การพัฒนาตาดอกของแวนดามนุวดีในรอบปี

Main Article Content

ถกลวรรณ ศิริสวัสดิ์
โสระยา ร่วมรังษี

บทคัดย่อ

ศึกษาพฤติกรรมการออกดอกของแวนดามนุวดีและศึกษาทางเนื้อเยื่อวิทยาของตาดอกทุก 2 สัปดาห์ เป็นเวลาหนึ่งปี ระหว่าง พ.ศ. 2555 ถึง 2556  มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงช่วงเวลาการสร้างและการพัฒนาของตาดอกหรือช่อดอกซึ่งสัมพันธ์กับปัจจัยสภาพแวดล้อม พบว่าตาข้างที่เติบโตเต็มที่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นตาดอกได้เกือบทุกช่วงของปีภายใต้สภาพความยาววัน 9-12 ชั่วโมง อุณหภูมิ 18-33 องศาเซลเซียส และความชื้นสัมพัทธ์ 60-96% โดยเนื้อเยื่อเจริญปลายยอดของตาข้างที่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นเนื้อเยื่อเจริญด้านสืบพันธุ์มีการแบ่งเซลล์และยืดตัวขึ้นเป็นช่อดอก พร้อมกับสร้างใบอ่อนที่เจริญไปเป็นกาบรองดอกและสร้างดอกอ่อนที่ซอกของใบอ่อนบนแกนของช่อดอกแบบกระจะ ระยะนี้ช่อดอกอ่อนยืดยาวอย่างช้า ๆ ใช้เวลาประมาณ 4-6 สัปดาห์ จึงเจริญออกมาพ้นกาบใบที่หุ้มลำต้น หลังจากนั้นช่อดอกอ่อนมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ใช้เวลาพัฒนาจนถึงดอกแรกบานประมาณ 12 สัปดาห์ ในช่วงเวลาเดียวกันอาจมีตาดอกพัฒนาขึ้นหลายตา แต่มีเพียง 1-2 ตา ที่สามารถพัฒนาจนกระทั่งดอกบานได้ ช่อดอกมีอายุการบานเฉลี่ย 2.8 สัปดาห์ ขณะดอกบานเต็มที่พบว่าเริ่มมีการพัฒนาของตาดอกรุ่นใหม่ซึ่งจะพัฒนาเป็นช่อดอกที่สมบูรณ์ต่อไป ซึ่งมีการพัฒนาถึงดอกบาน 3 ครั้งต่อปี โดยปัจจัยสภาพแวดล้อมในช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายนมีผลให้ตาดอกฝ่อและไม่มีตาดอกพัฒนาขึ้นในช่วงนี้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ ปัญจะมา ชัยอาทิตย์ อิ่นคำ และ โสระยา ร่วมรังษี. 2561. ผลของระดับไนโตรเจนต่อการเติบโตและปริมาณของธาตุอาหารในกล้วยไม้แวนดาลูกผสม. วารสารเกษตร 34(1): 1-10.

คณะกรรมการกล้วยไม้แห่งชาติ กรมส่งเสริมการเกษตร. 2553. ยุทธศาสตร์การแข่งขันกล้วยไม้ไทยในตลาดโลก พ.ศ. 2554-2559. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.doa.go.th/ hort/images/BOOK/orchid--strage.pdf (5 มิถุนายน 2556).

ภรณ์พรรณ วงศ์สถาน ชูชาติ สันธทรัพย์ และ ดรุณี นาพรหม. 2560. ผลของยูเรียและแคลเซียมซัลเฟตต่อการเจริญเติบโตของเรพซีดที่ปลูกในภาคเหนือของประเทศไทย. วารสารเกษตร33(1): 71-80.

วัชราภรณ์ ชนะเคน และ พิมพ์ใจ อาภาวัชรุตม์. 2551. การศึกษาทางเนื้อเยื่อวิทยากับการพัฒนาตาดอกของเอื้องพร้าว. วารสารเกษตร 24(2): 99-105.

วิทยา ทีโสดา. 2547. ผลของความยาววันและอุณหภูมิกลางคืนที่มีผลต่อการเกิดดอกของกล้วยไม้ช้าง. ปัญหาพิเศษวิทยาศาสตรบัณฑิต, ภาควิชาพืชสวน คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้, เชียงใหม่. 27 หน้า.

อภิชัย ทหารไทย. 2553. การพัฒนาของดอกและหัวของกล้วยไม้ดินชนิดเอื้องกลีบม้วน เอื้องหางกระรอก เอื้องฉัตรมรกต เอื้องมรกต และสิกุนคล. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 180 หน้า.

Arditti, J. 1992. Fundamentals of Orchid Biology. John Wiley & Sons, New York. 691 p.

Glover, B. 2014. Understanding Flowers & Flowering: An Integrated Approach. 2nd ed. Oxford University Press, Oxford. 292 p.

Grove, D.L. 1995. Vandas and Ascocendas and Their Combinations with Other Genera. Timber Press, Inc., Portland. 241 p.

Hew, C.S. and J.W.H. Yong. 2004. The Physiology of Tropical Orchids in Relation to the Industry. 2nd ed. The World Scientific Publishing Co. Pte. Ltd., Singapore. 370 p.

Johansen, D.A. 1940. Plant Microtechnique. McGraw-Hill Book Co. Inc., New York. 523 p.

Sirisawad, T., N. Potapohn and S. Ruamrungsri. 2015. Effects of evaporative cooling greenhouse growing on flowering of Vanda. Acta Horticulturae 1078: 107-112.

The Royal Horticultural Society. 2011.The international orchid register. (Online). Available: apps.rhs.org.uk/ horticulturaldatabase/orchidregister/orchidregister.asp (June 11, 2012).

Thomas, B. 1993. Internal and external controls on flowering. pp. 1-19. In: B.R. Jordan (ed.). The Molecular Biology of Flowering. Redwood Books, Trowbridge. 266 p.

Wang, Y.T. 1995. Phalaenopsis orchid light requirement during the induction of spiking. HortScience 30(1): 59-61.

Yen, C.Y.T., T.W. Starman, Y.T. Wang and G. Niu. 2008. Effects of cooling temperature and duration on flowering of the Nobile Dendrobium orchid. HortScience 43(6): 1765-1769.