การทำธุรกิจเกษตรอินทรีย์ของคนรุ่นใหม่ตลอดโซ่อุปทานการเกษตร

Main Article Content

รัตนวดี เศรษฐจิตร
วิเชียร ลัทธิพงศ์พันธ์

บทคัดย่อ

       งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิถีของการเป็นเกษตรกร ประเภทของเกษตรกร และผลลัพธ์ต่อตนเองและสังคมในการทำธุรกิจเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรรุ่นใหม่ โดยการศึกษาจาก 20 ต้นแบบเกษตรกรรุ่นใหม่ที่ได้รับการยอมรับจากแวดวงเกษตรอินทรีย์ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการเก็บข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิ ผลการวิจัยพบว่า ในช่วง ปี 2554-2564 มีอัตราการเติบโตของเกษตรอินทรีย์อย่างก้าวกระโดด ทั้งในเชิงพื้นที่และจำนวนเกษตร ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลตามยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์ 2560-2564 และ (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านเกษตรอินทรีย์ 2566-2570 โดยปัจจัยที่ทำให้คนรุ่นใหม่ทำเกษตรอินทรีย์มากขึ้นนั้นมีแรงจูงใจทั้งปัจจัยผลักและปัจจัยดึง โดยมีรูปแบบการทำเกษตรอินทรีย์ จำนวน 9 รูปแบบ และ 2 ประเภท ที่มีความสอดคล้องกับวิถีชีวิต ความต้องการ และเป้าหมายของชีวิตวิถีใหม่ โดย เกษตรกรรุ่นใหม่มีวิถีการทำเกษตรตลอดทั้งโซ่อุปทานบนฐานนิเวศธุรกิจเกษตรอินทรีย์ทั้งงานต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ โดยผลที่เกิดขึ้นจากการที่คนรุ่นใหม่มาทำเกษตรอินทรีย์มีทั้งผลในเชิงรูปธรรมและนามธรรม  โดยผลลัพธ์ในเชิงรูปธรรม คือ 1) มิติทางเศรษฐกิจ ได้แก่ การลดรายจ่าย และการมีรายได้ทั้งรายได้หลักและรายได้เสริม 2) มิติทางด้านสุขภาพ ได้แก่ สุขภาพกาย สุขภาพจิต สุขภาพสังคม ส่วนผลในเชิงนามธรรม ได้แก่ 1) เกิดความเปลี่ยนแปลงและขยายความหมายของคำว่าเกษตรกร 2) มีการส่งเสริมภาพลักษณ์เกษตรกร 3) ได้รับการสนับสนุนจากภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน  4) สร้างการตระหนักรู้ถึงการมีชีวิตที่ดีด้วย “อาหาร” ให้กับผู้บริโภค 

Article Details

How to Cite
เศรษฐจิตร ร. ., & ลัทธิพงศ์พันธ์ ว. . (2024). การทำธุรกิจเกษตรอินทรีย์ของคนรุ่นใหม่ตลอดโซ่อุปทานการเกษตร. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 42(2), 192–201. https://doi.org/10.55003/kmaj.2024.08.16.007
บท
บทความวิจัย

References

Kaewthep, K., & Hinviman, S. (2010). The Stream of Thought of Political Economists and Communication Studies Scholars. 2nd ed. Parbpim Printing. (in Thai).

Kaewthep, K. (2015). A Collection of Communication for Agricultural Promotion and Development: Unit 1. Sukhothai Thammathirat Open University. (in Thai).

Kampheangphet, M. (2017). Development Model of Establishing Smart Farmer in Organic Farm Business of Thailand 4.0. Doctoral dissertation. Silpakorn University. (in Thai).

National Assembly Library of Thailand. (2022). “Organic Farming Movement”. Retrieved from: https://library.parliament.go.th/th/radioscript/rr2565-apr1. (in Thai).

Panyakul, V. (2002). Introduction to Organic Agriculture. Earth Net Foundation. (in Thai).

Phithuk, A. (2020). The Development of Farmers to be Smart Entrepreneur Farmers. Doctoral dissertation. Silpakorn University. (in Thai).

Phoomborplub, W. (2018). Push and Pull Factors in Gambling (Casino) Tourism Motivation. Academic Journal Bangkokthonburi University, 7(1), 13-29. (in Thai).

Saroenrum, S. (2019). Agriculture Marketing Strategies: A Lesson Learned from Thai Young Farmer. Master’s thesis. Mahidol University. (in Thai).

The National Organic Agriculture Development Committee (2017). The National Organic Agriculture Development Strategy: 2017-2021. Office of Agricultural Economics. (in Thai).

Tinnaphop, T (2016). Supply Chain Management by Community Enterprise Producing Organic Rice in the Central Region of Thailand. Doctoral dissertation. Naresuan University. (in Thai).