming-Brempong, S. & Onumah, E. E. (2014). Determinants of income diversification of farm households in the western region of Ghana. Quarterly Journal of International Agriculture. 53, 55-72.

Akinrinde, A. F., Omotesho, K. F. & Ogunlade, I. (2018). The issues of income diversification among rural farming households: Empirical evidence from Kwara State, Nigeria. Journal of Agribusiness and Rural Development. 3, 231-238.

Davis, J. (2001). Conceptual ssues in analysing the rural non-farm economy in transition economies. Chatham: Natural Resources Institute.

Davis, J. R. & Bezemer, D. (2004). The development of the rural non-farm economy in developing countries and transition economies: Key emerging and conceptual issues. Kent: Natural Resources Institute.

Ellis, F. (1998). Household strategies and rural livelihood diversification. Journal of Development Studies. 35(1), 1-38.

Ersado, L. (2006). Income diversification in Zimbabwe: Welfare implications from urban and rural areas. Retrieved from: https://openknowledge.worldbank.org/handle/10986/8389.

Etea, B. G., Zhou, D., Abebe, K. A. & Sedebo, D. A. (2020). Is income diversification a means of survival or accumulation? Evidence from rural and semi-urban households in Ethiopia. Environment, Development and Sustainability. 22, 5751-5769.

Kingnetr, N. & Maneejuk, N. (2019). Occupational inequality in Thailand: A case study of careers in agriculture. Retrieved from: https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/EconomicConditions/AAA/Inequality_4GiniCoefficient.PDF. (in Thai).

Loison, S. A. & Bignebat, C. (2017). Patterns and determinants of household income diversification in rural Senegal and Kenya. Journal of Poverty Alleviation and International Development. 8, 93-126.

Medhurst, A. & Segrave, R. (2007). Why do farming family diversify?. Barton: Rural Industries Research and Development Corporation.

Mishra, A. K., Erickson, K., Harris, M., Hallahan, C. & Uematsu, H. (2010). Determinants of farm household income diversification in the United States: Evidence from farm-level data. Retrieved from: https://ideas.repec.org/p/ags/aaea10/ 61632.html.

National Statistical Office. (2022). The 2021 household socio-economic survey: Whole Kingdom. Bangkok: Text and Journal Publication. (in Thai).

Reardon, T., Berdegue, J., Barrett, C. B. & Stamoulis, K. (2006). Household income diversification into rural nonfarm activities. In: Haggblade, S., Hazell, P. & Reardon, T. Transforming the rural nonfarm economy (pp. 1-33). Baltimore: Johns Hopkins University Press.

Saha, B. & Bahal, R. (2010). Livelihood diversification pursued by farmers in West Bengal. Indian Research Journal of Extension Education. 10, 250-264.

Schwarze, S. & Zeller, M. (2005). Income diversification for rural households in Central Sulawesi, Indonesia. Quarterly Journal of International Agriculture. 44(1), 61-73.

Srikongphet, K. (2014). Possibility to reduce debts’ northern farmers. Retrieved from: https://www.bot.or.th/Thai/Monetary

Policy/NorthEastern/DocLib_Research/01-PossibleDebtReduction--Full.pdf. (in Thai).

Wan, J., Li, R., Wang, W., Liu, Z. & Chen, B. (2016). Income diversification: A strategy for rural region risk management. Sustainability. 8(10), 1064. Retrieved from: https://www.mdpi.com/2071-1050/8/10/1064.