การศึกษาปริมาณไขมันและสารสีของสาหร่ายขนาดเล็กที่เพาะเลี้ยงในน้ำจากฟาร์มเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม

Main Article Content

เบญจมาส เชียรศิลป์
ธิดาพร ขุมเงิน
วจีพร มณีโชติ

บทคัดย่อ

       การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพาะเลี้ยงสาหร่ายขนาดเล็กในน้ำจากบ่อต่างๆ ในฟาร์มกุ้งขาวแวนนาไมเพื่อใช้เป็นแหล่งอาหารเสริมให้กับกุ้ง โดยทำการศึกษาการเจริญ ปริมาณไขมัน และสารสีของสาหร่ายขนาดเล็ก ผลการเติมยูเรียเป็นแหล่งไนโตรเจนเสริม และผลการขยายขนาดบ่อเพาะเลี้ยงสาหร่าย ผลการทดลองพบว่าสาหร่ายสายพันธุ์ Chlorella sp. SHP ที่คัดแยกได้จากฟาร์มกุ้งให้ปริมาณสารสีและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่สูงกว่าอีกสองสายพันธุ์มาก และยังสามารถเจริญได้ดีที่สุดในน้ำทิ้งจากบ่อบำบัด เมื่อเปรียบเทียบกับการเพาะเลี้ยงในน้ำจากบ่อพักน้ำและบ่อเลี้ยงกุ้ง และพบว่าการเติมยูเรียที่ความเข้มข้น 2 กรัมต่อลิตร และการขยายขนาดการเพาะเลี้ยงสาหร่ายในบ่อเลี้ยงสาหร่ายจำลองขนาด 50 ลิตร แบบเปิดและมีน้ำไหลวน ทำให้ได้สาหร่ายน้ำหนักเซลล์แห้งสูงสุดเท่ากับ 0.19±0.03 กรัมต่อลิตร โดยเซลล์สาหร่ายมีปริมาณไขมันเท่ากับร้อยละ 44.96±2.79 ปริมาณสารสีคลอโรฟิลล์เอบี และแคโรทีนอยด์ เท่ากับ 11.65 มิลลิกรัมต่อกรัม และ 5.45 มิลลิกรัมต่อกรัม ตามลำดับ และพบว่าเซลล์สาหร่าย 1 กรัม มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่วัดจากค่า Radical scavenging activity เท่ากับร้อยละ 66.71±0.02  ซึ่งผลจากการศึกษาคาดว่าจะเป็นแนวทางหนึ่งในการผลิตเซลล์สาหร่ายที่มีไขมันและสารสีสูงที่จะสามารถนำไปใช้เป็นอาหารเสริมสำหรับเลี้ยงกุ้งต้นทุนต่ำได้

Article Details

How to Cite
เชียรศิลป์ เ. ., ขุมเงิน ธ. ., & มณีโชติ ว. . (2024). การศึกษาปริมาณไขมันและสารสีของสาหร่ายขนาดเล็กที่เพาะเลี้ยงในน้ำจากฟาร์มเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 42(2), 173–182. https://doi.org/10.55003/kmaj.2024.08.16.005
บท
บทความวิจัย

References

Bacellar Mendes, L. B., & Vermelho, A. B. (2013). Allelopathy as a potential strategy to improve microalgae cultivation. Biotechnology for Biofuels, 6, 152.

Bhalamurugan, G. L., Valerie, O., & Mark, L. (2018). Valuable bioproducts obtained from microalgal biomass and their commercial applications: A review. Environmental Engineering Research, 23(3), 229-241.

Brown, M. R., & Blackburn, S. I. (2013). Live Microalgae as Feeds in Aquaculture Hatcheries. In Allan, G., & G. Burnell, Advances in Aqua-culture Hatchery, pp. 117-157. Woodhead Publishing.

Chaoruangrit, L., Tapaneeyaworawong, P., Powtongsook, S., & Sanoamuang, L. (2018). Alternative microalgal diets for cultivation of the fairy shrimp Branchinella thailandensis (Branchiopoda: Anostraca). Aquaculture International, 26(1), 37-47.

Choochote, W., Suklampoo, L., & Ochaikul, D. (2014). Evaluation of antioxidant capacities of green microalgae. Journal of Applied Phycology, 26, 43-48.

Cichonski, J., & Chrzanowski, G. (2022). Microalgae as a source of valuable phenolic compounds and carotenoids. Molecules, 27(24), 8852.

Maneechote, W., & Cheirsilp, B., (2021). Stepwise-incremental physicochemical factors induced acclimation and tolerance in oleaginous microalgae to crucial outdoor stresses and improved properties as biodiesel feedstocks. Bioresource Technology, 328, 124850.

Markou, G., & Nerantzis, E. (2013). Microalgae for high-value compounds and biofuels production: a review with focus on cultivation under stress conditions. Biotechnology Advance, 31, 1532-1542.

Nasir, N. M., Jusoh, A., Harun, R., Ibrahim, N. N. L. N., Rasit, N., Ghani, W. A. W. A. K., & Kurniawan, S. B. (2023). Nutrient consumption of green microalgae, Chlorella sp. during the bioremediation of shrimp aquaculture wastewater. Algal Research, 72, 103110.

Poza-Carrión, C., Fernández-Valiente, E., Piñas, F. F., & Leganés, F. (2001). Acclimation of photosynthetic pigments and photosynthesis of the cyanobacterium Nostoc sp. strain UAM206 to combined fluctuations of irradiance, pH, and inorganic carbon availability. Journal of Plant Physiology, 158(11), 1455-1461.

Ruangsomboon, S. (2020). Microalgae Cultivation and Utilizations. Department of Fisheries Science, Faculty of Agricultural Technology, King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang.

Safafar, H., Van Wagenen, J., Møller, P., & Jacobsen, C. (2015). Carotenoids, phenolic compounds and tocopherols contribute to the antioxidative properties of some microalgae species grown on industrial wastewater. Marine Drugs, 13(12), 7339-7356.

Yang, R., Wang, Q., Luo, X., & Wei, D. (2023) High-efficient nitrate conversion to protein and chlorophylls from synthetic wastewater by mixotrophic Chlorella pyrenoidosa. Algal Research, 71, 103025.