ความขัดแย้งที่กำลังจะเกิดขึ้นในพื้นที่ดอน กรณีศึกษาภาคเหนือตอนบน

Main Article Content

ศรัณย์ อารยะรังสฤษฏ์
ลามาร์ โรเบิร์ต

บทคัดย่อ

ในพื้นที่สูงภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยนั้น มีชนกลุ่มน้อยหลายกลุ่มอาศัย และดำรงชีพอยู่ด้วยการทำไร่เลื่อนลอย ที่ดินจะถูกครอบครองเป็นเจ้าของร่วมกันโดยหัวหน้าหมู่บ้านเป็นผู้จัดแบ่งให้ สำหรับในพื้นที่ราบนั้นประชากรตั้งหลักแหล่งอยู่อย่างถาวรและประกอบการเกษตร โดยมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินอย่างถูกต้อง ส่วนพื้นที่ดอนซึ่งตั้งอยู่ระหว่างพื้นที่ทั้งสองเปรียบเสมือนเป็นกันชน หรือแนวแบ่งเขตระหว่างสองพื้นที่นั้น


 เนื่องจากที่ดินที่เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูกในพื้นที่ทั้งสองนั้นมีไม่พอเพราะมีประชากรอพยพเข้าไปอาศัยอยู่ ประกอบกับประชากรมีการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ชนกลุ่มน้อยในพื้นที่สูงได้อพยพเคลื่อนย้ายลงมาเพื่อหาที่ทำกิน ในขณะที่คนไทยในพื้นที่ราบบุกรุกขึ้นไปด้วยเหตุผลเช่นเดียวกัน จึงเป็นผลให้ประชากรของทั้งสองกลุ่มต้องเผชิญหน้ากันในพื้นที่ดอนนั่นเอง ประกอบกับการที่ทั้งสองกลุ่มมีระบบการถือครองที่ดินและการประกอบการเกษตรที่แตกต่างกัน เพราะฉนั้นจึงไม่ง่ายนักที่จะหลีกเลี่ยงความขัดแย้งที่กำลังจะเกิดขึ้นได้


อย่างไรก็ตามให้เวลาแก่ทั้งสองกลุ่มเพื่อปรับตัวให้เข้ากับการเพิ่มขึ้นของประชากร อาจช่วยลดความขัดแย้งลงได้บ้าง ซึ่งรวมไปถึงการจัดหาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร การจัดหาที่ดินทำกินอย่างถูกกฎหมาย ตลอดจนการวิจัยค้นคว้าเกี่ยวกับการปรับปรุงระบบการเกษตรในพื้นที่ดอนนี้ด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กลั่นคำสอน, ชนะ และ จารุภัฒน์, ธงชัย, (2524). การใช้เทคนิคด้าน Remote Sensing ในการจำแนกที่ดินป่าไม้ภาคเหนือ. รายงานการสัมมนาการเกษตรภาคเหนือ เชียงใหม่ หน้า 7.

โกสุยวัฒนะ, สมศักดิ์. (2524). ปัญหาที่ดินในภาคเหนือ. รายงานการสัมมนาการเกษตรภาคเหนือ เชียงใหม่ ภาคผนวกหน้า 22.

กองบัญชีประชาชาติ, สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ, (2527). ผลิตภัณฑ์ภาคและจังหวัด กรุงเทพฯ หน้า 2,6,62.

คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2525). รายงานความก้าวหน้าการศึกษาความเป็นไปได้ของการพัฒนาเกษตรที่ดอนภาคเหนือตอนบน เชียงใหม่ หน้า 8, ภาคผนวกหน้า 3, ภาคผนวกหน้า 6.

ธนาคารแห่งประเทศไทย (2527). ภาวะเศรษฐกิจ และการเงินภาคเหนือ 2526 กรุงเทพฯ หน้า 12.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2522). แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคเหนือตอนบน กรุงเทพฯ หน้า 33.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2526). สถิติการเกษตรของประเทศไทย ปีเพาะปลูก 2524/25 กรุงเทพฯ หน้า 180 – 812.

Hickey, G.C. and Wright, G. (1979) . The Hill People of Northern Thailand : Social and Economic Development. Bangkok. p.51.

Kunstadter, P. (1970). Subsistance Agricultural Economics of Lua and Karen Hill Farmers of Mae Sariana District, Northwestern Thailand. Internationa1 Seminar on Shifting Cultivation and Economic Development in Northern Thailand. Bangkok. P.47.

Nakajud, A. (1972 ). Demand and Supply of Agricultural Labor in Relation to Mechanization in Thailand. Farm Mechanization in East Asia. New York. p. 24.

Nippanutiyan, P. (1980). Land Tenure and Agricultural Land Use in the Chiang Mai Valley 1977-1978 as cited in Gypmantasiri et al., An Interdisciplinary Perspective of Cropping Systems in the Chiang Mai Valley : Key Questions for Research. Chiang Mai. P.21.

Sukanivatt, S.; Anarnan, T.; Singhanetra Renard, A.; Chaodumrong, P. and Tiravanij, (1981). Socio-economic Base Line Survey of Villages in Thai German Highland Development Programme. Chiang Mai. pp. 43,57,94,144.