การเปรียบเทียบคุณค่าทางโภชนาการและปริมาณสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพในใบเชียงดา
Main Article Content
บทคัดย่อ
เชียงดาเป็นผักพื้นบ้านที่พบในแถบภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นิยมใช้ประกอบอาหารชนิดต่าง ๆ รวมถึงใช้เป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อป้องกันโรคเบาหวาน จากการสำรวจในพื้นที่พบเชียงดามีอยู่สองกลุ่ม ได้แก่ ใบรีกว้างและใบรีแคบ ได้นำกิ่งปักชำอายุ 2 เดือน ปลูกรวบรวมที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ หลังจากปลูกในแปลงทดสอบนาน 6 เดือน จึงเก็บตัวอย่างใบระยะเพสลาดของตำแหน่งที่ 4 - 6 จากปลายยอดเพื่อนำมาศึกษาต่อไป งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบปริมาณฟีนอลิกด้วยวิธี Folin-Ciocalteu colorimetric assay และกรดจิมนิมิก ซึ่งเป็นสารสำคัญที่มีอยู่ในใบด้วยวิธี HPLC จากใบเชียงดาทั้งสองกลุ่ม ผลการศึกษาพบว่า การวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการของใบเชียงดาทั้งสองกลุ่มไม่พบความแตกต่างกันในเชิงปริมาณของโปรตีน ไขมัน และกากใย ยกเว้นปริมาณน้ำตาลของเชียงดาใบรีแคบพบได้มากกว่าในใบรีกว้าง ร้อยละ 4.68 ± 0.28 และ 6.70 ± 0.81 ของน้ำหนักแห้ง ตามลำดับ และให้ค่าแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) สำหรับการวิเคราะห์ปริมาณฟีนอลิกในใบรีแคบ (18.18 ± 0.04 mg GAE/g DW) และใบรีกว้าง (17.09 ± 0.77 mg GAE/g DW) มีปริมาณที่ใกล้เคียงกัน ส่วนปริมาณกรดจิมนิมิกในใบเชียงดาพบในกลุ่มใบรีแคบ (2.50 ± 0.11 g/100g) และกลุ่มใบรีกว้าง (2.44 ± 0.02 g/100g) ซึ่งไม่แตกต่างกันทางสถิติ ดังนั้นใบเชียงดาทั้งสองกลุ่มมีปริมาณฟีนอลิกและกรดจิมนิมิกที่มีประโยชน์ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เข้าสู่ภาวะปกติ จึงสามารถใช้เชียงดาทั้งสองกลุ่มพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสุขภาพได้
Article Details
References
ชาญชัย สาดแสงจันทร์. 2552. เภสัชโภชนา กินผักให้เป็นยา. บุ๊คส์ ทู ยู, กรุงเทพฯ. 286 หน้า.
เต็ม สมิตินันทน์. 2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. สวนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ. 810 หน้า.
นวลศรี รักอริยะธรรม และ อัญชนา เจนวิถีสุข. 2545. แอนติออกซิเดนท์: สารต้านมะเร็งในผักและสมุนไพรไทย. นพบุรีการพิมพ์.เชียงใหม่. 281 หน้า.
ประทุมพร ยิ่งธงชัย พรรัตน์ ศิริคำ พงศธร ธรรมถนอม และ บาจรีย์ ฉัตรทอง. 2556. ความหลากหลายทางพันธุกรรมและการทดสอบฤทธิ์ทางชีวเคมีของผักพื้นบ้าน (ระยะที่ 2). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 125 หน้า.
ปริทัศน์ แสนโสม ณัฐพล มิตรสันเทียะ และ วราภรณ์ ภูตะลุน. 2557. ปริมาณกรดโคโรโซลิกในอินทนิลน้ำและอินทนิลบก และสารจีไอเอวันในผักเชียงดาโดยวิธีโครมาโทกราฟีสมรรถนะสูง. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน 9: 162.
พรรัตน์ ศิริคำ สุริยา ตาเที่ยง ลัดดาวัลย์ ยอดเพ็ชร และ ฐิฏิพันธ์ ปันทะศรีวิชัย. 2559. อัตราการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีที่มีผลต่อผลผลิตและปริมาณธาตุอาหารในผักเชียงดา. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ, กรุงเทพฯ. 60 หน้า.
พสุธร อุ่นอมรมาศ และ สรณะ สมโน. 2559. การวิเคราะห์หาสารสำคัญและฤทธิ์การต่อต้านอนุมูลอิสระของดอกไม้กินได้บางชนิด. วารสารเกษตร 32(3): 435-445.
พิทักษ์ พุทธวรชัย ธีรวัลย์ ชาญฤทธิเสน ปริญญาวดี ศรีตนทิพย์ และ นภา ขันสุภา. 2559. การจำแนกผักเชียงดา (Gymnema inodorum (Lour.) Decne) ตามลักษณะสัณฐานของใบ. วารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์ 3(ฉบับพิเศษ III): M10/23-29.
ภัทราภรณ์ ศรีสมรรถการ ธีรวัลย์ ชาญฤทธิเสน ปัทมา ไทยอู่ ณัฐ์ธมญ คิดชัย และ ปาริชาติ ณ น่าน. 2555. การพัฒนาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากผักเชียงดา (Gymnema inodorum (Lour.) Decne.). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา, ลำปาง. 118 หน้า.
รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล. 2536. สมุนไพรรักษาโรคเรื้อรังบางชนิด. ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพฯ. 145 หน้า.
วารี ใจวิเสน และ วริพัสย์ อารีกุล. 2554. การวิเคราะห์กิจกรรมในการต้านออกซิเดชั่นของสารสกัดจากพืชพื้นบ้านไทยบางชนิด. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า 29: 41-50.
อารียา สุฉันทบุตร ชูศรี ตลับมุข และ สนอง จอมเกาะ. 2551. ผลของผงและสารสกัดจากใบชะพลูและลำต้นบอระเพ็ดต่อระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือด และค่าทางโลหิตวิทยาในหนูเบาหวาน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 27(3): 227-232.
อุไรวรรณ วัฒนกุล วัฒนา วัฒนกุล นพรันต์ มะเห และ พิทูรย์ จรูญรัตน์. 2554. อายุการเก็บเกี่ยวและอายุการเก็บรักษาต่อคุณค่าทางโภชนาการบางประการของข้าวกล้องงอกสังข์หยดอินทรีย์. วารสารเกษตร 27(2): 165-174.
AOAC. 2000. Official Methods of Analysis. 17th ed. AOAC International, Gaithersburg, MD. 2200 p.
Devi, K. and N. Jain. 2014. A validate HPLC for estimation of gymnemic acids as deacyl gemnemic acid in various extracts and formulations of Gymnema sylvestre. International Journal of Phytomedicine 6: 165-169.
James, C.S. 1995. Analytical Chemistry of Foods. Blackie Academic & Professional, Glasgow, U.K. 177 p.
Kim, D.O., S.W. Jeong and C.Y. Lee. 2003. Antioxidant capacity of phenolic phytochemicals from various cultivars of plums. Food Chemistry 81: 321-326.
Manohar, S.H., P.M. Naik, N. Praveen and H.N. Murthy. 2009. Distribution of gymnemic acid in various organs of Gymnema sylvestre. Journal of Forestry Research 20: 268-270.
Pandey, A.K. and S. Yadav. 2010. Variation in gymnemic acid content and non-destructive harvesting of Gymnema sylvestre (Gudmar). Pharmacognosy Research 2: 309-312.
Shanmugasundaram, K.R., C. Panneerselvam, P. Samudram and E.R. Shanmugasundaram. 1983. Enzyme changes and glucose utilization in diabetic rabbits: the effect of Gymnema sylvestre R. Br. Journal of Ethnopharmacology 7: 205-234.
Spencer, K.C. 1988. Glycosides the interface between plant secondary and insect primary metabolism. American Chemical Society Symposium Series 380: 403-416.
Sugihara, Y., H. Nojima, H. Matsuda, T. Murakami, M. Yoshikawa and I. Kimura. 2000. Antihyperglycemic effects of gymnemic acid IV, a compound derived from Gymnema sylvestre leaves in streptozotocin-diabetic mice. Journal of Asian Natural Products Research 2: 321-327.
Toshihiro, Y., M. Kenzi, O. Kenzo and T. Osamu. 1994. Quantitative analysis of gymnemic acids by high performance liquid chromatography. Nippon Shokuhin Kagaku Kaishi 41: 202-205.
Trivedi, P.D., K. Pundarikakshudu and K. Shah. 2011. A validated reverse phase liquid chromatographic method for quantification of gymnemagenin in the Gymnema sylvestre R. Br. leaf samples, extract and market formulation. International Journal of Applied Science and Engineering 9: 25-31.
WHO. 2017. Global report on diabetes. (Online).Available: https://https://apps.who.int/iris/ bitstream/10665/204871/1/9789241565257_eng.pd (November 3, 2017).